Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    • ข้อมูลวิเคราะห์
    • การวิจัยและพัฒนา
    • การพัฒนาเมือง

    ขณะที่สังคมต่างๆ เติบโตอย่างซับซ้อนมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบสังคมที่หลากหลาย เพื่อทำให้ชีวิตในทุกวันปลอดภัยกว่าและสะดวกขึ้น ฮิตาชิจึงได้ให้ความสำคัญกับการเดินของผู้คน เทคโนโลยีการจำลองของฮิตาชิเพื่อการวิเคราะห์การเดินของผู้คนได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนเดินถนน เทคโนโลยีดังกล่าวยังได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่สาธารณะและได้เพิ่มคุณค่าในรูปแบบของเมืองที่มีชีวิตชีวายิ่งกว่าและน่าดึงดูดยิ่งขึ้น

    ภาพรวม

    • ประวัติ
      ฮิตาชิได้เริ่มต้นใช้งานเทคโนโลยีการจำลองการเดินของผู้คนเพื่อออกแบบแผนผังสำหรับอาคารสำนักงานและอาคารเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ต่างๆ บริษัทเชื่อมั่นว่าความเข้าใจที่ดีกว่าด้านการเคลื่อนไหว พฤติกรรม และความสัมพันธ์ของผู้คนจะช่วยสรรสร้างคุณค่าใหม่ในพื้นที่ได้
    • โครงการ
      ฮิตาชิได้นำการวิเคราะห์การเดินของผู้คนไปใช้กับแผนผังอาคารในงานแสดงสินค้าประจำปีที่จัดขึ้นโดยฮิตาชิกรุ๊ป จากนั้นข้อมูลจากการวิเคราะห์นี้จะถูกนำไปใช้ในการวางแผนการจัดงานสำหรับปีต่อไป การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ลดความแออัดในทางเดินเท้าและเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมในแต่ละบูธอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นการยืนยันถึงคุณค่าของการวิเคราะห์ที่เป็นผล
    • ก้าวไปข้างหน้า
      นอกจากการลดความแออัดแล้ว ฮิตาชิยังคงค้นหาวิธีที่จะนำการวิเคราะห์การเดินของผู้คนไปใช้เพื่อทำให้เมืองต่างๆ มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นและเหมาะแก่การอยู่อาศัยของผู้คน โดยมีการเพิ่มประสิทธิภาพวิธีการเพื่อใช้สำหรับแก้ปัญหาการวางแผนในเมืองที่หลากหลาย ประกอบด้วยการป้องกันภัยพิบัติและการท่องเที่ยว ซึ่งฮิตาชิกำลังช่วยสร้างเมืองต่างๆ ที่จะทำให้ผู้คนมีความสะดวกมากขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

    ประวัติ

    ความพยายามของฮิตาชิคือการให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวของผู้คนภายในอาคาร

    เทคโนโลยีสารสนเทศได้มีส่วนช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพและการทำงานที่เหมาะสมที่สุดของระบบสังคมที่หลากหลาย ประกอบด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่สร้างระบบการจราจรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้มีไว้ใช้กับระบบสังคมเท่านั้น ในฐานะผู้บุกเบิกในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มที่เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่สำหรับนวัตกรรมทางสังคม ฮิตาชิได้คิดค้นวิธีใหม่ที่ทันสมัยโดยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์การเดินของผู้คน นี่เป็นความพยายามในการสร้างคุณค่าเพิ่มเติมผ่านการวิเคราะห์การเคลื่อนไหว พฤติกรรม และความสัมพันธ์ของผู้คน

    ความริเริ่มนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2007 เมื่อฮิตาชิได้ร่วมพัฒนาการเทคโนโลยีการจำลองการเดินเท้าของผู้คนแบบสามมิติไปพร้อมกับ Shin Morishita Laboratory ที่ Graduate School of Yokohama National University ร่วมด้วย East Japan Marketing & Communications, Inc และ MOSAIC Co. Ltd. เทคโนโลยีนี้ช่วยทำให้สามารถวัดการเคลื่อนไหวของผู้คนภายในอาคารและจำลองการเดินของผู้คนออกมาเป็นโครงสร้าง เทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวางตำแหน่งของทางเดินเข้าอาคารและลิฟต์ในสำนักงานและอาคารเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ต่างๆ

    จากนั้นเป็นต้นมา ฮิตาชิก็ได้ทำงานเพื่อนำเทคโนโลยีการจำลองการเดินเท้าของผู้คนแบบสามมิตินี้มาใช้กับสิ่งอำนวยความสะดวกทางรถไฟ และได้ทำการทดลองการใช้งานในสถานีรถไฟ Osaka-Uehommachi โดยความร่วมมือกับบริษัท Kintetsu Corporation การใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการทดลองนั้น ทำให้สถานีรถไฟวางตำแหน่งป้ายดิจิทัลแบบเคลื่อนที่ใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในการจัดการพื้นที่ครั้งนี้ได้ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการเดินของผู้คนเพื่อซื้อสินค้าภายในสถานี และลดความแออัดในบริเวณต่างๆ โดยรอบ

    โครงการ

    การค้นพบรูปแบบที่ซ่อนอยู่ในการเดินของผู้คนเพื่อใช้ในการสร้างคุณค่าใหม่

    จากการทดลองต่างๆ เหล่านี้ ฮิตาชิได้เสริมสร้างแนวคิดที่ว่าการเข้าใจและทำนายการเดินของผู้คนสามารถสร้างคุณค่าใหม่ได้หลากหลายวิธี ตัวอย่างที่ดีจากตรงนี้เห็นได้จากการทดลองที่เกิดขึ้นที่งาน Hitachi Innovation Forum 2013 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าที่ฮิตาชิกรุ๊ปจัดขึ้นทุกปี ฮิตาชิได้ใช้เซนเซอร์แบบเลเซอร์ในการวัดการเคลื่อนไหวของผู้คนและจำนวนเวลาที่ผู้คนใช้ไปกับตำแหน่งที่ตั้งต่างๆ ภายในบริเวณการจัดงาน ผลลัพธ์พบว่าความแออัดในบางบริเวณนั้นขัดขวางความราบรื่นในการเดินของผู้คน การวิเคราะห์ข้อมูลยังชี้ให้เห็นว่า “พลังดึงดูด” ของบูธต่างๆ นั้นแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่ตั้ง โดยมีบูธจัดแสดงบางแห่งได้รับการเข้าชมหนาแน่นมากกว่าบริเวณอื่นมากถึงสิบเท่า

    จากข้อมูลที่พบเหล่านี้ จึงมีการเปลี่ยนแปลงแผนผังสำหรับการจัดงาน Hitachi Innovation Forum 2014 และการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นก็สร้างผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจมากมาย ประการแรก เวทีจัดแสดงหลักซึ่งเป็นบริเวณที่ได้รับความสนใจมาก ได้ถูกย้ายไปยังศูนย์กลางของงาน ผู้คนจำนวนหนึ่งเป็นกังวลว่าการเปลี่ยนแปลงการจัดตำแหน่งนี้อาจสร้างความแออัดได้ แต่ผลลัพธ์กลับเป็นตรงข้ามอย่างดีเยี่ยม กลับสามารถทำให้การเข้าชมงานลื่นไหลกว่าเดิม ขณะที่ก็ดึงดูดผู้คนให้เข้ามายังจุดศูนย์กลาง ทั้งยังช่วยในการไหลเวียนผู้คนกลับไปยังบูธจัดงานที่ตั้งอยู่รอบพื้นที่ ช่วยลดความแออัดและช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของผู้คนทั้งหมดด้วย ความแตกต่างกันใน “พลังดึงดูด” ของบูธต่างๆ ตามตำแหน่งที่ตั้งของตนจะลดลงประมาณ 70%

    นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มป้ายดิจิทัลเพื่อคาดการณ์ความแออัด เพื่อให้ผู้เข้าชมงานสามารถเห็นบริเวณต่างๆ ที่กำลังจะมีความแออัดในอีก 5 นาทีข้างหน้า นี่ยังเป็นการช่วยลดความแออัดและเพิ่มความสะดวกให้กับผู้เข้าร่วมงานด้วย
    การวิเคราะห์การเดินของผู้คนแสดงให้เห็นพฤติกรรมของผู้คนในรูปแบบข้อมูล และช่วยเปิดเผยรูปแบบที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมต่างๆ เนื่องจากรูปแบบที่ซ่อนอยู่เหล่านั้นได้กลายมาเป็นรูปแบบที่ชัดเจน จึงสามารถปรับปรุงการจัดวางของสถานที่ต่างๆ ซึ่งผู้คนจำนวนมากต้องเข้าใช้รวมกันได้ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับพื้นที่ต่างๆ และให้บริการที่ดียิ่งขึ้น

    การเปรียบเทียบของการเดินของผู้คนและจำนวนเวลาที่ผู้คนใช้ในบริเวณต่างๆ (แสดงเป็นสีเหลือง) ความแออัดในบริเวณดังกล่าวขัดขวางการเดินที่ราบรื่นของผู้คนในปี 2013 แต่ความแออัดได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2014

    นอกจากนั้นในปี 2014 ฮิตาชิยังได้ทำการทดลองโดยร่วมมือกับ NOMURA Co., Ltd. บริษัทด้านการออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญในสิ่งอำนวยความสะดวกเชิงพาณิชย์และพื้นที่สาธารณะ เพื่อบอกปริมาณการเดินของผู้คนที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์แห่งชาติในกรุงโตเกียว และวิเคราะห์ผลลัพธ์ต่างๆ ให้เป็นข้อมูลเชิงมหภาค มีการออกแบบการทดลองเพื่อกำหนดว่านิทรรศการใดได้รับความนิยมมากกว่าในหมู่เด็กๆ และแต่ละนิทรรศการกระตุ้นการสื่อสารระหว่างผู้ปกครองและเด็กๆ ได้มากเท่าใด การวิเคราะห์จากการทดลองจะถูกนำไปใช้เพื่อให้มีความเข้าใจรูปแบบการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนได้ดียิ่งขึ้น และผลลัพธ์ต่างๆ จะถูกนำไปใช้เพื่อการอ้างอิงสำหรับการออกแบบการจัดนิทรรศการในอนาคต

    ก้าวไปข้างหน้า

    ฮิตาชิตั้งเป้าในการเพิ่มประสิทธิภาพเมืองต่างๆ ทั้งหมดผ่านการวิเคราะห์การเดินของผู้คน

    สามารถนำการวิเคราะห์การเดินของผู้คนมาปรับใช้กับพื้นที่เล็กๆ ได้เช่น ร้านค้าต่างๆ รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ และเมืองต่างๆ ทั้งหมดหากเป็นไปได้ ฮิตาชิได้ทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเมืองต่างๆ ทั้งหมดเพื่อช่วยให้เป็นสถานที่ที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นสำหรับการอยู่อาศัยของผู้คน
    ยกตัวอย่างเช่น หากการเดินและพฤติกรรมของผู้คนในเมืองสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการใช้ประโยชน์จากพลังงานและการขนส่งในเมืองได้ ฟังก์ชันการทำงานด้านอื่นๆ เช่น สามารถช่วยปรับปรุงการป้องกันภัยพิบัติและการสนับสนุนเพื่อการท่องเที่ยวได้ด้วย นอกเหนือจากการลดความแออัดแล้ว เทคโนโลยีนี้ยังสามารถนำมาใช้เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเชิงนวัตกรรมในการสร้างเมืองต่างๆ ให้สะดวกสำหรับผู้คนยิ่งขึ้นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ฮิตาชิจะดำเนินการขยายให้เกิดความเป็นไปได้ต่างๆ ต่อไปโดยใช้ข้อมูลเชิงลึกแบบพิเศษและแผนภาพที่ได้จากการวิเคราะห์การเดินของผู้คน

    วันเปิดตัว: มิถุนายน 2017
    โซลูชั่นโดย: Hitachi, Ltd. กลุ่มธุรกิจระบบรางรถไฟ

    กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง

    ดูกรณีศึกษาทั้งหมด