จากแผนการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ระบุว่าจำนวนหนึ่งในสองคนของประชากรในญี่ปุ่นจะถูกตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็ง แต่อัตราการตรวจพบมะเร็งของกลุ่มเป้าหมายก็ต่ำกว่าที่คาดไว้ถึง 50% ถึงแม้ว่าผู้คนจะเข้าใจถึงความสำคัญของการตรวจพบโรคตั้งแต่เนิ่นๆ แต่หลายคนก็ยังไม่สามารถเข้ารับการตรวจในขั้นแรกได้ โดยให้เหตุผลว่ามีตารางงานที่ยุ่งจนไม่มีเวลาไปตรวจ ซึ่งนั่นอาจทำให้อาการทรุดหนักลงเนื่องจากโรคมะเร็งจะไม่แสดงอาการในระยะแรกๆ เพื่อการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น นักวิจัยของ Hitachi จึงได้ตั้งคำถามว่า จะเป็นไปได้ไหมที่จะพัฒนาวิธีในการประเมินความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเบื้องต้น ซึ่งจะเป็นวิธีที่ง่ายกว่าการตรวจคัดกรองที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นไปที่การใช้ปัสสาวะ ซึ่งให้ผู้คนสามารถเก็บตัวอย่างได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องไปสถานพยาบาล
■อัตราร้อยละของการตรวจคัดกรองมะเร็ง (อายุ 40 ถึง 69 ปี; การตรวจคัดกรองมะเร็งมดลูก (มะเร็งปากมดลูก): อายุ 20 ถึง 69 ปี แหล่งที่มา: “ภาพรวมการสำรวจที่ครอบคลุมของสภาพความเป็นอยู่ในปี 2016” กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น) เปอร์เซ็นต์การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง (อายุ 40 ถึง 69 ปี การตรวจคัดกรองมะเร็งมดลูก (มะเร็งปากมดลูก): อายุ 20 ถึง 69 ปี แหล่งที่มา: “ภาพรวมการสำรวจที่ครอบคลุมของสภาพความเป็นอยู่ในปี 2016” กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น)
นับตั้งแต่ปี 1981 มะเร็งถูกจัดอันดับให้เป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น จากข้อมูลการควบคุมโรคมะเร็งของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ระบุว่าปัจจุบันคนญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งในสองจะถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็งโดยจะมีหนึ่งในสามคนที่เสียชีวิตจากโรคนี้ แม้อัตราการเสียชีวิตของประเทศญี่ปุ่นกำลังเพิ่มสูงขึ้น แต่หากตัดเรื่องอิทธิพลของปัจจัยสำคัญอย่างการเป็นสังคมผู้สูงอายุออกไป อัตราการเสียชีวิตจะลดลงถึงแม้จะมีจำนวนการวินิจฉัยโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นก็ตาม *1 ซึ่งนี่เป็นผลเนื่องมาจากการตรวจพบโรคในระยะแรกๆ และทำการรักษารวมไปถึงความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ ในขณะที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งไว้ที่ 50% โดยไม่รวมมะเร็งปอดในผู้ชาย แต่อัตราการตรวจคัดกรองก็ยังทำได้เพียงแค่ 30 ถึง 40%
*1:จากข้อมูลของศูนย์มะเร็งแห่งชาติ อัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่ปรับตามฐานอายุที่ไม่เกิน 75 ปีของประเทศญี่ปุ่น (อัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งหมดต่อ 100,000 คน) อัตราการเสียชีวิตได้ลดลง 15.6% ใน 10 กว่าปีที่ผ่านมา นับจากปี 2005 ถึง 2015 จากจำนวน 92.4 ถึง 78.0 คน
อัตราการตรวจพบมะเร็งของคนญี่ปุ่นยังต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มประเทศองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ถึงแม้ในปัจจุบัน ญี่ปุ่นจะได้เข้าร่วมกับนานาชาติในด้านการตื่นตัวเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง แต่การตรวจพบมะเร็งก็สะท้อนให้เห็นว่ายังอยู่ในอัตราที่ต่ำ เหตุผลที่ทำให้ผู้คนไม่เข้ารับการตรวจนั้นมีทั้ง “ไม่มีเวลา” และ “มีความยุ่งยากมากเกินไป” หรือแม้กระทั่ง “มั่นใจในสุขภาพตัวเอง” ซึ่งเป็นเหตุผลของกลุ่มคนอายุ 40 ถึง 59 ปีที่กำลังอยู่ในวัยทำงาน ทัศนคติที่ว่าจะไม่เข้ารับการตรวจสุขภาพหากสภาพร่างกายยังปกติหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติเช่นนี้เป็นเหตุให้เกิดโรคภัยต่างๆ ตามมา นี่ทำให้การตรวจพบมะเร็งในระยะแรกเป็นไปได้ยาก แทนที่จะมองว่ามะเร็งนั้นเป็นปัญหาของผู้อื่น เราควรให้ความสำคัญและมองภัยคุกคามจากมะเร็งว่าเป็นภัยที่ใกล้ตัวสำหรับตัวเองและครอบครัวโดยการพิจารณาถึงวิธีการรับมือซึ่งจะนำไปสู่การตรวจสุขภาพแต่เนิ่นๆ
สำหรับนักวิจัยของฮิตาชิแล้ว สถานการณ์นี้เป็นโอกาสที่จะได้ทบทวนกลยุทธ์ใหม่ๆ ในปัจจุบัน พวกเขาตั้งคำถามกับตัวเองว่า จะมีวิธีใดสักวิธีหนึ่งไหมที่ให้ทุกคนสามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันในการเผชิญหน้ากับความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งได้อย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องไปสถานพยาบาล ถึงแม้การตรวจคัดกรองมะเร็งเมื่อยังไม่มีอาการของโรคแสดงให้เห็นจะทำให้เราตรวจสอบความเป็นไปได้ของการเกิดโรคมะเร็งอยู่แล้วก็ตาม แต่กลุ่มวิจัยของฮิตาชิก็ได้ตระหนักความสำคัญของวิธีการง่ายๆ ในการรับมือกับภัยมะเร็ง เมื่อค้นพบวิธีใหม่ ทางกลุ่มจึงมุ่งเน้นไปที่การใช้ปัสสาวะ
■อัตราร้อยละของการตรวจคัดกรองมะเร็งในผู้หญิง (OECD Health at a Glance 2015, OECD)
ประเทศ (ปีการสำรวจในวงเล็บ) | อัตราร้อยละของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (อายุ 20–29 ปี)
|
อัตราร้อยละของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (อายุ 50–59 ปี) |
---|---|---|
สหรัฐอเมริกา (2012) |
84.5% |
80.8% |
สหราชอาณาจักร (2013) |
78.1% |
75.9% |
เนเธอร์แลนด์ (2013) |
64.7% |
72.2% |
ออสเตรเลีย (2012) |
57.3% |
55.0% |
นิวซีแลนด์ (2013) |
77.0% |
72.2% |
เกาหลี (2013) |
51.7% |
64.3% |
ญี่ปุ่น (2013) |
42.1% |
41.0% |
Minoru Sakairi หัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์โดยใช้ลิควิดโครมาโทกราฟ/แมสสเปกโตรมิเตอร์ (LC/MS) ที่จัดมวลแบบความละเอียดสูงได้ ณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัย ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโคขุบุนจิ
อย่างไรก็ตาม ในระดับโลกนั้นไม่มีรายงานหรือตัวอย่างสำหรับการตรวจหามะเร็งโดยใช้ปัสสาวะมาก่อนที่จะช่วยทำให้นักวิจัยสามารถนำมาต่อยอดได้ เนื่องจากปัสสาวะซึ่งเป็นสิ่งที่ขับออกมาผ่านการกรองของไตนั้น จัดว่าเป็นสิ่งที่ให้ข้อมูลได้น้อยกว่าเลือด จึงไม่ค่อยได้รับความสนใจที่จะถูกนำไปใช้ในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง
"อันที่จริงแล้ว มีการระบุว่าในปัสสาวะนั้นประกอบด้วยเมทาบอไลต์เกือบ 5,000 ชนิด” Minoru Sakairi หัวหน้าทีมวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์วิจัยเพื่อการสำรวจของฮิตาชิ ฝ่ายกลุ่มการวิจัยและพัฒนากล่าว “สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ที่ละเอียดซับซ้อนที่ใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์เชิงสถิติอันทันสมัย เราจึงค่อยๆ เก็บรวบรวมผลการวิจัยดังกล่าวเรื่อยมา"
ข้อมูลที่ว่าตัวอย่างปัสสาวะจะมีข้อมูลทางการแพทย์ที่ระบุได้ว่าผู้บริจาคนั้นมีมะเร็งหรือไม่นั้นเป็นข้อมูลที่มาจากสถาบันที่เชื่อถือได้ในระดับนานาชาติ เมทาบอไลต์ที่สามารถตรวจจับได้กว่า 1,300 ชนิดที่อยู่ในปัสสาวะจะมีการนำไปวิเคราะห์อย่างครอบคลุม สสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดของโรคที่มีอยู่หรือกำลังจะเกิดขึ้นจะเรียกว่า “ดัชนี้ชี้วัดทางชีวภาพ” ซึ่งตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง ที่เรียกว่า “สารบ่งชี้มะเร็ง” ยังถือเป็นตัวชี้วัดประสิทธิผลของการรักษามะเร็งอีกด้วย การวิเคราะห์อันละเอียดซับซ้อนจะให้ผลการตรวจวิเคราะห์ของเมทาบอไลต์ 30 ชนิดเป็นตัวแทนของดัชนีชี้วัดทางชีวภาพที่สามารถบ่งบอกได้ว่าผู้ป่วยมีเชื้อมะเร็งหรือไม่ ดังที่ Sakairi อธิบาย
"สำหรับการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมของเมทาบอไลต์ในปัสสาวะ เราได้ใช้โครมาโทกราฟ/แมสสเปกโตรมิเตอร์ (LC/MS) ด้วยการวัดผลด้วยโครมาโทกราฟ/แมสสเปกโตรมิเตอร์ (LC/MS) และการมุ่งเน้นไปที่ความแตกต่างของเมทาบอไลต์ที่ละลายในไขมันและละลายในน้ำเพื่อนำสถานะการวัดผลไปใช้ ทำให้เราสามารถตรวจจับเมทาบอไลต์ได้มากกว่า 1,300 ชนิดในตัวอย่างปัสสาวะ จากการใช้ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ 30 ชนิดจากการวิเคราะห์เหล่านี้ การพิจารณาจากค่าที่ได้จากการวัดผลสำหรับกรณีตัวอย่าง 15 กรณี ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ และผู้ที่มีสุขภาพดีแสดงให้เราเห็นว่าเราได้ค้นพบวิธีใหม่ที่จะสามารถบ่งบอกได้ว่าผู้ใดมีเชื้อมะเร็ง”
โครงการนี้แสดงให้เห็นว่าการวิเคราะห์ตัวอย่างจากปัสสาวะสามารถนำไปใช้เป็นหนทางอย่างง่ายในการรับมือกับภัยคุกคามของมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งยังคงเป็นสิ่งที่ผู้คนไม่ได้ให้ความสำคัญที่จะดำเนินการอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม การได้เริ่มก้าวไปขั้นแรกถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงวิธีการรับมือกับภัยคุกคามจากโรคมะเร็ง
"การตรวจเลือดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันสามารถรองรับดัชนีชี้วัดทางชีวภาพได้เพียงหนึ่งอย่างต่อการทดสอบหนึ่งครั้ง การตรวจปัสสาวะที่เรากำลังทำการทดสอบอยู่ในตอนนี้ สามารถรองรับดัชนีชี้วัดทางชีวภาพได้หลายครั้ง ซึ่งนี่ยังมีประสิทธิภาพในการได้รับผลการจำแนกที่แม่นยำมากขึ้น” (Minoru Sakairi หัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์)
"ในขั้นตอนต่อไปของการวิจัย เราจะร่วมมือกับโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยในประเทศในการใช้ตัวอย่างจำนวนมากเพื่อทำการวินิจฉัยดัชนีชี้วัดทางชีวภาพของโรคมะเร็งหลายๆ ประเภท คาดการณ์ไว้ว่าการเพิ่มสารของดัชนีชี้วัดทางชีวภาพจำนวนมากจะทำให้มีการวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง และแม้กระทั่งผลจากการรักษา และยังสามารถเพิ่มความแม่นยำของการวิเคราะห์ได้อีกด้วย” (Minoru Sakairi หัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์)
ปัจจุบัน ได้มีการพยายามเริ่มดำเนินการกับสิ่งที่สามารถนำไปใช้ได้จริงโดยตรง (ชุดการทดสอบ และอื่นๆ) และกำลังประสบความสำเร็จในการใช้นำไปใช้อย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นหนทางในการช่วยเหลือผู้คนเพื่อตรวจคัดกรองและรักษาโรคมะเร็ง
Sakairi กล่าวไว้ว่า "เมื่อผู้คนตระหนักถึงการตรวจคัดกรองผ่านวิธีการง่ายๆ ในการรับมือกับภัยคุกคามจากโรคมะเร็งนี้ ตราบที่เรายังสามารถร่วมกันเพื่อสร้างระบบที่ทำให้ทุกคนสามารถรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งได้ ผมก็มั่นใจว่าอัตราการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจะเพิ่มมากขึ้น"
ศูนย์การวิจัยเพื่อการสำรวจ ที่มีการทำวิจัยในปัจจุบัน เป็นแหล่งกำเนิดของการวิจัยและการพัฒนาอันล้ำหน้าที่ดำเนินการด้วยมุมมองในการร่วมมือระยะยาวกับองค์กรการวิจัยหลากหลายแห่ง วิธีการสร้างความร่วมมือของฮิตาชิโดยใช้ NEXPERIENCE ทำให้เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นที่นี่กำลังได้รับการพัฒนาไปเป็นบริการที่เป็นประโยชน์ที่สามารถใช้งานได้จริงเพื่อช่วยเหลือสังคม อันที่จริงแล้ว เทคโนโลยีการตรวจหามะเร็งจากเมทาบอไลต์ในปัสสาวะจากงานวิจัยนี้กำลังเป็นเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือระหว่างฮิตาชิและบริษัทประกันภัย Aflac ด้วยความร่วมมือกับส่วนการปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศ Aflac ได้ดำเนินการทำกิจกรรมทางการศึกษาเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งโดยมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งและเพื่อเพิ่มอัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง การผสมผสานกันของประสบการณ์นี้เข้ากับเทคโนโลยีของฮิตาชิ ช่วยสร้างรากฐานอันแข็งแกร่งสำหรับการพิจารณาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ด้านการประกันภัยและบริการเพื่อส่งเสริมให้มีการตรวจคัดกรองและรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อสร้างความหวังให้เกิดสังคมที่มีสุขภาพดีและแข็งแรงสมบูรณ์
Sakairi สรุปไว้ว่า "แม้กระทั่งในส่วนที่ไม่ได้รับความสนใจมากเท่าไหร่ในอดีต เช่นเป้าหมายของโครงการนี้ เราก็จะทำการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ด้วยการจัดการการทำงานเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงและการวิเคราะห์เชิงสถิติที่ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนที่ฮิตาชิเชี่ยวชาญอยู่แล้ว สิ่งนี้จำเป็นต้องอาศัยการเก็บรวบรวมงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจถือได้ว่านี่เป็นสิ่งที่เราเชี่ยวชาญมากที่สุด"
หมายเหตุ: ส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยนี้ดำเนินการโดยได้รับการสนับสนุนจากการวิจัยเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสำหรับนวัตกรรมทางการแพทย์ขององค์กรญี่ปุ่นเพื่อการวิจัยทางการแพทย์และการพัฒนา (AMED), การวิจัยทางการแพทย์และโครงการพัฒนา
วันเปิดตัว: พฤศจิกายน 2017
โซลูชั่นโดย: Hitachi, Ltd. กลุ่มการวิจัยและพัฒนา