ด้วยศักยภาพที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่งผลให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 (IR4.0) ที่กำลังปฏิวัติภูมิทัศน์ทางธุรกิจทั่วโลก เกิดความเข้าใจผิดที่ว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนั้นเกี่ยวข้องแค่วิทยาการหุ่นยนต์เท่านั้น แต่ IR4.0 จะปรับรูปแบบกระบวนการผลิต สร้างโอกาสทางธุรกิจ ในการยกระดับด้านการผลิตและความสามารถในการแข่งขันในตลาด อย่างไรก็ตามมาเลเซียก็ไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน และ Hitachi จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นแนวหน้าของ IR4.0
ด้วยความร่วมมือกันกับสถาบันมาตรฐานและวิจัยอุตสาหกรรมแห่งมาเลเซีย หรือ Standards and Industrial Research Institute of Malaysia (SIRIM) ได้มีการจัดตั้งแพลตฟอร์มสำหรับ Hitachi และ SIRIM เพื่อสนับสนุนรัฐบาลมาเลเซียในการประชาสัมพันธ์นโยบายแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่อง IR4.0 เพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางโดยใช้ความก้าวหน้าและการรวมกันทางเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทั่วโลก ในปีพ.ศ. 2563 พันธมิตรทั้งสองฝ่ายได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งแก่ความร่วมมือด้าน IR4.0 และได้เปิดตัว ศูนย์ Smart Manufacturing Experience Centre (SMEC) ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อแสดงถึงพันธกิจในการส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กทั่วประเทศ โดยใช้แนวคิด Connective Industries
IR4.0 คือ การเชื่อมโยงภูมิทัศน์การผลิตเข้าด้วยกันโดยการรวมเทคโนโลยีดิจิทัล การเชื่อมต่อ และการทำงานอัตโนมัติเข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายในการสร้างConnective Industriesเป็นการรวมระบบไซเบอร์-กายภาพเข้ากับระบบ อินเตอร์เน็ทของสรรพสิ่ง (IoT) การวิเคราะห์คลังข้อมูลขนาดใหญ่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โปรแกรมหุ่นยนต์ทำงาน (robotic process automation) และอีกมากมาย ซึ่งการรวมเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าด้วยกัน ผู้ผลิตจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับ IR4.0 โดยทำการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะที่สามารถทำงานโดยอัตโนมัติและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างยิ่ง อันเป็นผลจากผลิตภาพ ประสิทธิภาพ และความยืดหยุ่นในการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น
ด้วยผลงานโซลูชั่นและนวัตกรรมที่ยั่งยืนมากมาย Hitachi ได้นำเสนอเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่ออกแบบตามความต้องการทางนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม IoT ไปจนถึงการวิเคราะห์ด้วย AI และโซลูชั่น การผลิตอัจฉริยะ Hitachi สนับสนุนธุรกิจต่างๆ ในการใช้ประโยชน์สูงสุดจาก IR4.0 และสร้างโอกาสใหม่สำหรับการเติบโต
การวิจัยในปีพ.ศ. 2565 ได้แสดงให้เห็นว่ามี ผู้ผลิตมาเลเซียร้อยละ 30 เท่านั้นที่ที่ตระหนักถึง IR4.0 อย่างไรก็ตาม การทำงานเชิงรุกของประเทศในการเข้าสู่ยุค IR4.0 ผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ อาทิเช่น Industry4WRD นั้นได้สร้างประโยชน์ที่น่าทึ่ง
Industry4WRD มีเป้าหมายในการเพิ่มผลิตภาพการผลิตร้อยละ 30 และส่งเสริมเงินลงทุนทางเศรษฐกิจของประเทศจาก 254 พันล้านริงกิต เป็น 392 พันล้านริงกิตภายในปีพ.ศ. 2568
นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการยกระดับนวัตกรรม และพัฒนาแรงงานฝีมือ โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนด้านแรงงานทักษะสูงจากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 35
การร่วมมือระหว่าง Hitachi และ SIRIM เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการส่งเสริมการนำ IR4.0 มาใช้กับธุรกิจขนาดเล็กของมาเลเซีย ทั้งนี้ SIRIM ผู้นำของประเทศด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาทางเทคโนโลยี ได้แบ่งปันวิสัยทัศน์ (Vision) ของ Hitachi ในการส่งเสริมธุรกิจระดับท้องถิ่น ในขั้นตอนเริ่มต้น SIRIM ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการสร้างโครงสร้างเพื่อการประชาสัมพันธ์ IR4.0 ดังนั้น Hitachi ได้นำประสบการณ์ Lumada และวิธีการทำงานของ Hitachi เข้ามาช่วยในการทำให้ภารกิจ IR4.0 ของ SIRIM เกิดขึ้นจริง
ยิ่งไปกว่านั้น Hitachi ยังสนับสนุนการมอบความรู้และการเพิ่มทักษะด้าน IoT ให้แก่วิศวกรของ SIRIM ให้สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญและสามารถส่งเสริม IR4.0 ได้ดียิ่งขึ้น ความพยายามร่วมกันนี้มีเป้าหมายเพื่อการเชื่อมต่อกับระบบดิจิทัล และให้บริการแพลตฟอร์มมาตรฐานแก่ธุรกิจขนาดเล็ก พร้อมเครื่องมือที่เหมาะสม และความรู้ด้าน IoT ที่จำเป็นในการนำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมาใช้กับธุรกิจ
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 Hitachi และ SIRIM ได้พัฒนาไปอีกขั้นที่สำคัญ ด้วยการเปิดตัวศูนย์ Smart Manufacturing Experience Centre (SMEC) ในบูกิต จาลิล กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดย SMEC เป็นศูนย์เฉพาะทางสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดเล็กที่สามารถเข้าชม เรียนรู้ และสัมผัสประสบการณ์เทคโนโลยี IR4.0 ได้ด้วยตัวเอง
SMEC เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย เครื่องมือที่ล้ำยุค ระบบอัจฉริยะ และการสาธิตที่สมจริง ทำให้กลุ่มบริษัท Hitachi สามารถจัดแสดงโซลูชั่นดิจิทัลที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้สูงสุดและปลดล็อคเพื่อเพิ่มความชำนาญด้านใหม่ๆ
ถึงแม้จะมีข้อดีที่เป็นที่มีมากมาย แต่ยังมีความท้าทายที่ธุรกิจขนาดเล็กต้องเผชิญระหว่างเส้นทางสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล:
ขาดการรับรู้และความรู้ที่มากพอเกี่ยวกับการผลิตอัจฉริยะและ IR4.0
ทรัพยากรที่จำกัด (ทางการเงินและบุคลากร) ในการลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ๆ
การนำเทคโนโลยี IR4.0 มาใช้ประโยชน์ต้องใช้แรงงานที่มีทั้งทักษะและความชำนาญ โดยเฉพาะด้านการสร้างความคุ้นเคยกับ AI machine learning และโซลูชั่นอัจฉริยะ
ขาดความมั่นใจในการนำโซลูชั่นอัจฉริยะไปปรับใช้
ความซับซ้อนในการรวมโซลูชั่นต่างๆ เข้าด้วยกันกับกระบวนการผลิตที่มีอยู่แล้ว
ด้วยความช่วยเหลือจาก SMEC ธุรกิจขนาดเล็กจะได้รับความรู้ ทรัพยากร และทักษะที่ต้องใช้ในการก้าวผ่านอุปสรรคเหล่านี้ ไปสู่ความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน
ความร่วมมือระยะยาวระหว่าง Hitachi และ SIRIM รวมทั้งการสร้าง SMEC จะสร้างประโยชน์อย่างใหญ่หลวงให้แก่ธุรกิจขนาดเล็กของมาเลเซีย:
ด้วยการนำเอาเทคโนโลยี IR4.0 มาใช้ ธุรกิจขนาดเล็กจะได้รับประโยชน์จากระบบการทำงานอัตโนมัติและข้อมูลเชิงลึก ซึ่งจะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทำงานให้เป็นระบบควบคุมแบบบูรณาการและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงคุณภาพสินค้า ทำให้ได้เปรียบด้านการแข่งขันในอนาคต
ด้วยความร่วมมือนี้ ธุรกิจขนาดเล็กจะเข้าถึงความเชี่ยวชาญ วิธีการทำงาน และเทคโนโลยีของ Hitachi ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยมีแพลตฟอร์มให้บริการที่จะให้คำแนะนำและสนับสนุนการนำโซลูชั่น IR4.0 นำไปใช้ประโยชน์
SMEC จะมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในการสร้างเครือข่ายและร่วมมือกัน ส่งเสริมวัฒนธรรม นวัตกรรม การสร้างความร่วมมือเพื่อเพิ่มการนำเอาความรู้และเทคโนโลยี IR4.0 มาปรับใช้
SMEC นำเสนอโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะพนักงานเข้าสู่ยุคดิจิทัล และรับรองความสำเร็จในระยะยาว
ความร่วมมือกันระหว่าง Hitachi และ SIRIM เร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำหน้าคู่แข่ง
การเปิดตัว SMEC ที่ประสบความสำเร็จเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเส้นทางอันแสนตื่นเต้นในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิต ทั้ง Hitachi และ SIRIM มีพันธกิจร่วมกันในการบรรลุความสำเร็จและขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
นอกจาก SMEC แล้ว ก้าวต่อไปในความร่วมมือนี้ คือ การจัดโปรแกรมฝึกอบรมด้านโซลูชั่น IoT และเทคโนโลยีของ Hitachi อาทิเช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเชื่อมต่อและการวิเคราะห์ การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ ผลิตภัณฑ์เชื่อมโยง และอีกมากมาย
ยิ่งไปกว่านั้น ทางบริษัท Hitachi ยังกำลังวิเคราะห์การบูรณาการเทคโนโลยีและความสามารถ AI เข้ากับกระบวนการผลิต การใช้ประโยชน์จากชุดคำสั่ง AI และเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถทำการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น