อุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ: ยาแก้สารพัดโรคต่อปัญหาแรงงานอาเซียน
อุตสาหกรรมการผลิตเป็นหัวใจสำคัญของอาเซียนทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการผลิตมีมูลค่าประมาณ 670 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 21% ของ GDP รวมของภูมิภาคอาเซียนในปี 2561i
นับเป็นโอกาสอันดีและสดใสของภูมิภาคอาเซียนในปี 2562 อันเนื่องจากความตึงเครียดของความสัมพันธ์การค้าระหว่างสหรัฐฯ – จีน ที่ทำให้บรรดาผู้ผลิตหลายรายย้ายโรงงานออกจากประเทศจีนมาที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยขณะนี้ผู้บริหารระดับสูงทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะกระจายห่วงโซ่อุปทานจากประเทศจีนไปยังประเทศอื่น ๆ ในเอเชียมากขึ้นกว่าแต่ก่อนและกลุ่มประเทศอาเซียนก็พร้อมที่จะดึงดูดการลงทุนใหม่ ๆii:
ประเทศไทยวางแผนก่อตั้งเป็นศูนย์กลางรถยนต์ไฟฟ้าใน 5 ปี
มาเลเซียมีกำลังการผลิตที่ใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์โมดูลถึง 4.3 กิกะวัตต์ ถือเป็นกำลังการผลิตใหญ่เป็นอันดับสามของโลกที่อยู่นอกประเทศจีน
เวียดนามกลายเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
แม้จะมีสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ก็ไม่ทำให้โอกาสของภูมิภาคนี้ลดลงแต่อย่างใด และถึงจะยังไม่มีมาตรการรองรับภาวะวิกฤติจากโรคระบาด แต่ในขณะนี้บรรดาผู้สังเกตการณ์เชื่อว่าวิกฤติการณ์นี้ได้เร่งให้เกิดการนำเทคโนโลยี อุตสาหกรรม 4.0 มาใช้ซึ่งช่วยเบิกทางไปสู่ยุคใหม่ของอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะในภูมิภาคiii
อุตสาหกรรม 4.0 หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมผ่านการเชื่อมต่อระหว่างกัน ระบบอัตโนมัติ จักรกลการเรียนรู้ ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ในบางครั้งก็หมายรวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตแบบอัจฉริยะ เป็นการนำกระบวนการผลิตและการดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล จักรกลเรียนรู้ และข้อมูลบิ๊กดาต้า มารวมกันเพื่อสร้างระบบอีโคซิสเท็มที่เชื่อมโยงให้แก่บริษัทผู้ผลิต จากข้อมูลของ McKinsey พบว่า ภูมิภาคอาเซียนมีผลผลิตเพิ่มขึ้นอีก 216 พันล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็น 627 พันล้านเหรียญสหรัฐ ด้วยการก้าวขึ้นสู่เทคโนโลยี อุตสาหกรรม 4.0 อย่างไรก็ตามการก้าวกระโดดไปสู่ อุตสาหกรรม 4.0 นี้สร้างภาระสำคัญให้กับแรงงานในอาเซียน
การพึ่งพากระบวนการผลิตด้วยแรงงานคนที่กำลังลดลง
เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มประเทศอาเซียนเคยแข่งขันด้วยเรื่องค่าแรงที่ต่ำ สิ่งนี้ทำให้การให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้น้อยลง การก้าวไปสู่การเปิดรับเทคโนโลยีของอาเซียนในปัจจุบันล้าหลังกว่าจีนซึ่งทุ่มการลงทุนอย่างหนักในระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตของจีนเพิ่มขึ้น 84% ในช่วงเวลาเดียวกันเทียบกับ 38% โดยเฉลี่ยสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนvi
นอกจากนี้ COVID-19 ยังส่งผลกระทบต่อภูมิภาคนี้ด้วยการก่อให้เกิดปัญหาในห่วงโซ่อุปทานและกระบวนการผลิต การขาดวิสัยทัศน์ในวางแผนห่วงโซ่อุปทานของพวกเขาส่งผลกระทบต่อบรรดาผู้ผลิตในภูมิภาค ผู้ผลิตที่พึ่งพากระบวนการทำงานด้วยแรงงานคนเป็นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด การพึ่งพากระvii บวนการผลิตแบบใช้แรงงานคนนำมาซึ่งคุณภาพที่ลดลงและต้นทุนที่สูงขึ้น ในขณะที่ประสิทธิภาพการผลิตที่มีระดับต่ำนี้ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของความต้องการในการผลิต
ชมภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้เพื่อดูความสำคัญของการบริหารจัดการจากระยะไกล และสิ่งที่ได้นั้นส่งผลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคุณและเพื่อนร่วมงานได้อย่างไร
ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าอาเซียนกำลังดึงดูดการลงทุนในภาคการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการเติบโตของกิจกรรมการผลิตนี้จะทำให้ระดับความเครียดของแรงงานเพิ่มมากขึ้น หากนายจ้างยังคงมีระดับการผลิตที่ต่ำและพึ่งพาแรงงานคนเช่นในปัจจุบัน เมื่อแรงงานไม่สามารถรับมือกับภาระงานที่เพิ่มขึ้นใหม่นี้ได้ บรรดาแรงงานฝีมือที่เชี่ยวชาญในภาระงานใหม่นี้จะเป็นคนกลุ่มแรกที่ต้องออกจากงาน แรงงานอายุน้อยก็มีแนวโน้มที่จะลาออกเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดภาวะแรงงานหดตัว และปัญหานี้จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีกจากจำนวนแรงงานที่ลดลงในภูมิภาคอาเซียน
ประชากรสูงวัยของอาเซียนทำให้แรงงานในการผลิตลดลง
ในที่ประชุม World Economic Forum พบว่าประชากรวัยทำงานทั่วโลกจะลดลง 10% ภายในปี 2603viii ซึ่งภูมิภาคอาเซียนก็เป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบนี้ เนื่องจากสมาชิกบางประเทศมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรสิงคโปร์ที่มีอายุเกิน 65 ปีคาดว่าจะมีถึง 26.6% ภายในปี 2578 ขณะที่ประเทศมาเลเซียจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุภายในปี 2573 เมื่อ 15% ของประชากรจะมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในประเทศเวียดนามมีผู้สูงอายุ 11.3 ล้านคน โดย 1.8 ล้านคนในกลุ่มนี้มีอายุมากกว่า 80 ปี และจำนวนนี้จะคิดเป็น 20% ของประชากร ภายในปี 2581ix
แนวโน้มด้านประชากรนี้จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภาคการผลิต ยกตัวอย่างประเทศไทยซึ่งภายในปี 2574 ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การเป็น "สังคมผู้สูงอายุ" โดยประชากรมากกว่า 20% จะมีอายุมากกว่า 60 ปี ถือเป็นสัดส่วนผู้สูงอายุที่มากที่สุดในอาเซียน ปัญหานี้จะยิ่งทวีความซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากอัตราการเกิดที่ลดลง ส่งให้ซึ่งมีผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์น้อยลง และคนรุ่นใหม่ไม่สนใจงานด้านการผลิตx
แนวโน้มดังกล่าวจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในด้านอุปทานเนื่องจากแรงงานซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลิต การเกษตรกรรม และบริการ กลายเป็นสิ่งที่หายาก ยิ่งผู้ผลิตต้องพึ่งพาแรงงานมากเท่าใดปัญหานี้ยิ่งสร้างความมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
Hitachi สามารถช่วยได้อย่างไร
จากการทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ผลิต Hitachi เข้าใจดีว่าการพูดถึงโรงงานอัจฉริยะและการวิเคราะห์ข้อมูลอาจฟังดูน่ากลัวในตอนแรก เพื่อช่วยให้ง่ายขึ้น เรานำปรัชญาเรื่องการสร้างสรรค์ร่วมกันมาใช้ ซึ่งเราทำงานร่วมกันกับผู้ผลิตในฐานะพันธมิตรเพื่อช่วยให้พวกเขาก้าวขึ้นสู่ อุตสาหกรรม 4.0 ลูกค้าของเราสามารถก้าวข้ามกระบวนการที่ต้องพึ่งพาแรงงานและช่วยแบ่งเบาภาระงานด้วยโซลูชั่นของ Hitachi ที่ออกแบบเฉพาะลูกค้าแต่ละราย
โซลูชั่นของเราที่ประกอบด้วย AI และจักรกลเรียนรู้ สามารถช่วยให้ผู้ผลิตรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์จากส่วนประกอบแต่ละชิ้นเพื่อสร้างตารางการบำรุงรักษาที่ตรงเป้าหมาย
ผู้ผลิตสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อหลีกเลี่ยงการบำรุงรักษาที่ไม่จำเป็นและปัญหาเสียเวลาช่วงว่างงานอันเนื่องมาจากการหยุดทำงานที่ไม่ได้วางแผนไว้ สิ่งนี้จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มความสม่ำเสมอในการผลิต และเพิ่มผลกำไรให้กับลูกค้าของเรา
ผลกระทบในเชิงบวกที่ส่งผลสะท้อนไปที่สายการผลิตในการสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงานแถวหน้า ในที่สุดพวกเขาก็สามารถเปลี่ยนจากการใช้แรงงานไปสู่การใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีอัตโนมัติในกระบวนการผลิตในแต่ละวันได้ ซึ่งจะทำให้ชั่วโมงการทำงานสั้นลง ลดการทำงานซ้ำซ้อน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของบริษัท ท้ายที่สุดก็จะส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตของอาเซียนดำเนินไปอย่างราบรื่นและแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
นอกจากนั้น Hitachi ยังนำเสนอโซลูชั่นเฉพาะทางอีก 2 โซลูชั่น สำหรับลูกค้าของเราเพื่อรับมือกับความท้าทายในปัจจุบัน นั่นคือโซลูชั่นการควบคุมระยะไกลและโซลูชั่น Lumada:
โซลูชั่นการควบคุมระยะไกล
เนื่องจากโรคระบาด COVID-19 แพร่กระจายไปทั่ว การทำงานระยะไกลจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ "ชีวิตวิถีใหม่" การเปลี่ยนแปลงนี้ได้แพร่กระจายไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตซึ่งปัจจุบันการทำงานจากระยะไกลกลายเป็นส่วนหนึ่งของผลิตแถวหน้า การทำงานแบบนี้เรียกว่า (การให้บริการโรงงานอัจฉริยะ) Smart Factory as a Service หรือ SFAAS เทคโนโลยีใหม่นี้ช่วยให้สามารถจัดการโรงงานจากระยะไกลได้จากทุกที่ในโลก
SFAAS ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถควบคุมการทำงานภายในโรงงานของตนผ่านกล้อง RFID และเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ที่ไซต์งาน ผู้จัดการและช่างเทคนิคสามารถติดตามข้อมูลเหล่านี้ที่มีการแบ่งปันผ่านระบบคลาวด์ที่โรงงานแม่ของตนได้แบบเรียลไทม์
โซลูชั่นการจัดการระยะไกลของเราช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถแบ่งปันการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานของโรงงานร่วมกันและหลีกเลี่ยงการลงทุนที่มากเกินไป สิ่งนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ทำให้สามารถลดภาระผูกพันด้านทรัพยากรและเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยงได้
แพลตฟอร์ม Lumada
ด้วยความเชื่อมั่นในอนาคตการผลิตของอาเซียน Hitachi ได้เริ่มก้าวแรกในการจัดตั้ง Lumada Center ในประเทศไทยในปี 2561 Lumada เป็นแพลตฟอร์ม IoT ที่ช่วยให้คุณและฮิตาชิสามารถร่วมกันสร้างโซลูชั่นดิจิทัลที่ปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการทางธุรกิจของคุณ โซลูชั่นทำให้ลูกค้าสามารถนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลของตนมาร่วมทำงานเทคโนโลยีขั้นสูงของ Hitachi เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับการดำเนินธุรกิจของคุณผ่านการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลบิ๊กดาต้าและปัญญาประดิษฐ์
Lumada ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางบริการดิจิทัลเพื่อให้บริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสามารถด้าน IoT และความสามารถการวิเคราะห์ข้อมูลบิ๊กดาต้า ในขณะที่พวกเขาก้าวขึ้นสู่ อุตสาหกรรม 4.0
Source:
i https://www.es.kearney.com/operations-performance-transformation/article?/a/accelerating-4ir-in-asean-an-action-plan-for-manufacturers
ii https://via.news/asia/five-trends-propel-aseans-growth-post-corona/
iii https://www.iaasiaonline.com/asean-manufacturers-feel-the-impact-of-covid-19-2/
iv https://www.epicor.com/en-sg/resource-center/articles/what-is-industry-4-0/
v https://www.mckinsey.com/~/media/mckinsey/business%20functions/operations/our%20insights/industry%204%200%20reinvigorating%20asean%20manufacturing%20for%20the%20future/industry-4-0-reinvigorating-asean-manufacturing-for-the-future.ashx
vi https://www.bain.com/contentassets/37a730c1f0494b7b8dac3002fde0a900/report_advancing_towards_asean_digital_integration.pdf
vii https://www.iaasiaonline.com/hitachi-vantara-expands-digital-manufacturing-portfolio-as-pandemic-exposes-industrys-need-to-modernise-operations/
viii https://www.weforum.org/agenda/2020/02/ageing-global-population/
ix https://www.nst.com.my/world/region/2019/12/548599/ageing-population-test-asean-govts
x https://www.krungsrisecurities.com/images.aspx?filename=http://www.krungsrisecurities.com/uploads/2020/01/research_en_US_10484_1_IO_Industry_Outlook_2020_2022_EN_EX.pdf
Dหมายเหตุ วันเผยแพร่: มกราคม 2564