Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Insights จาก AI / Analytics
อนาคตของโครงการริเริ่มเมืองอัจฉริยะ


     

    Dr WuJuan

    ดร.วูจวน หลิน จาก Hitachi Asia R&D ได้เป็นเจ้าภาพจัดการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องเมืองอัจฉริยะและบทบาทที่เมืองเหล่านี้จะได้มีส่วนในการผลักดันผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ในการนี้ ดร.อเล็กซ์ หลิน รองประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารของ NTUitive และผู้อำนวยการคณะกรรมการบริหารของ Action Community for Entrepreneurship (ACE) ได้รับเชิญให้เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ เต็ก เหลียง ลิม ผู้อำนวยการกลุ่มงานวางแผนทางกายภาพของหน่วยงาน Urban Redevelopment Authority ประเทศสิงคโปร์ โคลิน ลิม ที่ปรึกษาด้านเมืองอัจฉริยะ/การขับเคลื่อนอัจฉริยะ และอดีตประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารของ mobilityX ร่วมด้วย ธีโอ เชอร์แมน ประธานคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ของ Hitachi Asia Ltd.

    (ความคิดเห็นและมุมมองในบทความนี้เป็นความคิดเห็นและมุมมองส่วนบุคคลของแต่ละท่าน ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดและมุมมองขององค์กรที่แต่ละท่านสังกัดอยู่แต่อย่างใด)

    เผยแพร่ 22 มิถุนายน 2563

    ความท้าทายที่เมืองต่าง ๆ ต้องเผชิญกับในอีก 50 ปีข้างหน้า

    อเล็กซ์:

    การเปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อมอย่างรุนแรงและรวดเร็วในอัตราที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตลอดจนสถานการณ์ COVID-19 ล่าสุด ได้สร้างโลกที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงอย่างที่ไม่เกิดขึ้นมาก่อน กว่า 70% ของเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังเผชิญผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้เมืองต่าง ๆ ยังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม ตั้งแต่เรื่องประชากรสูงวัยทั่วโลกซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2593 ไปจนถึงวิกฤตผู้ลี้ภัยที่ทำให้ผู้คนต้องพลัดถิ่นกว่า 25.9 ล้านคน เมืองต่าง ๆ ถูกโจมตีด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่จำเป็นต้องได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความท้าทายเร่งด่วนเช่นนี้ เหล่านักวางผังเมืองจะต้องแสดงบทบาทของตนในฐานะผู้นำระดับโลกในจัดการปัญหาเหล่านี้ด้วยกลยุทธ์และความร่วมมือกัน ด้วยจำนวนประชากรที่ดำรงชีวิตอยู่ในเขตเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกที่คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนคิดเป็น 68% ของประชากรโลกทั้งหมดภายในปี 2593 ผู้บริหารเมืองจึงต้องมีหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้นในการจัดการและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อมอย่างรุนแรงและรวดเร็วในปัจจุบัน พวกเขาต้องมีทรัพยากร ความรู้ และเงินทุน ที่เตรียมไว้จัดการบริหารนโยบายที่เหมาะสมและได้รับการปรับเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับความต้องการของแต่ละเมืองเป็นการเฉพาะ ดังนั้นเมืองต่าง ๆ จึงมีบทบาทที่จำเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่อนาคตที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น แล้วเมืองจะมีวิธีการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตด้วยความมั่นใจมากขึ้นได้อย่างไร?





    The Future of Smart Urban Initiatives 

    ความริเริ่มเกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะจากทั่วโลก

    อเล็กซ์

    คุณช่วยอธิบายความริเริ่มโครงการเมืองอัจฉริยะของรัฐบาลที่จัดการกับความท้าทายเหล่านี้ให้เราได้รู้ได้ไหม?

    ธีโอ

    ผมคิดว่ากำลังมีความเข้าใจผิดในเรื่องเมืองอัจฉริยะ ที่เรากำลังเห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นการจัดพื้นที่แบบสมาร์ทรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ภายในเมือง ๆ หนึ่ง ที่ผู้อาศัยสามารถทำงาน หาความบันเทิง และจับจ่าย ได้โดยไม่ต้องออกจากพื้นที่ และเรากำลังเห็นการเติบโตขึ้นของสังคมและชุมชนที่มีการทรัพยากรร่วมกันและเชื่อมโยงกันได้ เมืองที่ประสบความสำเร็จคือเมืองที่ตอบสนองชุมชนได้ดีที่สุดและควรวัดจากคุณภาพชีวิตโดยรวมที่สร้างหรือเปิดโอกาสให้กับชุมชน เรากำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ในเรื่องประชากรสูงอายุ ตัวอย่างเช่น เรากำลังดำเนินการในพื้นที่สมาร์ทที่มุ่งเน้นด้านสุขภาพความเป็นอยู่ ที่ซึ่งออกแบบมาเพื่อผู้คนสามารถใช้ชีวิตและเรียนรู้ที่จะความสุขกับคุณภาพชีวิตในวัย 50 ปีขึ้นไป โดยพื้นที่ทั้งหมดได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

    อเล็กซ์

    นั่นเป็นคำจำกัดความของเมืองอัจฉริยะที่กว้างขึ้นและน่าสนใจมาก ขอถามคุณโคลิน ในการเป็นที่ปรึกษา คุณเดินทางไปทั่วโลกและได้เห็นตัวอย่างมากมาย คุณคิดว่าอะไรคือโมเดลที่ดีที่จะนำมาใช้ในการวางผังเมือง?

    โคลิน

    โดยทั่วไปแล้ว สิงคโปร์ อัมสเตอร์ดัม และเอสโตเนีย จะติดอยู่ใน 5 อันดับแรก หรือ 10 อันดับแรก แต่ไม่มีคำจำกัดความเดียวว่าเมืองอัจฉริยะคืออะไร ตัวอย่างเช่นเมืองอัจฉริยะจะเป็นเมืองอัจฉริยะแบบกระจายอำนาจได้? เราจำเป็นต้องกระจายอำนาจตามบริบท อีกแบบหนึ่งคือเมืองอัจฉริยะแบบกระจาย ซึ่งเป็นมากกว่าเพียงภาครัฐ – ผู้มีส่วนร่วมในการได้หรือเสียประโยชน์ อื่น ๆ เช่นชุมชน กิจการสตาร์ทอัพ และองค์กรเอกชน ก็สามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะได้ เช่น ที่ประเทศจีนมีที่คุณลักษณะทางด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับเมืองอัจฉริยะมากมาย อาทิเช่นการชำระเงินแบบดิจิทัลคิดค้นโดยบริษัทเทคโนโลยี ซึ่งเป็นการดำเนินการนอกเหนือไปจากการจัดการภาครัฐ

    อเล็กซ์

    คุณเต็ก เหลียง ในฐานะที่คุณเป็นผู้วางแผนสำหรับสิงคโปร์ คุณพอจะแนะนำเมืองอื่น ๆ ที่คุณคิดว่าเราควรใช้เป็นต้นแบบและดำเนินรอยตามได้บ้างไหม?

    เต็ก เหลียง

    โดยส่วนตัวแล้วผมชอบวิธีที่ญี่ปุ่นพัฒนาเมืองของเขา แม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มีรูปแบบอัจฉริยะและมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่รูปแบบการพัฒนาของพวกเขานั้นเน้นที่มนุษย์เป็นศูนย์กลาง ที่ซึ่งพวกเขาพยายามทำให้ทุกเมือง เขต ชุมชุน ตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียงมีความน่าอยู่ กะทัดรัด เดินเท้าได้ สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเข้าถึงได้โดยระบบขนส่งสาธารณะ ในกรุงโตเกียว พวกเขาได้สร้างศูนย์กลางกิจกรรมหลากหลายชนิดผสมผสานกันขึ้นมากมาย แต่ละที่จะผนึกเข้ากับเครือข่ายรถไฟและสถานีรถไฟอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้คนสามารถอยู่อาศัย ทำงาน และสนุกกับการใช้ชีวิตพักผ่อน ทั้งหมดได้ในที่เดียว เป็นการตัดการเดินทางที่จำเป็นออกไป

    สิงคโปร์กำลังทำสิ่งที่คล้ายกัน ซึ่งแทนที่จะมุ่งเน้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้อยู่เฉพาะในใจกลางเมือง เรากระจายอำนาจโดยการสร้างศูนย์กลางระดับภูมิภาคไปรอบ ๆ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหลักและสถานีร่วม ในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ รอบเกาะสิงคโปร์ แนวคิดทั้งหมดคือการสร้างพื้นที่ที่ การจ้างงาน ที่อยู่อาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกเช่นโรงเรียน ร้านค้า โรงพยาบาล สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและพบปะในชุมชน ตลอดจนสวนสาธารณะ ทั้งหมดสามารถพบได้ในที่เดียว เราต้องการให้แน่ใจว่าศูนย์ภูมิภาคทั้งหมดที่เรากำลังสร้างขึ้นนี้มีสิ่งที่น่าดึงดูดใจเช่นเดียวกับย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) เพื่อให้ผู้คนและบริษัทต่าง ๆ เต็มใจที่จะทำงานและดำเนินกิจการนอกใจกลางเมืองมากขึ้น

    ธีโอ

    สิ่งที่สิงคโปร์ทำได้ดีมากคือการออกแบบระบบนิเวศน์การขนส่ง เนื่องจากการขนส่งมีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่อื่น ๆ ดังนั้นการบังคับใช้นโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการจำกัดจำนวนยานพาหนะบนท้องถนนจึงเกิดขึ้นได้ สิ่งนี้ช่วยบรรเทาความแออัดและลดการปล่อยมลพิษโดยไม่ต้องบังคับใช้บทลงโทษต่อคนส่วนใหญ่ในชุมชน โครงสร้างพื้นฐานเช่นนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องมีไว้รองรับ หากคุณกำลังวางแผนการกระจายอำนาจแต่ยังคงต้องการให้ทุกคนในชุมชนสามารถใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดได้ เพื่อให้คนทั้งชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    อเล็กซ์

    ในฐานะนักวางผังเมือง อะไรคือสิ่งสำคัญที่คุณต้องมองหา เมื่อเป้าหมายคือการปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น?

    เต็ก เหลียง

    ผู้คนไม่เลือกที่จะทำงานและอาศัยอยู่ในเมืองหรือเขตใดเขตหนึ่งเป็นการเฉพาะ อันเนื่องมาจากเขตหรือเมืองนั้น ๆ รองรับการใช้ชีวิตในรูปแบบอัจฉริยะหรือมีสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นการเฉพาะ พวกเขามักจะเลือกทำเช่นนั้นเพราะเมืองหรือเขตนั้นมีเสน่ห์ มีชีวิตชีวา น่าอยู่ และตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ ผู้คนมักแสวงหาสถานที่ที่มีสวนสาธารณะและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจที่ดี ความบันเทิงที่น่าตื่นตาตื่นใจจ ร้านค้าปลีก ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ความอุดมทางวัฒนธรรม ที่อยู่อาศัยคุณภาพดีและมีราคาที่เอื้อมถึงได้ เครือข่ายระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมต่อสะดวกสบาย งานที่ดี และโรงเรียนสำหรับเด็ก ๆ นอกจากนี้ผู้คนยังต้องการเข้าถึงและเชื่อมต่อระบบสารสนเทศทางเทคโนโลยี (ICT) ที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจและส่วนบุคคล

    ธีโอ

    สำหรับ Hitachi คีย์เวิร์ดของเราคือ “ผู้คน” บทสรุปของเราคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อผู้คน โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตให้กับผู้คน เรากำลังเห็นการบรรจบกันระหว่าง อุตสาหกรรม 4.0 กับ สังคม 5.0 ในอดีตที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเคยถูกขับเคลื่อนในรูปแบบของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันเราได้เห็นกระบวนทัศน์ทางธุรกิจทั่วโลกเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจเพื่อการบริโภคซึ่งขับเคลื่อนโดยความต้องการของผู้บริโภค ความสามารถของผู้บริโภคในการแสดงออกและสื่อสารความต้องการของพวกเขากลายเป็นเรื่องสำคัญที่เราคำนึงถึงในทุกสิ่งที่เราทำ รวมทั้งวิธีที่เราออกแบบสร้างเมือง ชุมชน และเขตพื้นที่รูปแบบอัจฉริยะ





     

    ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ

    อเล็กซ์

    การวางผังเมืองอัจฉริยะและพื้นที่อัจฉริยะมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาขึ้นใหม่ การเปลี่ยนทดแทนโครงสร้างพื้นฐานเก่า และการเพิ่มเทคโนโลยีอัจฉริยะลงในโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดต่อความริเริ่มเหล่านี้คือการจัดหาเงินทุน หากภาครัฐบาลเป็นฝ่ายเดียวที่เต็มใจจ่ายสำหรับการพัฒนาดังกล่าว แล้วจะหาเงินทุนมาสนับสนุนการพัฒนาใหม่ ๆ ได้อย่างไร ? นี่เป็นเรื่องยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา

    โคลิน

    ผมไม่คิดว่าคุณจะสามารถถอดบทบาทของรัฐบาลออกไปได้ในตอนท้ายที่สุด รัฐบาลยังคงมีความสำคัญมาก แต่ผมคิดว่าในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นคุณไม่สามารถพึ่งพารัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าจะเป็นในอินเดียหรือที่อื่น ๆ หลายแห่งในโลก มีนวัตกรรมหลายอย่างมากมายที่เกิดขึ้นโดยที่ภาครัฐไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการ

    วูจวน

    เราจำเป็นต้องเข้าใจปัจจัยต่าง ๆ ที่จะจูงใจในการสร้างเมืองอัจฉริยะ บางเมืองมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเนื่องจากขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ บางเมืองต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมเนื่องจากแรงงานที่กำลังลดลง ในขณะที่เมืองอื่น ๆ อาจตั้งเป้าที่จะให้บริการที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นแก่ประชาชนด้วยแรงจูงใจที่แตกต่างกันเหล่านี้ทำให้เมืองอัจฉริยะอาจเผชิญกับความท้าทายที่แตกต่างกัน และภาครัฐแต่ละที่ก็อาจมีบทบาทที่แตกต่างกันเพื่อเร่งการเดินทางสู่เป้าหมายเมืองอัจฉริยะ

    ธีโอ

    เรายังต้องดูค่าครองชีพค่าครองชีพ ซึ่งหมายรวมถึงการเดินทางและขนส่ง อาหาร ที่อยู่อาศัย ฯลฯ และวิธีการที่เทคโนโลยีจะช่วยลดค่าครองชีพได้

    โคลิน

    หนึ่งในเกณฑ์สำคัญในการจัดอันดับเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกประจำปีคือเวลาที่ใช้ในการเดินทางไปกลับระหว่างบ้านและที่ทำงาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นสิ่งสำคัญ แต่ระดับความแออัดของจราจรสำคัญยิ่งกว่า ผมเพิ่งไปเยือนซิลิคอนวัลเลย์เมื่อ 2-3 เดือนก่อน การจราจรจากเมืองซานฟรานซิสโกไปยังเมืองพาโลอัลโตเป็นอะไรที่เลวร้ายมาก ที่นั่นไม่ใช่สถานที่ที่ผมจะอาศัยอยู่ได้เลย ด้วยข้อยกเว้นเล็ก ๆ น้อย ๆ (เช่นสิงคโปร์) รายชื่อเมืองอัจฉริยะอันดับต้น ๆ กับรายชื่อเมืองที่น่าอยู่อันดับต้น ๆ มักจะไม่ตรงกัน เราควรแยกให้ออกว่าเหตุใดจึงมีความแตกต่างกันในเรื่องนี้

    วูจวน

    ตอนนี้เรามาพูดการวางผังเมืองและการวางแผนการเดินทางขนส่ง ทั้งสองอย่างจะรวมเข้าด้วยกันได้อย่างไร?

    เต็ก เหลียง

    การวางผังเมืองและการวางแผนการเดินทางขนส่งมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะดึงดูดผู้คนให้เข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางขนส่งจะต้องถูกดำเนินการอย่างทันท่วงทีควบคู่ไปกับการพัฒนาเมือง พื้นที่บริการจะต้องถูกเข้าถึงโดยง่ายทั้งทางถนน ทางรถไฟ และทางระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ที่สามารถรับผู้คนเข้าและออกจากพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วและสะดวก นอกจากนี้เพื่อให้เกิดการเดินทางขนส่งระยะใกล้ในพื้นที่ ก็ยังต้องมีการวางแผนและจัดเตรียมรูปแบบการขนส่งอื่น ๆ เช่นรถรับส่งรถประจำทางและจักรยานไว้รองรับและให้บริการด้วย





    The Future of Smart Urban Initiatives 

    AI และเทคโนโลยีอื่นๆ ในเมืองอัจฉริยะ

    อเล็กซ์

    เมื่อพูดถึงเทคโนโลยี มันมักจะถูกพิจารณาให้เป็นทั้งสิ่งที่สร้างโอกาสและสิ่งที่สร้างความชะงักของภาวะแวดล้อมอย่างรุนแรงและรวดเร็ว อยู่เนือง ๆ แล้วมีเทคโนโลยีใดบ้างที่ในระยะสั้นนี้ที่มีศักยภาพเชิงบวกในการสนับสนุนเมืองอัจฉริยะ?

    วูจวน

    ผมคิดว่าเราจะได้เห็นรถยนต์ไร้คนขับและแท็กซี่ทางอากาศ หุ่นยนต์ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ และความเป็นจริงแบบผสมผสานที่นำระบบทางกายภาพและไซเบอร์มารวมกันเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น นอกเหนือจากเทคโนโลยีแต่ละประเภทในตัวเองแล้ว เมืองอัจฉริยะจะเกี่ยวเนื่องกับการเชื่อมต่อของสิ่งต่าง ๆ การตรวจจับข้อมูลและการสร้างฐานข้อมูลจากที่ได้จากโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เป็นขั้นตอนแรก การได้ข้อมูลเชิงลึกที่ดีขึ้นจากข้อมูลหลายมิติดังกล่าวและการเชื่อมต่อทุกอย่างเป็นขั้นตอนต่อไป โดย AI จะมีบทบาทสำคัญมาก แต่อย่างไรก็ตามการตัดสินขั้นสุดท้ายจะต้องถูกตีความด้วยความเข้าใจวิธีคิดของ AI อย่างถ่องแท้ ซึ่งเรายังต้องให้มนุษย์เป็นผู้ทำงานในส่วนนี้ ความเชี่ยวชาญของมนุษย์จะเป็นส่วนช่วยเติมเต็มให้ AI ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

    ธีโอ

    เทคโนโลยี 5G เป็นกุญแจสำคัญที่จะปลดล็อกการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ ซึ่งจะปลดล็อกให้เทคโนโลยีใหม่เช่นยานยนต์อัตโนมัติ เมื่อการสื่อสารแบบอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์เกิดมากขึ้น เราจะเห็น AI กลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น เราจะได้เห็นอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นภายในสามปีข้างหน้าเราจะเห็น AI เข้ามาควบคุมการจัดซื้อส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมการผลิตหลักทั้งหมด

    เต็ก เหลียง

    เทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์ข้อมูล จักรกลเรียนรู้/AI สามารถช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกอันล้ำค่าเกี่ยวกับการงานด้านต่าง ๆ ของเมืองที่มีอยู่และช่วยให้เราวางแผนได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วเรายังคงต้องใช้วิจารณญาณอย่างมืออาชีพตามหลักวิชาการ หลักการวางแผนที่ดี และการมีส่วนร่วมของมนุษย์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราได้ผลลัพธ์ที่น่าชื่นชมอันเกิดจากเครื่องมือทางเทคโนโลยีเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการกำหนดนโยบายและการนำไปใช้งานในเนื้องานที่ต้องการอย่างเหมาะสม

     

    โดยส่วนตัวแล้วผมรู้สึกว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะยึดติดกับในเทคโนโลยีที่สนับสนุนโดยองค์กรระดับสูงหรือกองทุนร่วมขนาดใหญ่ ซึ่งบ่อยครั้งที่เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะให้ข้อมูลที่มีมิติเดียวหรือให้โซลูชั่นเดียวในแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ในฐานะนักวางผังเมือง เราจำเป็นต้องมองในมุมกว้างและมีดุลยพินิจที่ดีเพื่อพิจารณาว่านวัตกรรมทางเทคโนโลยีเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนร่วมต่าง ๆ อย่างไรบ้างวิเคราะห์ได้ว่าแท้จริงแล้วและพวกมันสามารถสร้างมูลค่าตลอดจนผลลัพธ์ที่ไม่ได้วางแผนไว้อย่างไรบ้าง แทนที่จะพุ่งเป้าไปที่เทคโนโลยี ผมอยากให้พุ่งเป้าไปที่ผลลัพธ์ที่เราต้องการ ก่อนที่จะไปดูว่าโซลูชั่นใดที่สามารถแก้ไขปัญหาที่ได้อย่างคุ้มค่าการลงทุนที่สุด

    อเล็กซ์

    ใช่ครับ เทคโนโลยีมีส่วนร่วมในทุกสิ่งเหล่านี้ และในที่สุดมันก็กลายเป็นความเชื่อมั่นว่าเราเชื่อมั่นในระบบแค่ไหน หรือว่าเราเชื่อมั่นในเทคโนโลยีแค่ไหน สุดท้ายแล้วความเชื่อมั่นนั้นจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น





    The Future of Smart Urban Initiatives 

    การเรียกร้องให้ผู้ส่วนร่วมหลัก ๆ มาร่วมมือกัน

    อเล็กซ์

    การสร้างเมืองอัจฉริยะเป็นงานขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนร่วมและผู้คนจำนวนมาก อยากทราบมี “กลุ่มคนหรือชุมชนที่อยู่เฉย ๆ และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ” ที่ภาครัฐควรเพิ่มการมีส่วนร่วมและปลุกเร้าพวกเขาให้มาสนับสนุนความริเริ่มใหม่ ๆ นี้บ้างหรือไม่?

    เต็ก เหลียง

    ผมคิดว่าสิ่งสำคัญมากของการวางผังเมืองอัจฉริยะคือจะต้องไม่ถูกมองว่าเป็นโครงการริเริ่มของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว แต่ควรจะเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนในชุมชนเป็นเจ้าของรับผิดชอบร่วมกัน นอกจากนี้ยังไม่ควรที่จะเป็นเพียงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ควรเป็นการช่วยสร้างงานที่ดีสร้างโอกาสและประสบการณ์ที่ดีกว่าให้กับทุกคนในพื้นที่ ทั้งผู้คนและธุรกิจต้องสามารถมองเห็นคุณค่าของพวกมัน

    อเล็กซ์

    คุณคิดว่าอะไรคือรูปแบบธุรกิจใหม่ที่ผลักดันการสร้างเมืองอัจฉริยะได้ดียิ่งขึ้น ?

    ธีโอ

    สิ่งที่เราได้เห็นคือการเติบโตอย่างรวดเร็วของรูปแบบธุรกิจการให้บริการ (as-a-service) ตัวอย่างเช่น บริษัทเอกชนสามารถเสนอต่อฝ่ายบริหารของเมืองในการติดตั้งเสาไฟส่องสว่างมีมาพร้อมจะอุปกรณ์ให้บริการ 5G และบริการดิจิทัลเพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อให้บริการเครือข่าย 5G เครือข่ายทั่วเมือง ภาครัฐต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเปิดพื้นที่หรือกำหนดแนวติดตั้งเสาไฟ บริษัทเอกชนเป็นผู้ลงทุนค่าใช้จ่ายในโครงการทั้งหมดแต่สามารถสร้างรายได้จากการให้บริการต่าง ๆ ที่เกิดจากเสาไฟนั้น แม้กระทั่งในบางกรณีบริษัทเอกชน อาจแบ่งรายได้จากเหล่านั้นให้กับภาครัฐด้วยก็ได้ เช่นนั้นแล้วบริษัทเอกชนก็จะเป็นเจ้าของและดูแลจัดการเสาไฟเหล่านั้นจนกว่าจะมีรายได้คุ้มการลงทุน จากนั้นจะโอนเป็นทรัพย์สินให้กับภาครัฐ

     

    โมเดลนี้ช่วยให้ภาครัฐสามารถเร่งการเปิดตัวบริการอัจฉริยะ การปรับปรุงคุณภาพชีวิต (QoL) ให้กับชุมชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปก่อน หากใช้โมเดลประเภทนี้ เราจำเป็นต้องเห็นการเปลี่ยนแปลงในนโยบายของภาครัฐ ให้เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในกิจการของรัฐ (PPP) เป็นหลักมากขึ้น หนึ่งในรัฐบาลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทั่วโลกในการใช้รูปแบบ PPP คือออสเตรเลีย การเปลี่ยนแปลงขั้นต่อที่เราจะเห็นคือการทำโครงสร้างพื้นฐานเป็นบริการ ธีโอ: ภาครัฐบาลจะต้องเปลี่ยนวิธีการมองอนาคต เรายังคงเห็นความคิดในการจัดซื้อแบบเดิม ๆ ซึ่งเชื่องช้ามากเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอัตราเร่ง สิ่งที่เราเห็นทั่วโลกคือการขาดแคลนงบประมาณอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับหน่วยงานในองค์กรต่าง ๆ เพื่อช่วยเราในการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ โดยที่ไม่ต้องรอกระบวนจัดซื้อที่ช้าและใช้วิธีการแบบเดิม ๆ การใช้รูปแบบกลุ่มบริษัทร่วมดำเนินการจะสามารถสร้างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จำเป็นของโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันภาครัฐในบางประเทศกำลังพยายามปรับให้เป็นรูปแบบนี้ซึ่งมีหลักการเดียวกันกับที่กล่าวมา

    เต็ก เหลียง

    แม้ว่าโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะที่หลอมรวมกันจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนโดยรวมของพื้นที่และอาคารต่าง ๆ ภายในขอบเขตได้ แต่การโน้มน้าวให้เจ้าของอาคารและผู้อาศัยให้หันมาใช้บริการนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย พวกเขากังวลว่าจะต้องจ่ายเงินเท่าไรสำหรับบริการเหล่านี้และพวกเขาจะ “ถูกจับผูกติดกับสัญญา” เมื่อพวกเขาตกลงใช้บริการ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการเดินหน้า บริษัทเทคโนโลยีจะต้องทำมากกว่าเพียงการขายโซลูชั่นและเทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะให้กับภาครัฐแล้วฝากความหวังให้ภาครัฐช่วยผลักดันให้เกิดการนำไปใช้แต่เพียงฝ่ายเดียว บริษัทเทคโนโลยีจะต้องแสดงให้เห็นประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีไปใช้ที่ชัดเจนในด้านความยั่งยืน และมุ่งเน้นไปโมเดลการดำเนินการมีการพัฒนาที่ดีและเป็นไปตามหลักการตลาด เพื่อให้เกิดการรับรู้ในคุณค่าทางเศรษฐกิจต่อทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ บริษัทเทคโนโลยีต้องพร้อมที่จะรับความเสี่ยงที่มากขึ้นโดยการลงทุนและดำเนินการระบบเหล่านี้โดยไม่มีการสนับสนุนจากภาครัฐโดยตรง ดังนั้นความรับผิดชอบจึงตกอยู่กับบริษัทเทคโนโลยีเองในการโน้มน้าวตลาดให้เห็นถึงผลประโยชน์ของเทคโนโลยีนั้น ๆ

    ธีโอ

    ภาครัฐบาลจะต้องเปลี่ยนวิธีการมองอนาคต เรายังคงเห็นความคิดในการจัดซื้อแบบเดิม ๆ ซึ่งเชื่องช้ามากเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอัตราเร่ง สิ่งที่เราเห็นทั่วโลกคือการขาดแคลนงบประมาณอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับหน่วยงานในองค์กรต่าง ๆ เพื่อช่วยเราในการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ โดยที่ไม่ต้องรอกระบวนจัดซื้อที่ช้าและใช้วิธีการแบบเดิม ๆ การใช้รูปแบบกลุ่มบริษัทร่วมดำเนินการจะสามารถสร้างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จำเป็นของโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันภาครัฐในบางประเทศกำลังพยายามปรับให้เป็นรูปแบบนี้

    อเล็กซ์

    ยังมีผู้มีส่วนร่วมจากส่วนอื่นใดหรือไม่ที่ควรเข้ามาร่วมกันเพื่อช่วยให้บรรลุวิสัยทัศน์การสร้างเมืองอัจฉริยะ เราได้พูดคุยเกี่ยวกับบริษัทเอกชนและภาครัฐแล้ว แต่มีใครอีกบ้างที่ควรเข้ามีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ?

    ธีโอ

    พื้นฐานความสำเร็จของเมืองอัจฉริยะอยู่ที่ประชาชน ใครก็ตามที่ไม่นำเอาผู้คนและชุมชนมาเป็นส่วนร่วมการวางแผน มักจะประสบความล้มเหลวในระยะยาว เมืองอัจฉริยะที่ประสบความสำเร็จได้ต้องถูกสร้างขึ้นโดยความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จระหว่างกลุ่มธุรกิจร่วมดำเนินการที่ดี รัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์ และการมีส่วนร่วมของชุมชน

    โคลิน

    ความเชื่อมั่นเป็นรากฐานสำคัญของเมืองอัจฉริยะ ใครล่ะที่จะให้คุณเชื่อมั่นได้ บางทีแล้วสำหรับบริษัท ใหญ่ ๆ คุณอาจต้องเริ่มที่ชุมชน คุณต้องสร้างความเป็นพันธมิตรกับชุมชนโดยใช้เทคโนโลยี ใช้มุมมองในความเป็นบริษัทข้ามชาติของคุณ เพื่อนำพาชุมชนไปสู่ระดับที่คุณได้รับความน่าเชื่อถือ จากนั้นใช้มันเพื่อขับเคลื่อนโครงการเมืองอัจฉริยะของคุณก้าวเดินไปข้างหน้า





    The Future of Smart Urban Initiatives 

    บริษัทเทคโนโลยีอย่าง Hitachi สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างไร

    อเล็กซ์

    บริษัทเทคโนโลยีอย่าง Hitachi ได้ดำเนินโครงการริเริ่มเมืองอัจฉริยะมาหลายปีแล้ว พวกเขาจะมีส่วนร่วมในความสำเร็จของเมืองอัจฉริยะในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าได้อย่างไร?

    ธีโอ

    เราได้เห็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในจุดที่มีความกดดันสูง ได้แก่ ไฟฟ้า พลังงาน ความปลอดภัย Hitachi ได้สร้างสิ่งที่สร้างสรรค์มาก ๆ เกี่ยวกับการกลั่นน้ำทะเลและการผลิตไฟฟ้า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจการบริโภค และเราเข้าใจดีว่าผู้บริโภคคือกุญแจสำคัญในการสร้างเทคโนโลยีที่สร้างความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นตอนนี้เราจึงมุ่งเน้นที่วิธีที่เราจะเชื่อมต่อกับผู้บริโภค ผมเชื่อว่าใครก็ตามที่เข้าใจประชาชนมีอิทธิพลต่อพัฒนาคุณภาพชีวิตจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จ

    อเล็กซ์

    นั่นเป็นข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญของวิธีที่ Hitachi มองอนาคต และผมคิดว่ากลยุทธ์ได้เกิดผลสำเร็จแล้วซึ่งเราได้เรียนรู้ร่วมกัน แล้วเราจะมีวิธีนำผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในฐานะกลุ่มชุมชนมาร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ?

    วูจวน

    เรามักประสบปัญหาที่ว่าเทคโนโลยีต้องได้รับการพิสูจน์ก่อนที่ภาครัฐจะจัดซื้อได้ การทดสอบเทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะในระดับเขตเป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีและโซลูชัน เขตพื้นที่ที่มีบริการอัจฉริยะ Smart district จะเป็นเวทีสำหรับผู้มีส่วนร่วมต่างๆ มาร่วมสร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ และแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีทั้งหลายสามารถผสานและทำงานร่วมกันได้อย่างไร เราหวังว่าภาครัฐจะริเริ่มพื้นที่อัจฉริยะให้มีจำนวนมากขึ้น มียุทธศาสตร์ในภาพรวม รวมทั้งมีแผนสร้างแรงจูงใจ เพื่อสร้างชุมชนที่มีการพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน

    ธีโอ

    เราเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในภาครัฐที่มีความเป็นผู้นำด้านวิสัยทัศน์บ้างแล้ว พวกเขาเริ่มส่งสารว่า “เราต้องการแก้ไขปัญหา เป็นไปได้หรือไม่ที่พวกคุณจะสามารถจัดตั้งกลุ่มบริษัทร่วมลงทุนที่สามารถหาคำตอบให้กับแก้ปัญหาและส่งมอบในรูปแบบของการทำงานร่วมกับภาครัฐ ?” โดยส่วนใหญ่แล้วโซลูชั่นที่ได้จะต้องตอบโจทย์ด้านเงินทุนที่จะใช้การดำเนินโครงการด้วย สิ่งเหล่านี้ถือเป็นโอกาสและความท้าทายในระยะยาวที่ Hitachi และพันธมิตรของเรากำลังมองหา





    เมืองอัจฉริยะเป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชน ที่สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงบวก Hitachi ได้ร่วมมือกับลูกค้า พันธมิตร และสถาบันการศึกษาทั่วโลก เพื่อสร้างโซลูชั่นนวัตกรรมทางสังคมเพื่อเร่งขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาที่สังคมและองค์กรต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ โปรดรอติดตามการเสวนาครั้งต่อไปเกี่ยวกับการเงินดิจิทัล การเสวนาเหล่านี้เปิดโอกาสให้คุณได้รับฟังผู้เชี่ยวชาญและผู้นำทางความคิดในเรื่องความก้าวหน้าที่น่าตื่นเต้นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ตลอดจนแสดงให้เห็นว่า Hitachi กำลังขับเคลื่อนที่สิ่งดีๆ เพื่ออนาคตที่สดใสขึ้น

     

     

    โปรไฟล์

    The Future of Smart Urban Initiatives _ Profiles

    ดร.อเล็กซ์ หลิน

    รองประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารของ NTUitive และผู้อำนวยการคณะกรรมการบริหารของ Action Community for Entrepreneurship (ACE)

     

    ดร.อเล็กซ์ หลิน เป็นผู้สร้างระบบนิเวศน์แห่งนวัตกรรมซึ่งช่วยสร้างระบบนิเวศน์ให้แก่สตาร์ทอัพและนวัตกรรมในหลายประเทศ ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารชั่วคราวของ NTUitive ดร.อเล็กซ์เคยเป็นผู้บริหารกองทุนร่วมลงทุน มูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ของหน่วยงาน Infocomm Development Authority (IDA) ของรัฐ ตั้งแต่ปี 2557 เขาให้เงินทุนสนับสนุนกิจการสตาร์ทอัพมากกว่า 380 แห่ง และยกระดับกิจการสตาร์ทอัพมากกว่า 170 รายขึ้นสู่ซีรี่ส์ A ความสำเร็จอันมหาศาลนี้ทำให้ช่วยกลุ่มระบบนิเวศน์กิจการสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีของสิงคโปร์กระโดดจากอันดับที่ 17 ไปสู่อันดับที่ 10 ภายใน 2 ปี เขาเป็นผู้ทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศแห่งกิจการสตาร์ตอัพที่รุ่งเรือง ซึ่งทุกคนในประเทศต่างชื่นชมยินดี

    The Future of Smart Urban Initiatives _ Profiles

    เต็ก เหลียง ลิม

    ผู้อำนวยการกลุ่มวางแผนทางกายภาพ Urban Redevelopment Authority

     

    เต็ม เหลียง ลิม ทำงานให้กับ Urban Redevelopment Authority ของสิงคโปร์ มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการวางแผนและการพัฒนาการใช้ที่ดินฝั่งตะวันตกของสิงคโปร์ ปัจจุบันเขาเป็นผู้นำการวางแผนแม่บทการพัฒนา เขต Jurong Lake District ให้เป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์แบบผสมผสานที่ยั่งยืนในระดับโลก และเป็นศูนย์กลางย่านการค้าที่ใหญ่ที่สุดนอกเขตใจกลางเมือง (CBD) เขามีส่วนร่วมในการตรวจสอบแผนยุทธศาสตร์และนโยบายการใช้ที่ดินในระยะกลางของสิงคโปร์ ที่มุ่งเน้นไปที่การใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม ท่าเรือ ทางรถไฟ และโครงสร้างพื้นฐาน การวางแผนใช้งานพื้นที่ใต้ดิน และการพัฒนาเชิงอัจฉริยะและยั่งยืน โดยก่อนหน้าเข้ารับตำแหน่งในกลุ่มวางแผนกายภาพ เต็ก เหลียงมีส่วนร่วมในการวางแผนและการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของสิงคโปร์ รวมถึงเขต Marina Bay เพื่อสนับสนุนการขายที่ดินของรัฐ

    The Future of Smart Urban Initiatives _ Profiles

    โคลิน ลิม

    ที่ปรึกษาด้านเมืองอัจฉริยะ/การคมนาคม และอดีตประธานเจ้าหน้าที่คณะบริหารของ mobilityX

     

    โคลิน ลิม เป็นผู้นำที่มีความสามารถหลากหลาย มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในการริเริ่มและดำเนินการเปลี่ยนแปลง เขาก่อตั้งและเป็นผู้บริหารกิจการสตาร์ตอัพ “mobilityX” ซึ่งให้บริการด้าน “คมนาคมเป็นการบริการ” เป็นผู้ได้รับมอบหมายงานที่สำคัญจากรัฐบาลสิงคโปร์ อาทิ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กรมการขนส่งทางบก บริษัทขนส่งมวลชนสาธารณะ SMRT (การรถไฟฟ้าใต้ดิน) และบริษัทข้ามชาติเช่น IBM โคลินมีส่วนร่วมในการริเริ่มโครงการระดับโลกตลอดจนการวางยุทธศาสตร์ระยะยาวมากมายให้กับสิงคโปร์ เขามีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม, การคมนาคม กาวางกลยุทธศาสตร์ และการวางนโยบาย/กฎระเบียบสำหรับสาธารณะ

    The Future of Smart Urban Initiatives _ Profiles

    ธีโอ เชอร์แมน

    ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ Hitachi Asia Ltd.

     

    ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ของ Hitachi APAC ธีโอ เชอร์แมนเป็นผู้นำทางความคิดในกลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญ กำหนดโรดแมพในการวางโซลูชั่นที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเหล่านั้น วิจัยและพัฒนากลยุทธ์ที่จะช่วยให้ Hitachi สามารถเปลี่ยนองค์ความรู้และนวัตกรรมทรงพลังที่มีอยู่ให้เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการของรัฐบาล พันธมิตร และลูกค้า ก่อนที่จะมาร่วมงานกับ Hitachi ธีโอดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่คณะบริหารของ Eduss Broadcast & Media Inc. เขามีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจชั้นนำมากว่า 24 ปี ตั้งแต่ยุค IT ไปจนถึง IoT ในฐานะผู้นำทางความคิดทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติเกี่ยวกับเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลตามลำดับขั้น

    The Future of Smart Urban Initiatives _ Profiles

    ดร.วูจวน หลิน

    รองผู้จัดการทั่วไป ศูนย์วิจัยและพัฒนา Hitachi Asia Ltd.

     

    <ดร.วูจวน หลิน เป็นหัวหน้ากลุ่มงานโซลูชั่นทางดิจิทัล ศูนย์วิจัยและพัฒนาของ Hitachi Asia Ltd. เขารับผิดชอบการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมให้กับกลุ่มประเทศอาเซียน งานปัจจุบันของเขาครอบคลุมการพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชั่นงานสาขาต่าง ๆ ทั้งบริหารจัดการอาคาร ความปลอดภัยสาธารณะ การสื่อสารโทรคมนาคม การผลิตและโลจิสติกส์ ตลอดจนการเงิน

    ดร.วูจวน หลิน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกดุษฏีบัณฑิตด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) เขาเป็นเจ้าของสิทธิบัตรมากกว่า 20 ฉบับและมีผลงานเป็นสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีเฉพาะทางอีก 15 ฉบับ





    หมายเหตุ วันที่เผยแพร่: มิถุนายน 2020
    เรียบเรียงใหม่จากบทความต้นฉบับ < Powering Good: Insights from AI/Analytics > ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จาก Hitachi Global Research