Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเด็นด้านระบบอัตโนมัติอัจฉริยะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเดินทางสู่ยุคของการใช้ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตของภูมิภาคที่น่าตื่นเต้น

    ข้ามไปสำรวจนวัตกรรมเพื่อสังคมของ Hitachi ด้านระบบอัตโนมัติอัจฉริยะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    สำรวจแนวโน้มระบบอัตโนมัติอัจฉริยะล่าสุด

    ดูความคืบหน้าการดำเนินงานของภูมิภาคอาเซียน

    โซลูชันระบบอัตโนมัติของ Hitachi

    ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา โดยอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้แก่ เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีการสร้างหุ่นยนต์อัตโนมัติ (RPA) บริการที่จำเป็นหลาย ๆ บริการในเมืองสมัยใหม่กำลังกลายเป็นระบบอัตโนมัติที่ทำงานอย่าง “อัจฉริยะ” ตัวอย่างเช่น ไฟถนนอัจฉริยะที่ติดสว่างเองในสภาพแวดล้อมที่มืด หรือระบบการจัดการอาคารที่สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของผู้คนและตัดการใช้พลังงานภายในบริเวณที่ไม่มีคน

    นอกจากนี้ยังมีการใช้งานระบบอัตโนมัติอัจฉริยะในลักษณะอื่น ๆ ตั้งแต่การจ่ายไฟฟ้า การเก็บขยะมูลฝอย การจัดการจราจร ไปจนถึงระบบที่จอดรถ การผสมผสานระหว่างอุปกรณ์เชื่อมต่อและข้อมูลเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของเขตเมือง รวมถึงบริการต่าง ๆ ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้นพร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลอีกด้วย

    จากข้อมูลของบริษัท McKinsey โซลูชันอัจฉริยะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 270,000 กิโลตันต่อปี สร้างอาชีพใหม่ได้เกือบ 1.5 ล้านตำแหน่ง และประหยัดค่าครองชีพได้ 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะสามารถช่วยประหยัดเงินให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

    ความคืบหน้าของอุตสาหกรรม 4.0 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงรูปแบบบริการที่จำเป็นเท่านั้น แต่ยังสร้างกระแสคลื่นใหม่ให้แก่ภาคการผลิตและห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย เทคโนโลยีอัจฉริยะสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากถึง 627 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลสำรวจของ Ernst & Young (EY) ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบอัตโนมัติ โดยคาดการณ์ว่าห่วงโซ่อุปทานกว่า 45% ของทั้งหมดจะทำงานในรูปแบบอัตโนมัติเป็นหลักภายในปี 2578 เช่น รถโฟล์คลิฟท์และยานยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์ในคลังสินค้าและห้างสรรพสินค้า โดรนขนส่ง และการวางแผนอัตโนมัติโดยรวม

    หลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีความเชื่อมั่นว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต และได้ริเริ่มโครงการอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อพัฒนาภาคการผลิตของประเทศ

    อุตสาหกรรม 4.0 หรือที่เรียกว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่เป็นระยะถัดไปของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการผลิต ด้วยการขับเคลื่อนโดยแนวโน้มที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง เช่น การเพิ่มขึ้นของข้อมูลและการเชื่อมต่อ การวิเคราะห์ รวมถึงระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ กระแสการเปลี่ยนแปลงนี้จึงสร้างผลกระทบอย่างมากต่ออนาคตของภาคการผลิต

    ประธานาธิบดีโจโก วีโดโด มีความเชื่อมั่นว่าการนำแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 มาปรับใช้ในประเทศอินโดนีเซียจะช่วยให้ประเทศอินโดนีเซียกลายเป็นหนึ่งใน ประเทศเศรษฐกิจระดับแนวหน้า 10 อันดับแรกของโลก และยกระดับภาคการผลิตให้สูงถึง 26% ของ GDP ภายในปี 2573 รัฐบาลได้นำดัชนีความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ของอินโดนีเซียมาประเมินว่าธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมมีความพร้อมมากน้อยเพียงใดที่จะเปลี่ยนผ่านกระบวนการผลิตของตนเป็นรูปแบบดิจิทัล

    นอกจากนี้ ประเทศเวียดนามยังมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาภาคการผลิตด้วยแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 องค์กรขนาดใหญ่จำนวนมากได้ลงทุนในโรงงานอัจฉริยะที่มีระบบควบคุมการผลิต การเชื่อมต่ออัตโนมัติ และระบบการส่งผ่านข้อมูลที่ไร้รอยต่อ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณที่ดี เนื่องจากรัฐบาลเวียดนามมีเป้าหมายที่จะยกระดับภาคการผลิตเป็น 30% ของ GDP ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

    แนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 จะช่วยให้ประเทศกลายเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจระดับแนวหน้า 10 อันดับแรกของโลก และยกระดับภาคการผลิตให้สูงถึง 26% ของ GDP ภายในปี 2573

    รัฐบาลเวียดนามตั้งเป้าที่จะยกระดับภาคการผลิตเป็น 30% ของ GDP ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

    ด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 45 ตัวต่อพนักงาน 10,000 คนประเทศไทยจึงเป็นตลาดหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคอาเซียน

    ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของหุ่นยนต์สูงเป็นอันดับสองของโลกซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนที่สูงกว่าประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น และจีน

    ขณะนี้ภาคการผลิตในประเทศมาเลเซียอยู่ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านระหว่างอุตสาหกรรม 2.0 และ 3.0

    สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้เน้นย้ำให้ อุตสาหกรรมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เป็นอุตสาหกรรมหลักภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 ประเทศไทยกำลังเร่งลงทุนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศไทย เทคโนโลยีหุ่นยนต์เป็นทักษะทางเทคนิคที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่เป็นที่ต้องการ โดยหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 45 ตัวต่อพนักงาน 10,000 คนประเทศไทยจัดเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองสำหรับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในภูมิภาคอาเซียน

    ประเทศสิงคโปร์เป็นอีกหนึ่งประเทศหลักที่สนับสนุนแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 การผลักดันของรัฐบาลเพื่อยกระดับภาคการผลิตให้สูงขึ้นในด้านเทคโนโลยีนั้นประสบความสำเร็จมาโดยตลอด ประเทศสิงคโปร์มีความหนาแน่นของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับสองของโลกโดยมีหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจำนวน 730 ตัวต่อพนักงาน 10,000 คน ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สูงกว่าในประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น และจีน

    ขณะนี้ภาคการผลิตในประเทศมาเลเซียอยู่ในช่วง ระยะเปลี่ยนผ่าน ระหว่างอุตสาหกรรม 2.0 และ 3.0 แม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีในประเทศมาเลเซียจะก้าวหน้าและสมบูรณ์ แต่ยังคงมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอยู่ในระดับต่ำ 80% ของธุรกิจยังคงไม่เห็นด้วยกับกระบวนการผลิตด้วยระบบอัจฉริยะ และไม่ตระหนักว่าการนำระบบดิจิทัลมาปรับใช้จะสามารถปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานของตนได้อย่างไร

    Hitachi อยู่ระหว่างการเพิ่มขีดจำกัดของการนำระบบอัตโนมัติอัจฉริยะมาใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ด้วยความร่วมมือกับสถาบันวิจัยมาตรฐานและอุตสาหกรรมแห่งมาเลเซีย (SIRIM) Hitachi ได้เปิดตัว ศูนย์การเรียนรู้ด้านการผลิตอัจฉริยะ เพื่อส่งเสริมแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 ในประเทศมาเลเซีย โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต้องการนำเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ

    นอกจากนี้ Hitachi ยังได้นำเสนอ โรงงานอัจฉริยะในรูปแบบบริการ โดยใช้กล้องวิดีโอ เทคโนโลยี RFID และชุดเซ็นเซอร์ต่าง ๆ จากนั้นข้อมูลจะถูกแชร์ผ่านระบบคลาวด์ และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่โรงงานหลักแบบเรียลไทม์ บริการนี้จะช่วยให้สามารถบริหารจัดการโรงงานจากระยะไกลได้จากทุกมุมโลก หลักฐานแนวคิดของโรงงานอัจฉริยะในรูปแบบบริการได้ถูกส่งมอบให้แก่ประเทศไทยเมื่อปี 2563

    ในประเทศสิงคโปร์ Hitachi ได้นำเสนอบริการบูรณาการระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีหุ่นยนต์ สำหรับสายการผลิต การขนถ่ายวัสดุ การจัดส่ง หรือการตรวจสอบ เทคโนโลยีหุ่นยนต์สองประเภทหลักที่นิยมใช้สำหรับระบบอัตโนมัติ ได้แก่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมและหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน ระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสามารถใช้งานในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม โดยมีตั้งแต่แขนหุ่นยนต์แบบหลายแกนไปจนถึงหุ่นยนต์ลำเลียงสินค้าอัตโนมัติและอื่น ๆ อีกมากมาย การใช้หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหมายถึงการติดตั้งหุ่นยนต์และเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติอื่น ๆ ให้ทำงานร่วมกับพนักงานเพื่อให้การดำเนินงานเสร็จสมบูรณ์

    Hitachi มีความเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีจะนำเราไปสู่อนาคตที่น่าตื่นเต้น พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกคนในภูมิภาค

    นี่คือการใช้นวัตกรรมเพื่อสังคมที่แท้จริง

    วันที่วางจำหน่าย: เดือนธันวาคม 2567