สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่รู้จักกันในนาม อาเซียน (ASEAN) มีผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) รวมกันถึง 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งอาจกลายเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นลำดับห้าของโลก หากอาเซียนถูกนับว่าเป็นประเทศเดียว ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะมีการเติบโตมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งอาเซียนจะกลายเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นลำดับสี่ของโลก โดยแซงหน้าเยอรมันและญี่ปุ่นในระหว่างทาง
การเติบโตอย่างยิ่งใหญ่นี้จะได้รับแรงหนุนด้วยปัจจัยหลายประการ โดยหนึ่งในนั้นคือจำนวนของชนชั้นกลางที่กำลังเพิ่มขึ้น ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง ในอาเซียนจะเพิ่มขึ้นเป็น 472 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งจะขับเคลื่อนการบริโภคและการเติบโตในภูมิภาคสำหรับอนาคตอันใกล้
อีกปัจจัยเบื้องหลังแนวโน้มการเติบโตของอาเซียนเกี่ยวข้องกับกำลังแรงงาน โดยภูมิภาคนี้เป็นแหล่งของกำลังแรงงานรุ่นใหม่และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นถึง 470 ล้านคน โดยจำนวนแรงงานเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นสูงถึงขีดสุดในปี พ.ศ. 2593 ในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์
ยิ่งจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นเท่าไร ประชาชนที่ย้ายออกจากชนบทเข้าสู่พื้นที่เมืองเพื่อหางานทำก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยพื้นที่เมืองมีแนวโน้มจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นสองเท่าในระหว่างปี พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2593 และจะเป็นแหล่งอยู่อาศัยของประชากรที่เพิ่มเข้ามาราว 73 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2573
การขยายตัวของสังคมเมืองนั้น มีความสำคัญยิ่ง ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเกิดจากการที่ประชากรย้ายจากชนบทเข้าสู่พื้นที่เมือง ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นและจำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น
อ้างอิงจาก บลูมเบิร์กอัตราของการขยายตัวของสังคมเมืองสำหรับเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น และ สิงคโปร์ อยู่ที่ราว ร้อยละ 80 หรือสูงกว่า บางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ มีระดับการขยายตัวของสังคมเมืองอยู่ที่ราวร้อยละ 50 ซึ่งหมายถึงยังมีพื้นที่ว่างสำหรับการเติบโตอยู่มากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นแนวโน้มที่ผู้สังเกตการณ์จำนวนมากเชื่อว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของสังคมเมืองอย่างรวดเร็วก็แลกมาด้วยปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยภูมิภาคนี้กำลังเผชิญกับภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อมมากมาย เช่น คุณภาพอากาศที่แย่ลง ขาดการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด และผลกระทบร้ายแรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
การเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดและปลอดภัยคือความท้าทายสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรราว 110 ล้านคน ปัญหานี้มีความรุนแรงเป็นพิเศษในอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ อ้างอิงจากเว็บไซต์ water.org ประชากรชาวอินโดนีเซีย 18 ล้านคน ขาดความมั่นคงในการเข้าถึงแหล่งน้ำ ขณะที่ 11 ล้านครอบครัวในฟิลิปปินส์ ขาดการเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดและปลอดภัย
นอกจากนี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังต้องต่อสู้กับความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย เมื่อเป็นผู้บริโภคพลังงานรายใหญ่ที่สุดเป็นลำดับสี่ของโลก การขยายตัวของสังคมเมืองอย่างรวดเร็วจะเพิ่มความตึงเครียดต่อการผลิตพลังงานมากยิ่งขึ้น โดยภูมิภาคนี้มีการปล่อยคาร์บอนมากถึงร้อยละ 70 ของโลก และมีแนวโน้มที่สัดส่วนนี้จะเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับการบริโภคไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในปี พ.ศ. 2583 นอกจากนี้ ภูมิภาคนี้ยังมีการนำเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านพลังงานและอาจเป็นสาเหตุของการปล่อยคาร์บอนที่สูงขึ้นในอนาคต เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน
ปัญหาอีกประการที่น่าเป็นกังวลนั้นเกี่ยวกับขอบเขตทางการเงิน โดยประชากรกว่า 225 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีบัญชีธนาคารส่งผลให้พวกเขาถูกกีดกันออกจากระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โดยระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคมีแนวโน้มว่าจะมีรายได้ถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับภูมิภาคในอนาคต ประชากรจึงควรเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจคลื่นล่าสุดนี้ได้มากยิ่งขึ้น
เมืองใหญ่บางแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเป็นเมืองที่มีความแออัดอีกด้วย มะนิลา จาการ์ตา และกรุงเทพฯ ติดอันดับสามเมืองที่มีความแออัดมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยผู้สัญจรสูญเสียเวลาไปมากกว่า 100 ชั่วโมงต่อปีติดอยู่กับการจราจร นอกจากนี้ความแออัดยังเป็นสาเหตุของอากาศและระดับเสียงในเมืองที่เลวร้ายลงอีกด้วย
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอีกด้วย โดยภูมิภาคนี้มีแนวชายฝั่งที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งยาวถึง 234,000 กิโลเมตร พร้อมด้วยประชากรร้อยละ 77 ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณชายฝั่ง ส่งผลให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นที่ตั้งของเมืองชายฝั่งหลายแห่งอย่างไม่สมส่วน และเป็นหนึ่งในภูมิภาคของโลกที่เปราะบางต่อภาวะโลกร้อนและระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด โดยจาการ์ตา โฮจิมินห์ ซิตี้ และกรุงเทพฯ ในขณะนี้กำลังค่อย ๆ จมลงสู่มหาสมุทรทีละน้อย เนื่องด้วยการพัฒนาที่มากเกินไป
nเมืองเกิดขึ้นในอีก 30 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการเติบโตและการขยายตัวของสังคมเมืองที่กำลังจะมาถึง
สำหรับเมืองเหล่านี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีและพันธมิตรที่ร่วมสร้างสรรค์สามารถเข้ามามีบทบาทในการวางแผนของรัฐบาลเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนของเมืองเหล่านี้ได้
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขั้นต้นควรได้รับความสำคัญ โดยโรงงานบำบัดน้ำและแยกเกลือออกจากน้ำสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ำได้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างพลังงานจะช่วยในการรับมือกับความต้องการด้านพลังงานในอนาคต และการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนควรถือเป็นวาระสำคัญในอนาคตอันใกล้นี้
รัฐบาลและนักวางผังเมืองจะรับมือต่อความต้องการของการขยายตัวของสังคมเมืองอย่างรวดเร็วนี้ได้อย่างไร มีความจำเป็นอย่างยิ่ง l ที่จะต้องนำแนวทางแบบองค์รวมมาปรับใช้ และทำงานร่วมกับพันธมิตรภายนอก ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีและผู้ร่วมสร้างสรรค์ควรมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการปรึกษาหารือ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญและแหล่งทรัพยากรที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันและความร่วมมือในการรับมือกับความท้าทายทางสังคมที่ซับซ้อนเหล่านี้
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขั้นต้น เช่น การเข้าถึงน้ำและการสร้างพลังงานควรได้รับความสำคัญสูงสุด การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างพลังงานจะช่วยในการรับมือกับความต้องการด้านพลังงานในอนาคต และการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนควรถือเป็นวาระสำคัญในอนาคตอันใกล้นี้
ทั้งนี้ การลงทุนในการเงินสกุลดิจิทัลก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพื่อที่ประชาชนจะได้สามารถมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้ ผ่านการใช้โทรศัพท์มือถือของพวกเขาในการชำระเงินทางดิจิทัล ระบบอัตโนมัติและโรงงานอัจฉริยะจะขับเคลื่อนการเติบโตในการผลิตมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้อาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาว
โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมคือจุดมุ่งเน้นหลักสำหรับหลายประเทศในระดับภูมิภาคด้วยเช่นกัน โดยแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน(Master Plan) ปี พ.ศ. 2568 เน้นย้ำไว้อย่างชัดเจนถึงความต้องการต่อโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม การสนับสนุนสำหรับการลงทุนดังกล่าวนี้ยังสามารถเข้าถึงได้ที่ กองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียน
นอกจากนี้ ความยั่งยืนยังเป็นเป้าหมายที่หลายประเทศกำลังมุ่งหมายไปถึงอีกด้วย โดยในระดับภูมิภาค เมืองต่าง ๆ กำลังเข้าร่วมโครงการริเริ่มเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศในเชิงรุก เช่น เครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน ทั้งนี้ ธนาคารพัฒนาเอเชียยังได้เปิดตัวกองทุนการเงินสีเขียวของอาเซียน เพื่อส่งเสริมหลายประเทศในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวอีกด้วย
ฮิตาชิ คือผู้ที่เชื่อมั่นในเทคโนโลยีอย่างหนักแน่น เมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้กับปัญหาทางสังคม เทคโนโลยีสามารถสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและยกระดับคุณภาพชีวิตสำหรับทุกคนในภูมิภาคได้ โดยฮิตาชิยังได้ร่วมมือกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สู่เส้นทางการลดคาร์บอน ช่วยบรรเทาปัญหาการเข้าถึงแหล่งน้ำ ปรับปรุงโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย และเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนอีกด้วย