Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเด็นด้านการเงินดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเจริญรุ่งเรืองเป็นแรงขับเคลื่อนสู่การเข้าถึงบริการทางการเงินและช่วยเหลือผู้คนในภูมิภาคได้มากขึ้น

    ข้ามไปสำรวจนวัตกรรมเพื่อสังคมของ Hitachi ด้านการเงินดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    สำรวจแนวโน้มการเงินดิจิทัลล่าสุด

    ดูความคืบหน้าการดำเนินงานของภูมิภาคอาเซียน

    บริการด้านการเงินดิจิทัลของ Hitachi

    เศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องจาก การมีส่วนร่วมทางดิจิทัลสูงสุด ของผู้ใช้ภายในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาที่ใช้บนสื่อออนไลน์ การใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือ และการใช้งานแอปพลิเคชันบนมือถือ

    ในแง่ของตัวเลข ขนาดของเศรษฐกิจดิจิทัลมีมูลค่าเกินกว่าจุดสำคัญที่ รายได้ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 หรือยอดขายสินค้าออนไลน์รวม (GMV) 130,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แนวโน้มการเติบโตในระยะยาวยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยมีเป้าหมาย

    การสร้างมูลค่า GMV ที่ 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573 ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มคาดการณ์ว่ามูลค่า GMV ของภูมิภาคนี้อาจสูงขึ้นถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

    รับชมเพื่อเรียนรู้แนวโน้มการเงินดิจิทัลล่าสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    การเติบโตของภูมิภาคถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยหลายประการ เช่น จำนวนประชากรวัยทำงานที่เพิ่มขึ้น ช่องทางในการเติบโตของรายได้ และศักยภาพการขยายตัวของเขตชุมชนเมืองที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่ นอกจากนี้ แนวโน้มนี้ยังอาจเป็นผลจากปัจจัยหลักสามประการ ได้แก่

    - ความเท่าเทียมทางดิจิทัล: มากกว่าร้อยละ 90 ของประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และคนส่วนใหญ่เข้าสู่บริการออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยมีอัตราการใช้สมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 90

    - โรคระบาดโควิด-19: โรคระบาดได้ส่งผลกระตุ้นให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาซื้อสินค้าและหรือบริการผ่านโทรศัพท์มือถือมากขึ้น

    - ระบบการชำระเงินดิจิทัล: บริการชำระเงินดิจิทัลกำลังเข้ามาแทนที่การใช้เงินสดในการทำธุรกรรมมากกว่าร้อยละ 50 และจะมีมูลค่าการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568

    ระบบการชำระเงินดิจิทัลเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในระบบนิเวศของบริการทางการเงินดิจิทัลทั้งหมด สำหรับบริการอื่น ๆ เช่น การให้สินเชื่อ การลงทุน และประกันภัย ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยมี ศักยภาพในการเติบโตมากกว่าร้อยละ 20 ต่อปี บริการทาง การเงินดิจิทัลสามารถช่วยเหลือผู้คน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่าร้อยละ 50 ที่กำลังประสบปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้ไม่มีบัญชีธนาคาร ซึ่งขณะนี้สามารถบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้ด้วยแนวคิด Digital Financial Inclusion ที่สามารถนิยามได้อย่างกว้าง ๆ ว่า เป็นการสร้างโอกาสให้ประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินและด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินดิจิทัลได้อย่างเป็นทางการ

    การเข้าถึงบริการทางการเงินแบบดิจิทัลมีศักยภาพในการขจัดความยากจน

    ตามข้อมูลของธนาคารโลก การเข้าถึงบริการทางการเงินดิจิทัลเป็นความจำเป็นต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะช่วยขจัดความยากจน ดังคำกล่าวของประธานกลุ่มธนาคารโลก: “การเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึงนั้นอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม ด้วยเทคโนโลยีใหม่ รูปแบบการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และการปฏิรูปที่ทะเยอทะยาน... ตั้งแต่ปี 2563 เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เช่น บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงบัตรเดบิต และบัญชีเงินฝากต้นทุนต่ำ ได้มีบทบาทอย่างมากในการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินสำหรับบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้”

    ปัจจุบันผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนมากสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่ต้องการได้อย่างสะดวกสบายผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคารก็สามารถขอสินเชื่อเงินกู้หรือซื้อประกันเพื่อคุ้มครองตนเองได้แล้ว สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ยากที่จะแสดงหลักฐานรายได้ที่มั่นคงซึ่งจำเป็นต่อการขอรับบริการทางการเงิน

    ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับรายย่อยหรือไมโครอินชัวรันส์ (Microinsurance) เพื่อคุ้มครองตนเองระหว่างทำงานได้ บุคคลกลุ่มนี้สามารถซื้อความคุ้มครองเมื่อมีรายได้ และหยุดชำระค่า เบี้ยประกันภัยสำหรับความคุ้มครองดังกล่าวเมื่อไม่ได้ทำงาน ซึ่งเป็นรูปแบบการซื้อความคุ้มครองที่ไม่สามารถทำได้ภายใต้สัญญาประกันภัยแบบเดิม

    ฮิตาชิกำลังช่วยยกระดับการเข้าถึงบริการทางการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    Hitachi มีความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีทางการเงินและเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะสามารถช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมของเราได้ นี่จึงเป็นพื้นฐานของความเชื่อมั่นที่ผลักดันให้ Hitachi ทำงานร่วมกับธนาคารและบริษัทประกันภัยเพื่อช่วยเหลือผู้คนที่มีความต้องการในการเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น

    โซลูชันการชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัลของ Hitachi อย่างบริการ ibSuiteTM มีบทบาทสำคัญในประเทศฟิลิปปินส์ โดยเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการของธนาคารต่าง ๆ จากบริการแบบดั้งเดิมไปเป็นบริการดิจิทัลได้ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของรัฐบาลที่ต้องการจัดให้มีการเข้าถึงบริการทางการเงินสำหรับประชากรชาวฟิลิปปินส์กลุ่มวัยทำงานถึงร้อยละ 70

    นอกจากนี้ Hitachi ยังมีความร่วมมือกับบริษัทประกันภัยที่มีชื่อเสียงเพื่อขยายฐานการดำเนินงานในภูมิภาคอีกด้วย บริการประกันภัยระบบดิจิทัลของ Hitachi ได้นำ เทคนิคในรูปแบบของเกมมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการประกันภัยและรูปแบบวิธีการที่การประกันภัยสามารถปรับปรุงชีวิตของผู้คนได้

    นอกจากนี้ Hitachi ยังให้ความช่วยเหลือด้านบริการสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจ/คู่ค้า รวมถึงบริการไมโครเซอร์วิสสำหรับธนาคารขนาดเล็กและขนาดกลางอีกด้วย Hitachi ได้มุ่งเน้นประสบการณ์ของผู้ใช้เป็นหลักสำคัญเมื่อนำเสนอเทคโนโลยีการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล

    อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับ AEON Credit ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อแก่บุคคลที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมมาเป็นเวลากว่า 28 ปี ด้วยเทคโนโลยีของ Hitachi ทำให้ AEON Credit อยู่ระหว่างการนำโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่แข็งแกร่งมาใช้งาน และจะเปิดตัวระบบการรักษาฐานลูกค้าเก่าหรือ Loyalty system ที่ได้รับการปรับปรุงซึ่งออกแบบมาเพื่อมอบรีวอร์ดที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

    Hitachi มีความเชื่อมั่นในบทบาทของเทคโนโลยีและเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีจะสามารถสร้างสังคมที่เปิดโอกาสการเข้าถึงที่เท่าเทียมซึ่งเต็มไปด้วยความเป็นไปได้สำหรับทุกคนในภูมิภาค

    นี่คือการใช้นวัตกรรมเพื่อสังคมที่แท้จริง

    วันที่เผยแพร่: เดือนมกราคม 2568