Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเด็นด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคตอันเร็วใกล้นี้ การเปลี่ยนแปลงมาใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนจะทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคนในภูมิภาค

    ข้ามไปสำรวจนวัตกรรมเพื่อสังคมของ Hitachi ด้านพลังงานสะอาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    สำรวจแนวโน้มพลังงานล่าสุด

    ความช่วยเหลือสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    เทคโนโลยี HVDC ของ Hitachi

    ด้วยการใช้พลังงานที่มากเป็นอันดับ 4 ของโลก ประเทศในภูมิภาคอาเซียนจึงมีความต้องการพลังงานอยู่ที่ 22% ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 16% ตั้งแต่ปี 2558 ความต้องการพลังงานจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการขยายตัวของเมืองในภูมิภาคอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเติบโตของประชากร

    นอกจากนั้น การเกิดขึ้นของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ยังกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันช่วงชิงการเป็นศูนย์กลางของข้อมูลในภูมิภาคอีกด้วย เมื่อปี 2566 พบว่ามีศูนย์ข้อมูลจำนวนกว่า 352 แห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมากกว่าศูนย์ข้อมูลในญี่ปุ่นหรืออินเดีย การใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์คิดเป็น 7% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วประเทศ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าศูนย์ข้อมูลทั่วโลกจะใช้พลังงานมากกว่า 1,000 เทราวัตต์ชั่วโมงในปี 2569 ซึ่งเทียบเท่ากับการใช้พลังงานทั้งหมดภายในหนึ่งปีของประเทศญี่ปุ่น

    โดยขณะนี้มีการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในภูมิภาคคิดเป็น 80% อย่างไรก็ดี ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงและอุทกภัยในปีที่ผ่านมาเพียงภูมิภาคเดียว

    รับชมเพื่อเรียนรู้แนวโน้มพลังงานล่าสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ภูมิภาคอาเซียนมุ่งมั่นสร้างอนาคตสีเขียวโดยให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนจากการเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 หรือ COP28

    มีการเรียกร้องสร้างความตระหนักเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและเปลี่ยนมาใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ รับทราบการเรียกร้องดังกล่าวและได้ประกาศคำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินการต่อไปไว้ในการประชุม COP28 หรือที่เรียกว่าการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2566

    ไฮไลท์บางส่วนของการประชุม COP28 มีดังนี้

    ประเทศอินโดนีเซียตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนเป็น 480 กิกะวัตต์ภายในปี 2603

    ประเทศเวียดนามต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าร้อยละ 47 ภายในปี 2573

    ประเทศไทยตั้งเป้าผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้ 15.6 กิกะวัตต์ ภายในปี 2578

    2030ประเทศมาเลเซียให้คำมั่นสัญญาว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 45 ภายในปี 2573

    - ประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนอย่างมหาศาล ตั้งเป้าที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนเป็น 480 กิกะวัตต์ภายในปี 2603

    - ประเทศมาเลเซียให้คำมั่นสัญญาว่าจะลดลงร้อยละ 45การปล่อยก๊า ภายในปี 2573 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593

    - ประเทศไทยไม่เพียงแต่มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 เท่านั้น แต่ยังตั้งเป้าที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้15.6 กิกะวัตต์ภายในปี 2578 อีกด้วย

    - ประเทศเวียดนามซึ่งเพิ่งก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศที่สนับสนุนพลังงานแสงอาทิตย์อย่างแข็งแกร่ง ต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตไฟฟ้า 47% ภายในปี 2573

    - แม้ว่าประเทศสิงคโปร์จะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่อุดมสมบูรณ์ได้ แต่ก็มีเป้าหมายที่จะใช้ประโยชน์จากโครงการ ASEAN Power Gridเพื่อนำเข้าพลังงานไฟฟ้า 4 กิกะวัตต์จากกัมพูชา อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้

    บทบาทของ Hitachi ในการสนับสนุนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดเส้นทางสู่พลังงานหมุนเวียน

    เพื่อสนับสนุนความพยายามที่ดำเนินการอยู่นี้ Hitachi Energy ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Hitachi Group ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินลงทุนจำนวนกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั่วโลกตั้งแต่ปี 2567 ถึงปี 2570 เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด การลงทุนนี้จะมุ่งเน้นไปที่ความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการผลิต วิศวกรรม ตลอดจนการวิจัยและพัฒนา

    นอกจากนี้ Hitachi Energy ยังทำงานร่วมกับรัฐบาลอินโดนีเซีย โดยลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงที่จะสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เมื่อปี 2566 การดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ Hitachi Energy ได้ร่วมสนับสนุนความต้องการพลังงานของบาหลีในระหว่างการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลก 20 ประเทศ หรือ G20 เมื่อปี 2565 Hitachi Energy ร่วมมือกับบริษัท PT Surya Energi Indotama ในการติดตั้งระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กหรือไมโครกริด (Microgrid) ในเกาะนูซาปนีดา เขตกลุงกุง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าภายในเกาะที่เพิ่มขึ้น 20%

    นอกจากนี้ Hitachi ยังสนับสนุนประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายเพื่อมุ่งสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนด้วย Hitachi ได้รับเลือกจากบริษัท Impact Solar Limited ให้ติดตั้งโซลูชันระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) e-meshTM PowerStoreTM และระบบควบคุมสำหรับไมโครกริดส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ที่สวนอุตสาหกรรมสหพัฒน์ในอำเภอศรีราชา ไมโครกริดจะจัดการความจุรวมของพลังงานหมุนเวียน 214 เมกะวัตต์

    Hitachi เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยี HVDC

    นอกจากนี้ Hitachi ยังให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศฟิลิปปินส์สำหรับความต้องการพลังงานหมุนเวียนอีกด้วย บนเกาะเลย์เตมีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพที่เชื่อมต่อกับพื้นที่หลักของเกาะลูซอนโดยใช้ระบบส่งกำลังไฟฟ้าแบบ HVDC ของ Hitachi ซึ่งป้อนไฟฟ้าที่ผลิตเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าในเขตกรุงมะนิลา

    “HVDC จะมีบทบาทสำคัญในฐานะตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับระบบพลังงานยุคใหม่ที่ปลอดคาร์บอน”

    – คุณแอนโธนี สมิธ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศของบริษัท Hitachi Energy ประเทศสิงคโปร์

    Hitachi เป็นผู้บุกเบิกระบบส่งกำลังไฟฟ้าแบบ HVDC ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการส่งพลังงานไฟฟ้าจำนวนมหาศาลระหว่างบริเวณระยะไกล ด้วยการผนวกใช้โครงการพลังงานหมุนเวียนที่มีมูลค่ามากกว่า 200 กิกะวัตต์เข้ากับระบบโครงข่ายไฟฟ้า ระบบส่งกำลังไฟฟ้าแบบ HVDC ของ Hitachi ยังเพิ่มผลด้านการรักษาเสถียรภาพประสิทธิให้กับเครือข่ายไฟฟ้ากระแสสลับ รวมถึงสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเหล่านั้นเข้ากับแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้อีกด้วย เทคโนโลยีนี้จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยสร้างระบบพลังงานที่ทันสมัยและมีความเป็นกลางทางคาร์บอน

    ชม/ฟังสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญของเราพูดถึงเกี่ยวกับแนวโน้มพลังงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      

    Hitachi มีความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีและวิธีการที่จะนำพลังงานที่ยั่งยืนมาสู่ทุกคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    นี่คือการใช้นวัตกรรมเพื่อสังคมที่แท้จริง

    วันที่วางจำหน่าย: เดือนมกราคม 2568