Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โซลูชั่นขอHitachiช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างไร?

    จัดการการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเพื่อทำให้คาร์บอนมีความเป็นกลาง

    นับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติได้มีการกำหนด เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในปี พ.ศ. 2558 ตลอดจน พิธีสารเกียวโต ปี พ.ศ. 2540สนธิสัญญาการลดการปล่อยคาร์บอนถือเป็นจุดโฟกัสหมายสำคัญในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นี่เป็นข้อเรียกร้องที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องตอบสนองอย่างจริงจังมากขึ้น โดยในส่วนของHitachiจะดำเนินการลดการปล่อยคาร์บอน100เปอร์เซ็นต์ ในกิจการทุกแห่งของเราให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573 เพื่อบรรลุเป้าหมายในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ที่ตั้งไว้

    Hitachiจะมุ่งมั่นทำให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในกิจการทุกแห่ง (ทั้งโรงงานและสำนักงาน) โดยจะลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้ 100เปอร์เซ็นต์ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2573 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ขององค์การสหประชาชาติ ที่กำหนดไว้ในปี พ.ศ. 2573i เช่นกัน ในขณะเดียวกัน เราจะยังคงสานต่อโครงการริเริ่มที่มี ในการกำจัดคาร์บอนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว อาทิเช่น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

    การใช้แหล่งทรัพยากรเชื้อเพลิงที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    ขั้นตอนแรกในการลดการปล่อยคาร์บอน คือลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่ให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    ด้วยการที่เป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดของการปล่อยคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุด ระบบการคมนาคมขนส่งจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงอย่างมีนัยสำคัญ Hitachiได้เข้าช่วยสนับสนุนการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำโครงการแบ่งปันยานพาหนะในการขนส่งมาใช้เพื่อลดชั่วโมงการทำงานและลดการใช้เชื้อเพลิงโดยรวมของผู้ประกอบการขนส่ง โครงการริเริ่มสร้างสรรค์นี้ได้สร้างให้เกิดข้อมูลด้านบริการที่สามารถเก็บรวบรวม ผสมผสาน และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เช่น สถานะการทำงานของยานพาหนะ และสถานะความพร้อมของสินค้า ผ่านจุดติดต่อ (touchpoints) เพื่อจัดส่งยานพาหนะที่เหมาะสมสำหรับการจัดส่งสินค้าในแต่ละรายการ

    ด้วยการแบ่งปันยานพาหนะนี้เอง ภาคการขนส่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ยานพาหนะเพื่อดำเนินการจัดส่งสินค้าที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ได้พร้อมกันในคราวเดียว การจัดสรรการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพนี้ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงส่วนเกินในหลายเส้นทาง ซึ่งสามารถบรรเทามลพิษทางอากาศในการจราจร และสามารถใช้เป็นขั้นตอนเชิงรุกในการลดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในระยะยาวได้

    การเพิ่มศักยภาพในด้านการจัดการทางด้านทรัพยากร:

    • ลดชั่วโมงการทำงานมลภาวะทางอากาศ และการใช้เชื้อเพลิงที่มากเกินควร
    • เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งในหลายเส้นทางในพื้นที่ที่ใกล้เคียงกัน
    • ช่วยประหยัดเวลาในการขนส่งมากขึ้น

    การเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์

    องค์ประกอบถัดไปของการลดการปล่อยคาร์บอนเกี่ยวข้องกับการใช้แหล่งพลังงานทดแทนและแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ได้กลายเป็นตัวเลือกอันดับแรก ของแหล่งพลังงานหมุนเวียนในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา Hitachiตอบรับความต้องการการใช้พลังงานหมุนเวียนที่กำลังเพิ่มมากขึ้น ด้วยการเป็นพันธมิตรกับ Santec และ Mitsubishi HC Capital (Thailand) ในการติดตั้งอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่ลูกค้าโดย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายใต้ข้อตกลงนี้ ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้ในราคาที่ต่ำลง

    ระบบที่มีความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อแผนพัฒนาพลังงานของประเทศไทยที่มีเป้าหมายที่จะนำพลังงานหมุนเวียนเข้ามาร่วมใช้ในอัตรา 34 เปอร์เซ็นต์ ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศในปี พ.ศ. 2580

    ประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์

    พลังงานทดแทนมีมูลค่าราคาที่ไม่สูง
    พลังงานมีประสิทธิภาพสูง
    สามารถช่วยในการลดการปล่อยคาร์บอน

    การสร้างนวัตกรรมประหยัดพลังงานให้กับโครงสร้างพื้นฐาน

    แม้ว่าแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์จะมีศักยภาพในการลดการปล่อยคาร์บอนอย่างมหาศาล แต่ในแต่ละประเทศ จะทำให้เกิดการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้อย่างยั่งยืนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนของตนอย่างยั่งยืนได้อย่างไร คำตอบอยู่ในโครงสร้างพื้นฐานนั่นเอง

    เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประเทศสิงคโปร์ ในการมีจำนวนอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ภายในปี พ.ศ.2573 หน่วยงานควบคุมอาคารและการก่อสร้างของประเทศสิงคโปร์ (Singapore’s Building & Construction Authority) ได้ร่วมมือกับ Hitachi Asiaในการพัฒนา Super Low Energy Building (SLEB) Smart Hub ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางด้านทรัพยากรแบบดิจิทัลสำหรับบริหารจัดการเทคโนโลยีระบบอัจฉริยะและประหยัดพลังงาน เพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานในพื้นที่ของเมืองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

    Hitachi Energy ยังมีบทบาทสำคัญในแผนการกำจัดคาร์บอนของประเทศสิงคโปร์ ผ่านความร่วมมือกับสถาบันวิจัยพลังงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานยาง (NTU) ในการพัฒนา โรงไฟฟ้าเสมือนจริง (VPP) แห่งแรกของประเทศ ในโครงการ VPP นี้ Hitachi Energyได้นำระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ e-meshTM PowerStoreTM (BESS) ที่ให้ความเสถียรของโครงข่ายโดยปรับสมดุลความผันผวนของพลังงานที่อาจเกิดขึ้นจากการหยุดชะงักของแสงอาทิตย์โดยอัตโนมัติผ่านซอฟท์แวร์การจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

    โครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานจะส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวในการจัดหาพลังงานที่ถือเป็นการสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงาน ในที่สุดก็จะเป็นการควบคุมการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดเส้นทางที่ยั่งยืนมากขึ้นในการก้าวไปสู่อนาคตที่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

    Hitachi สนับสนุนแผนการการลดการปล่อยคาร์บอนของประเทศสิงคโปร์

    • พัฒนาโรงไฟฟ้าเสมือนจริงแห่งแรก (VPP)
    • เพิ่มความเสถียรของโครงข่ายผ่านแหล่งจัดเก็บพลังงาน (BESS)

    การร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง

    Hitachiตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการแข่งขันที่จะก้าวไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2573 ด้วยความพยายามในการนำเสนอโซลูชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทั่วทั้งภูมิภาค เราทุกคนกำลังก้าวไปเป็นพันธมิตรระดับโลกในการกำจัดก๊าซเรือนกระจก จากบทบาทของเราในฐานะพันธมิตรหลักของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26)

    เราเผชิญกับความท้าทายอย่างปฏิเสธไม่ได้เมื่อนำโซลูชันต่างๆ ของเราไปใช้จริง ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายทางภูมิศาสตร์หรือความท้าทายด้านการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เรายังคงมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนอุปสรรคทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างทางจะยิ่งเพิ่มความมุ่งมั่นให้เราเดินหน้าต่อไปเพื่อพิชิตเป้าหมายในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคม ในความพยายามของเราที่จะนำโลกไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

    เพื่อเป็นพันธมิตรในเวทีระดับโลกเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและปราศจากคาร์บอนทั้งในปัจจุบันและตลอดไป

    iเมื่อเทียบกับระดับปีงบประมาณในปี พ.ศ. 2553

    เผยแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2565