ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้ต้องแลกมาด้วยต้นทุนที่สูง ซึ่งเลวร้ายมากพอที่จะคุกคามถึงประโยชน์ของสิ่งที่ยังคงเหลืออยู่ให้คนรุ่นหลังได้ใช้ หลังจากที่คนรุ่นปัจจุบันได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมได้ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ตลอดระยะเวลาแห่งการเติบโตเพิ่มขึ้น ภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับภาวะการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกซึ่งได้คุกคามอากาศที่ใช้หายใจและเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังโชติช่วงของประเทศสมาชิกในภูมิภาค จึงเป็นการเพิ่มความต้องการพลังงานที่ต้องใช้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
รัฐบาลในทุกภาคส่วน ได้พยายามเข้ามาจัดการความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมนี้ แต่อย่างไรก็ตามการจัดการปัญหานี้จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนที่มากขึ้นจากทุกฝ่ายที่อยู่ร่วมในระบบนิเวศ (อีโคซิสเต็ม) และส่วนนี้เองเป็นที่ที่องค์กรภาคเอกชน เช่น Hitachi จะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและความสามารถในการเข้าถึงทุกคน เพื่อสร้างสังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้พยายามเพิ่มจำนวนโครงการริเริ่มเกี่ยวกับการผลิตพลังงานในรูปแบบที่สะอาดมากขึ้นจากแหล่งทรัพยากรที่มีความยั่งยืนมากกว่า แต่กระบวนการก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า ในขณะที่ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ยังคงถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักอยู่ ด้วยความจำเป็นเร่งด่วนในการลดการปล่อยคาร์บอน ภูมิภาคนี้จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการใช้แหล่งพลังงานในปัจจุบันและสร้างแนวทางที่ชัดเจนในการหันไปพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนจากแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนกว่า
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตไฟฟ้าเพื่ออุตสาหกรรมหลายแห่ง โดยหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย ทว่า อุตสาหกรรมจำนวนมากของประเทศต้องใช้พลังงานฟอซซิลที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งมีอยู่อย่างแพร่หลายในภูมิภาคนี้ เพื่อเป็นพลังงานให้แก่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนหลายแห่ง
Hitachi เป็นพันธมิตรของการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน เรากำลังทำงานในส่วนของเราเพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนทางอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงการทำงานร่วมกับรัฐบาลในโครงการที่มุ่งเป้าไปที่การลดอัตราการปล่อยคาร์บอนให้น้อยลงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบการผลิตไฟฟ้า โดยการนำเทคโนโลยี Optimized Performance Enabling Network for Volt/Var(Q) (OPENVQ) มาใช้ ซึ่งโครงการนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการทำงานของระบบการผลิตไฟฟ้าที่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความสำเร็จของโครงการนี้จะช่วยลดต้นทุนการจัดซื้อเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนโดยการลดการสูญเสียพลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากการทำงานของระบบการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ ระบบ OPENVQ ซึ่งทำหน้าที่ปรับแรงดันไฟฟ้าในกริดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จะช่วยให้เกิดการจ่ายพลังงานที่เสถียรจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน โดยไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนมหาศาลในการปรับปรุงคุณภาพระบบส่งพลังงาน
ผลลัพธ์ดังกล่าวจะส่งผลต่อการขยายตัวของการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสอดรับกับการที่ประเทศไทยกำลังพยายามที่จะเพิ่มสัดส่วนของการนำแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนมาใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าให้มากขึ้น อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาวที่มุ่งแสวงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนมาใช้ให้มากขปัจจุบัน ปัจจุบัน ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่หลากหลาย มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากน้ำ แสงอาทิตย์ ชีวมวล และพลังงานลม ที่เพิ่มมากขึ้น
ความต้องการที่จะบรรลุความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืนถือเป็นความท้าทายสำหรับเศรษฐกิจเกิดใหม่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และของโลก แม้แต่กลุ่มตลาดที่พัฒนาแล้วก็ยังต้องมีความรับผิดชอบในการสรรค์สร้างนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของตน ไม่เพียงแต่เพื่อธำรงรักษาสังคมของตนเองเท่านั้น แต่ยังเพื่อการนำไปเป็นตัวอย่างให้สังคมอื่นได้เห็น ในช่วงที่โลกกำลังเผชิญวิกฤตที่สำคัญกับการต่อสู้กับการลดการปล่อยคาร์บอนที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น
ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศตัวอย่างที่ชัดเจน ที่ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ทำให้ประเทศมีความกล้าในการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้และการผลิตพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบัน ประเทศสิงคโปร์ยังคงพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล แต่ก็ได้ดำเนินการอย่างเข้มแข็งในการสนับสนุนการนำแหล่งพลังงานอื่น ๆ มาใช้ สิ่งนี้เห็นได้อย่างชัดเจนในแผนของประเทศที่จะมีการบูรณาการนำพลังงานหมุนเวียนและแหล่งพลังงานทางเลือกที่สะอาดที่กระจายอยู่ทั่วไป (DERs) เข้ามาทำงานร่วมกันในโครงข่ายไฟฟ้าในภูมิภาค
Hitachi Energy (เดิมชื่อ Hitachi ABB Power Grids) ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลของประเทศสิงคโปร์ และบุคลากรผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรม เช่น Sembcorp และนักวิชาการ เพื่อดำเนินการใช้โซลูชั่นนวัตกรรมในการกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ (BESS) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการ VPP แห่งแรกของประเทศ VPP จะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจาก DERs (ซึ่งรวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์และแหล่งพลังงานสีเขียวอื่น ๆ) สามารถบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างชาญฉลาด เป็นเสมือนระบบผลิตและจ่ายไฟฟ้าที่ปรับขยายได้ ด้วยซอฟต์แวร์การจัดการพลังงานขั้นสูงและการปรับแต่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โรงไฟฟ้าเสมือน VPP จะบริหารและจัดระเบียบวิธีการจ่ายพลังงานจากแหล่งที่มีเหล่านี้ให้กับพื้นที่ ทั่วประเทศ ตัวอย่างเช่น ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผันผวนอันเกิดจากความไม่ต่อเนื่องของแสงจากดวงอาทิตย์จะถูกปรับให้สมดุลโดยอัตโนมัติผ่าน VPP
ความท้าทายหลักในการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพคือการขยายการนำไปใช้ให้ทั่วถึงทั้งประเทศ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจึงจะประสบความสำเร็จ โครงการการตอบสนองด้านการใช้ไฟฟ้า โดยการทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างระบบสมาร์ทกริดที่สามารถขยายขีดความสามารถของระบบพลังงานหมุนเวียนผ่านการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของโรงจ่ายไฟฟ้า
การทำงานกับแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่หลากหลายเหล่านี้ ระบบปฏิบัติการจะเผชิญกับความยากลำบากในการปรับความต้องการพลังงานให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันของปัจจัย เช่น สภาพภูมิอากาศ ดังนั้น วิธีในการสร้างเสถียรภาพของระบบที่รักษาสมดุลของอุปสงค์และอุปทานของพลังงานจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เมื่อประเทศส่วนใหญ่ ไดพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีของHitachiที่มีมาอย่างยาวนาน ข้อมูลเชิงลึก และองค์ความรู้เรื่องโครงการการตอบสนองด้านการใช้ไฟฟ้าจากทั่วโลก Hitachiสามารถส่งมอบระบบจัดการแหล่งพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์ กลายเป็นโรงไฟฟ้าเสมือน (VPP)
การขับเคลื่อนสิ่งที่ดีให้กับสังคมเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดของHitachiนับตั้งแต่ก่อตั้งองค์กรขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ปัญหาสมัยใหม่ในปัจจุบันต้องการโซลูชั่นที่ทันสมัย และHitachiก็พร้อมที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้
นอกเหนือจากการช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามโครงการลดการปล่อยคาร์บอนของแต่ประเทศแล้ว Hitachiยังได้ปรับธุรกิจทั้งหมดของเราให้สอดคล้องกับการผลักดันสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน นี่เป็นความรับผิดชอบที่องค์กรของเราภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการรณรงค์แข่งขันสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Race to Zero) ขององค์การสหประชาชาติ และในบทบาทของเราในฐานะพันธมิตรหลักของ COP26ซึ่งเป็นการประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศของสหประชาชาติ
‘เราจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสังคมที่ยั่งยืนในการสร้างสรรค์ร่วมกันกับทุกภาคส่วน’ - วิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อมของHitachi
วันที่เผยแพร่: มกราคม พ.ศ. 2565