Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

"เมืองอัจฉริยะในอาเซียน: สร้างสิ่งที่ดีท่ามกลางช่วงเวลาที่ยากลำบาก "


 

 

 

    แม้ประเทศไทยจะเอาตัวรอดจากวิกฤตการณ์โรคโควิด -19 ได้ แต่ประเทศไทยก็ยังจำเป็นต้องหาช่องทางใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนการวางผังเมืองและการจัดการแนวใหม่ จากสภาพการณ์ที่พลเมืองมีความมั่งคั่งมากขึ้นควบคู่ไปกับการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความต้องการต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงต้องแสวงหนทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรของตนไปด้วยเช่นกัน

    จากข้อมูลของ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)คาดว่าอัตราการเป็นภาระในวัยสูงอายุของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 50% ภายในปี 2593 ในขณะที่สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปคาดว่าจะสูงถึง 22.8% ภายในปี 2585 ประเทศไทยยังต้องฝ่าฟันกับปัญหาของเมืองใหญ่ เช่น การจราจรแออัดและมลพิษทางอากาศ

    อย่างไรก็ตามความหวังในการแก้ปัญหายังคงมีอยู่ เมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาของเมืองและประชากรที่ลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ กำลังปรับตัวให้เป็นเมืองอัจฉริยะพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อบรรเทา ปัญหาเหล่านี้

    จากการที่ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่และก้าวหน้าที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยจึงเป็นยืนอยู่แถวหน้าในการเปลี่ยนแปลงไปสู่เมืองอัจฉริยะในภูมิภาค ดังจะเห็นได้จากข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ ที่มาสเตอร์การ์ดได้คัดเลือก 27 เมืองในประเทศไทยเข้าไปในโครงการ Mastercard’s City Possible ที่มีโครงข่ายทั่วโลก

     

     

     

    จากสถานการณ์วิกฤติโรคระบาดที่เกิดขึ้น พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 ว่ารัฐบาลจะผลักดันโครงการเมืองอัจฉริยะนำร่องจำนวนมาก โครงการเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

    โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นพื้นที่หนึ่งจากทั้งหมด 4 แห่ง ที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินโครงการนำร่องเมืองอัจฉริยะ โดย EEC เป็นองค์ประกอบหลักของแนวยุทธศาสตร์ “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแห่งชาติระยะยาว ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมรอบด้าน

    ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ “ไทยแลนด์ 4.0” ประเทศไทยวางเป้าหมายในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้ถึง 100 แห่งภายในปี 2565 ดังนั้นโครงการ EEC จึงเป็นก้าวแรกของแผนการที่ยิ่งใหญ่และทะเยอทะยานสูงในการเปลี่ยนเมืองต่าง ๆ ของประเทศไปสู่ยุคดิจิทัล อันจะนำมาซึ่งโอกาสมหาศาลทางธุรกิจและก่อให้เกิดพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สำคัญยิ่งให้กับพลเมือง

     

     

    ด้วยประสบการณ์ 110 ปีในเทคโนโลยีด้านการบริหารดำเนินงาน และประสบการณ์ 60 ปีในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ Hitachi มีโครงข่ายคู่ค้าทางธุรกิจที่กว้างขวางทั่วโลก ที่มุ่งเน้นการร่วมพัฒนาโซลูชั่นทางเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น Hitachi จึงสามารถสนับสนุนประเทศไทยในการขับเคลื่อนไปสู่เมืองอัจฉริยะได้อย่างดี

     

    แนวทางสำคัญประการหนึ่งที่ Hitachi ได้ดำเนินการคือการจัดตั้ง Lumada Center Southeast Asia ซึ่งเป็นศูนย์ IoT ที่ทันสมัย ซึ่งเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้ามาร่วมกันสร้างโซลูชั่นดิจิทัลที่เหมาะกับของตนเอง ศูนย์ Lumada Center มีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็น 1 ในเมืองอัจฉริยะ 3 แห่งในโครงการ EEC ศูนย์ Lumada Center มีบทบาทสำคัญในอีโค่ซิสเต็มเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย ด้วยการจัดหาโซลูชั่นดิจิทัลที่ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจต่างๆ นอกจากนี้ยังจะมีการเปิด ศูนย์ Lumada Center ส่วนต่อขยายเพิ่มเติมที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเริ่มเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2020 ทำให้ Hitachi มีช่องทางในการบริการโซลูชั่นดิจิทัลเฉพาะตัวให้แก่ที่คู่ค้าทางธุรกิจทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มมากขึ้น

    นอกเหนือจาก Lumada Center แล้ว Hitachi ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการเมืองอัจฉริยะของกรุงเทพมหานคร ด้วยความเชี่ยวชาญในการวางผังเมืองอัจฉริยะและโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ Hitachi ได้ร่วมพัฒนาการออกแบบและกำหนดคุณลักษณะทางเทคนิคของระบบตารางเซ็นเซอร์อัจฉริยะทั่วเมืองและแพลตฟอร์มเมืองอัจฉริยะ แพลตฟอร์มเมืองอัจฉริยะทำหน้าที่เป็น “สมองสั่งการ” ของเมืองอัจฉริยะ ในขณะระบบตารางเซ็นเซอร์อัจฉริยะทั่วเมืองจะทำงานเป็นเสมือนได้ว่าเป็น “ดวงตา” และ “หู” ให้กับสมอง

    เทคโนโลยีเป็นเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงระบบเมืองอัจฉริยะ เพื่อให้เมืองอัจฉริยะของประเทศไทยประสบความสำเร็จ การวางแผนการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ ที่ขับเคลื่อนโดยบริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลกเช่น Hitachi จึงเป็นจำเป็นที่ขาดเสียมิได้

    Hitachi มีส่วนร่วมในโครงการวิจัยการสร้างเมืองอัจฉริยะของกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการค้นหาวิธีที่จะนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่นำมาประกอบเข้าด้วยกันวิเคราะห์คาดการณ์ล่วงหน้าในปัจจัยท้าทายที่สำคัญๆ ของเมือง เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจราจร ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มการเก็บข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบ แสดงภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในอดีตและแบบเรียลไทม์ จากหลากหลายแหล่งที่มาทำให้คณะผู้บริหารของเมืองจะคาดการณ์ปัญหาที่เมืองจะต้องเผชิญทั้งในอนาคตอันใกล้และระยะยาวได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

    ท้ายที่สุด Hitachi กำลังพัฒนาชุดโซลูชั่นดิจิทัลที่สนับสนุนงานที่กว้างขึ้นและมีความเป็นไปได้ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ปรับใช้ในการบริหารเมืองอัจฉริยะตลอดจนการควบคุมบริหารจัดการ โซลูชั่นบางส่วนเหล่านี้รวมถึงโครงสร้างเสริมภายนอกที่ช่วยเพิ่มผลิตของเกษตรในเมือง หน่วยการผลิตวัสดุการพิมพ์ 3 มิติระดับย่อยที่ผลิตตามความต้องการโดยเฉพาะ และการให้บริการการบริหารจัดการอุปกรณ์ IoTผ่านระบบคลาวด์ ฯลฯ

    เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยขยายขอบเขตของเมืองอัจฉริยะและนวัตกรรมให้เหนือขึ้นไปจากโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นการยกระดับชีวิตของพลเมืองที่ทำงานและอาศัยอยู่ในเมืองอัจฉริยะเหล่านี้ยิ่งขึ้น

     

    ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่นดิจิทัลที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนสิ่งที่ดี Hitachi มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืนและมีผู้คนเป็นศูนย์กลางในประเทศไทยและที่อื่น ๆ

    เมืองอัจฉริยะเป็นหนทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองและยังเป็นเปิดเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ด้วยเป้าหมายในการจัดการกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ บริการดิจิทัลและเทคโนโลยีจะเป็นหลักประกันให้เมืองอัจฉริยะรอดพ้นจากวิกฤตและความท้าทายในอนาคต

    ด้วยการจัดการให้เมืองมีประสิทธิภาพและความยั่งยืนมากขึ้นผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุน IoT เมืองอัจฉริยะของประเทศไทยจึงมีความสามารถหลากหลายในการจัดการปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่การลดปัญหาการจราจร การเพิ่มความปลอดภัยของประชาชน ไปจนถึงยกระดับด้านสาธารณสุข
    ในขณะเดียวกัน เมืองอัจฉริยะก็สามารถทำให้ประเทศไทยรุกคืบไปสู่สู่เศรษฐกิจดิจิทัลแบบใหม่ ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ สำหรับสำหรับกิจการต่าง ๆ และผู้ประกอบการ

     

    จากการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางสังคมและโซลูชั่นการจัดการเมือง Hitachi คาดหวังที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยการรวมจุดแข็งในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการพัฒนาและวางแผนโครงสร้างพื้นฐานและการวางแผน Hitachi มีเป้าหมายที่จะพัฒนาโซลูชั่นสำหรับพัฒนาเมืองแบบบูรณาการที่ตอบสนองการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในมิติของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม

    การมาถึงของเศรษฐกิจดิจิทัลแบบใหม่จะก่อให้เกิดเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของเมืองอัจฉริยะทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในภูมิภาคอื่น ๆ ด้วยการใช้นวัตกรรมเพื่อสังคมและแนวทางที่เน้นผู้คนเป็นศูนย์กลางเมืองอัจฉริยะของไทยจะโดดเด่นในการแข่งขันอย่างแท้จริง ซึ่งจะต้องอาศัยนวัตกรรมเพื่อสังคมที่มุ่งเน้นการสร้างสิ่งที่ดี มากกว่าการสร้างเศรษฐกิจหรือเมืองเพียงเท่านั้น

    บทความโฆษณานี้ถูกเขียนขึ้นโดยความร่วมมือกับ Woo Jun Jie, PhD. ผู้ซึ่งเป็นภาคีสมาชิกของสถาบันนโยบายศึกษา คณะนโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัยลีกวนยูด้านนโยบายสาธารณะ

     

     

    วันที่เผยแพร่: มีนาคม 2564