การแข่งขันของธุรกิจรถไฟความเร็วสูงในต่างประเทศได้กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางบริษัทหลากสัญชาติต่างๆ ในปี 2005 ฮิตาชิกลายเป็นบริษัทญี่ปุ่นรายแรกที่ผลิตรถไฟให้สหราชอาณาจักร ถิ่นกำเนิดของระบบรางรถไฟ ในปี 2012 จากการเป็นที่จดจำด้วยสถิติที่บันทึกนี้ ฮิตาชิจึงได้เซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการกับ Intercity Express Programme (IEP) สัญญาการจัดหาขบวนรถไฟที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ระบบรางรถไฟในสหราชอาณาจักร*1 ฮิตาชิได้พัฒนารถไฟได้เสร็จสมบูรณ์และกำลังดำเนินขั้นตอนการทำงานเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว
ระบบรางรถไฟได้รับความสนใจอีกครั้งในฐานะสิ่งก่อสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับสังคม และมีการเริ่มโครงการระบบรางรถไฟโครงการใหม่ในระดับที่ใหญ่ขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก หนึ่งในเหตุผลหลักคือการขนส่งระบบรางนั้นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยเมื่อเทียบกับการเดินทางรูปแบบอื่นๆ ผู้คนยังคงค้นพบประโยชน์จากรถไฟโดยเฉพาะได้อีก นั่นคือการขนย้ายผู้คนและสินค้าได้เป็นจำนวนมาก ในสหราชอาณาจักร ถิ่นกำเนิดของระบบรางรถไฟ การก่อสร้างระบบรางรถไฟแยกกันครั้งแรกของประเทศสำหรับบริการรถไฟความเร็วสูงเริ่มต้นขึ้นในปี 1998 ข้อกำหนดสำหรับระบบนั้นประกอบด้วยการทำงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า ความปลอดภัยและความสะดวกสบาย สหราชอาณาจักรเลือกที่จะทำงานกับฮิตาชิ
ธุรกิจระบบรางรถไฟของฮิตาชิมีทั้งการผลิตขบวนรถไฟ, ให้บริการระบบการจัดการการทำงานของรางรถไฟหลายระบบและพลังงานไฟฟ้า รวมถึงให้บริการข้อมูล ในปี 2005 ฮิตาชิได้ทำสัญญาการผลิตขบวนรถไฟ Class 395 29 ขบวน ซึ่งมีตู้รถไฟทั้งหมด 174 ตู้ รถไฟความเร็วสูง Class 395 สามารถวิ่งบนรางที่มีทั้งสองรางได้ และรวมทั้งบนรางความเร็วสูงใหม่ ความยาว 109 กิโลเมตร ที่ชื่อว่า High Speed 1 ซึ่งจะเชื่อมต่อลอนดอนไปถึงช่องอุโมงค์
สำหรับฮิตาชิ โครงการนี้กลายเป็นโอกาสในการบุกเบิกสิ่งใหม่เพื่อใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงที่ได้ผ่านการคิดค้นพัฒนามาเป็นเวลาหลายปี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนี่เป็นการร่วมทุนครั้งแรกของผู้ผลิตรถไฟของญี่ปุ่นในสหราชอาณาจักร จึงมีความท้าทายหลายอย่างตั้งแต่การพัฒนา ไปจนถึงการส่งมอบ หนึ่งในความท้าทายที่ยากที่สุดนั่นคือมาตรฐานของยุโรปที่ใช้กันในสหราชอาณาจักรนั้นจะแตกต่างจากมาตรฐานที่ใช้กันในญี่ปุ่น ปัญหาหลักที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการทำอย่างไรให้มาตรฐานคุณภาพสูงที่ได้พัฒนากันมาแล้วในประเทศญี่ปุ่นสอดคล้องกันบนโครงสร้างพื้นฐานที่แตกต่างกันในสหราชอาณาจักร
รถไฟ Class 395 จะวิ่งบน High Speed 1 ซึ่งเป็นรางรถไฟความเร็วสูงแบบใหม่ที่สามารถเชื่อมต่อจากลอนดอนไปถึงช่องอุโมงค์ได้
ฮิตาชิทำการทดสอบเพื่อพิสูจน์และจำลองโดยใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาโครงสร้างการดูดซับแรงกระแทกสำหรับรถไฟ เทคโนโลยีและการออกแบบแบบใหม่สามารถสอดคล้องตามข้อกำหนดที่ต้องการทั้งหมดและมาตรฐานความปลอดภัย และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานการตรวจสอบจากหลายหน่วยงาน ฮิตาชิสามารถส่งมอบรถไฟ Class 395 ได้ก่อนกำหนดการ ดังนั้นรถไฟจึงสามารถเริ่มให้บริการล่วงหน้าประมาณครึ่งปีก่อนที่ Class 395 จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคมปี 2009 นี่คือความอัศจรรย์ครั้งใหญ่สำหรับวงการอุตสาหกรรมระบบรางรถไฟในสหราชอาณาจักร ที่ซึ่งมักจะมีการล่าช้าเกิดขึ้นในโครงการเช่นนี้เป็นปกติ นับจากนั้น ความเร็วและความสะดวกสบายของรถไฟ Class 395 ไม่เพียงแต่จะเพิ่มความสะดวกให้กับผู้โดยสารเท่านั้น แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการปรับรูปแบบการขนส่ง*3อีกด้วย รถไฟ Class 395 ช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมภายในเมืองไปพร้อมๆ กับ High Speed 1
รถไฟ Class 800/801 กำลังได้รับการผลิตในประเทศญี่ปุ่นที่ Kasado Works ในเมืองคุดะมะสึ จังหวัดยะมะงุชิ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบถอดออกได้มีเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้สำหรับการวิ่งบนเส้นทางในส่วนที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า
ตู้รถบรรจุผู้โดยสารได้มาตรฐานล่าสุดของยุโรปในเรื่องของความปลอดภัยจากการปะทะและอัคคีภัย (รูปต้นแบบ)
จากการเป็นที่จดจำจากผลงานรถไฟ Class 395 ฮิตาชิจึงได้เซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการกับ Intercity Express Programme (IEP) ในปี 2012 สัญญาจะครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟ (866 ตู้รถไฟ) และการซ่อมบำรุงที่เกี่ยวข้องเป็นเวลา 27.5 ปี รวมถึงคำสั่งเพิ่มเติมอื่นๆ IEP เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดในประวัติการรถไฟในสหราชอาณาจักร ซึ่งจะมาแทนที่รถไฟที่มีอายุเก่าแก่ที่วิ่งบนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสาย Great Western Main Line และสาย East Coast Main Line ซึ่งเป็นทางเชื่อมต่อลอนดอนกับเมืองใหญ่อื่นๆ
เพื่อตอบสนองกับคำสั่ง ฮิตาชิจึงเริ่มต้นการพัฒนารถไฟความเร็วสูง Class 800/801 สำหรับโครงการ IEP รถไฟ Class 800/801 ต้องสามารถวิ่งได้บนโครงสร้างพื้นฐานที่ผสมผสาน ซึ่งรวมถึงเส้นทางหลายสายที่ไม่มีส่วนที่มีไฟฟ้า และทำงานร่วมกับชานชาลาและสะพานเก่าๆ นอกจากนี้รถไฟ Class 800/801 ยังต้องเป็นไปตาม มาตรฐานกลุ่มระบบรางรถไฟ (RGS) และมาตรฐานล่าสุดของยุโรปอีกด้วย ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดเฉพาะทางเทคนิคสำหรับการทำงานร่วมกัน (TSI) ในขณะเดียวกัน รถไฟ Class 800/801 จะต้องสามารถปรับขนาดและยืดหยุ่นได้ตามจำนวนผู้โดยสารที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงในแต่ละวันและแผนการในอนาคตสำหรับการพัฒนาไฟฟ้า เพื่อให้สามารถทำงานได้บนส่วนที่ไม่มีไฟฟ้า ฮิตาชิจึงได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟที่สามารถถอดออกได้กับเครื่องยนต์ดีเซลข้างใต้พื้นของตู้รถไฟ อุปกรณ์ เช่น ที่นั่งและโต๊ะ ได้รับการออกแบบให้ผู้พิการสามารถใช้ได้ด้วย รถไฟ Class 800/801 สามารถเป็นไปตามมาตรฐานล่าสุดของยุโรปได้ในด้านความปลอดภัยจากการปะทะและยังเป็นไปตามข้อกำหนด RGS และ TSI อื่นๆ อีกด้วย การควบคุมรถไฟและระบบการจัดการของรถไฟ Class 800/801 ทำให้สามารถตรวจสอบสภาพรถไฟได้ตามเวลาจริงเพื่อปรับปรุงพัฒนาการบำรุงรักษารถไฟ
รถไฟ Class 800/801 ได้รับการพัฒนาตามแนวคิดรถไฟ "A-train" มีการใช้อะลูมิเนียมเพื่อสร้างโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบา รถไฟมีความโดดเด่นในเรื่องโครงสร้างภายในที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ฮิตาชิได้ทำการคิดค้นพัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้มีการทำงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีความปลอดภัยและความสะดวกสบาย นอกจากนี้ รถไฟ Class 800/801 ยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับรถไฟ Class 395 เพื่อให้มีความเหมาะสมกับระบบรางรถไฟในสหราชอาณาจักรมากขึ้นโดยยังคงคำนึงถึงความน่าเชื่อถืออีกด้วย
การขนส่งรถไฟ Class 800/801 จากKasado Works ไปยังสหราชอาณาจักรเริ่มต้นในเดือนมกราคมปี 2015
ในปี 2015 ฮิตาชิทำการผลิตขั้นสูงของรถไฟ Class 800 ได้สำเร็จและเริ่มต้นส่งออกจาก Kasado Works โรงงานผลิตจากบ้านเกิดในประเทศญี่ปุ่น หลังจากรถไฟมาถึงสหราชอาณาจักร บริษัทได้ทำการทดสอบการทำงานและเริ่มทำการอบรมเจ้าหน้าที่ในเดือนเมษายน ปี 2015 ฮิตาชิวางแผนในการผลิตรถไฟที่เหลืออยู่ใน Kasado Works ในญี่ปุ่น และจะทำการผลิตขบวนรถไฟใหม่ของฮิตาชิในโรงงานผลิตใน Newton Aycliffe ในเขตปกครองเดอรัมในสหราชอาณาจักร โดยมีวันกำหนดการเปิดทำการแรกสำหรับ IEP ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2017 ฮิตาชยังคงได้รับมอบหมายให้ดำเนินการให้บริการรถไฟคุณภาพสูงไม่เพียงแต่เฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ ทั่วโลกอีกด้วย
วันเปิดตัว: มิถุนายน 2017
โซลูชั่นโดย: Hitachi, Ltd. กลุ่มธุรกิจระบบรางรถไฟ