สร้างวันพรุ่งนี้ร่วมกัน:
– พันธมิตรด้านนวัตกรรม –
พันธมิตรเครือข่าย IoT ระหว่างประเทศไทยกับฮิตาชิจะช่วยให้ประเทศสามารถเข้าถึงวิสัยทัศน์ของการเป็นประเทศอัจฉริยะได้อย่างไร
การปฏิรูปเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใดก็ตาม ทุกวันนี้ในเอเชีย มีหลายประเทศที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่น่าหวั่นเกรง นั่นคือ การเอาชนะกับดักรายได้ปานกลาง ทั้งนี้ความเหลื่อมล้ำของรายได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วทั้งภูมิภาค และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน แม้แต่หนึ่งในประเทศสมาชิกของ ASEAN (Association of Southeast Asian Nations) ที่มีการพัฒนาและ “เติบโตเต็มที่” มากที่สุด เช่น ประเทศไทย ก็ยังต้องเผชิญกับความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว
ประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาหลายทศวรรษเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายการพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมทีดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นชัดเจน แต่ก็ต้องพยายามอย่างหนักเพื่อให้ “สำเร็จ” ในการก้าวเข้าสู่ระดับเศรษฐกิจขั้นสูง เนื่องด้วยหลายสาเหตุที่รวมถึงการขาดแคลนทรัพยากรและทักษะ อย่างไรก็ตามช่องว่างดังกล่าวก็ค่อยๆสั้นลง และเส้นชัยก็ดูจะอยู่อีกไม่ไกล
ด้วยเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรมทางสังคม วิธีแก้ไขปัญหาจึงอยู่แค่เอื้อม แม้ว่าความเหลื่อมล้ำของรายได้จะยังไม่สามารถแก้ไขได้ก็ตาม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นๆ ว่าจะเผชิญกับความท้าทายโดยการใช้งานการปฏิวัติระบบดิจิทัลให้ได้ผลอย่างดีที่สุด รวมถึงการเติบโตของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) หรือ IoT เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญๆที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขา และสนับสนุนสิ่งที่เรียกว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่”
เส้นทางสู่ประเทศไทย 4.0
รัฐบาลไทยทำงานอย่างหนักเพื่อให้เข้าใจถึงวิสัยทัศน์ของประเทศไทย 4.0 ของพวกเขา แล้วประเทศไทย 4.0 คืออะไรกันแน่? และแบบจำลองเศรษฐกิจก่อนหน้านี้คืออะไร?
-
ประเทศไทย 1.0
ก่อนปีทศวรรษที่ 1960 จะมีการเน้นไปที่เกษตรกรรม ในระหว่างขั้นตอนนี้ ชาวไทยส่วนใหญ่ใช้ชีวิตจากการเกษตรเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลูกข้าวและพืช รวมถึงการเลี้ยงหมู, เป็ด และไก่
-
ประเทศไทย 2.0
แบบจำลองเศรษฐกิจลำดับที่สองของประเทศ มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมเบา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในทศวรรษที่ 1960 นี้จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจของประเทศไทยจากสถานะรายได้ต่ำไปสู่สถานะรายได้ปานกลาง ในช่วงระยะนี้ คนไทยเริ่มใช้งาเครื่องมือในกิจกรรมด้านเศรษฐกิจของพวกเขา และเริ่มมีการผลิตเสื้อผ้า, กระเป๋า, เครื่องดื่ม, เครื่องเขียน, เครื่องประดับ เป็นต้น
-
Tประเทศไทย 3.0
ในทศวรรษที่ 1980 รัฐบาลไทยได้ขยายอุตสาหกรรมหนักเพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยเริ่มผลิตและส่งออกเหล็ก, รถยนต์, ก๊าซธรรมชาติ และอื่นๆ อย่างไรก็ตาม อุตสากรรมดังกล่าวยังคงอาศัยเทคโนโลยีจากต่างประเทศในการขับเคลื่อนผลักดันการส่งออก ภายหลังจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งมาหลายปี เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว ในขณะนี้ประเทศไทยจึงติดกับดักรายได้ปานกลาง และเผชิญกับความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาที่ไม่สมดุล
-
ประเทศไทย 4.0
ประเทศไทย 4.0 เป็นแบบจำลองเศรษฐกิจที่มุ่งเป้าหมายไปที่การปลดล็อคประเทศจากความท้าทายทางเศรษฐกิจ วิสัยทัศน์สำหรับอนาคตนี้จะมุ่งเน้นไปที่ “เศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า” โดยมีสามเป้าหมายหลัก ได้แก่
- การเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่ประเทศรายได้สูง
- การเป็นสังคมสำหรับทุกคน (Inclusive Society)
- มุ่งเน้นการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ประเทศไทย 4.0: เครื่องจักรใหม่สำหรับการเจริญเติบโต
เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม, เทคโนโลยี และความสร้างสรรค์ ในปี 2016 รัฐบาลไทยจึงผลักดันแผนการใหญ่ นั่นคือ ประเทศไทย 4.0 โดยจะนำประเทศให้คิดทบทวนเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนา โดยการรักษาเป้าหมายของความมั่นคง, มั่งคั่ง และยั่งยืนไว้เสมอ ซึ่งจะนำไปสู่กับปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งหมด, เชื่อมโยงผูกพันสังคมเข้าด้วยกัน และก้าวต่อไปข้างหน้าโดยไม่ละทิ้งใครไว้เบื้องหลัง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเอาชนะปัญหาของกับดักรายได้ปานกลาง
ออกแบบอนาคตอัจฉริยะ
วิธีการที่รัฐบาลไทยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ประเทศไทย 4.0
กระบวนการส่งออกอัจฉริยะ
หนึ่งในวิธีการในการบรรลุเป้าหมายนี้ คือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) …
หนึ่งในวิธีการในการบรรลุเป้าหมายนี้ คือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันในเศรษฐกิจการส่งออกของประเทศไทย ซึ่งสามารถพบเห็นได้จากการใช้งานวิธีแก้ปัญหาอย่างอัจฉริยะในกระบวนการส่งออกสำหรับสินค้าการเกษตร เช่น ระบบป้ายอิเล็กทรอนิกส์ RFID (Radio-Frequency Identification), บาร์โค้ด และเทคโนโลยีเซ็นเซอร์อื่นๆ ที่ถูกใช้ในการระบุตลาดที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นสำหรับสินค้าเหล่านั้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างความโปร่งใสให้ดียิ่งขึ้นสำหรับผู้ส่งออกโดยการให้ข้อมูลที่สำคัญ เช่น แหล่งที่มา และต้นกำเนิดของสินค้าและความสดใหม่ของสินค้า เป็นต้น
ปิดหน้าต่าง
เกษตรอัจฉริยะ
ความคิดริเริ่มอื่นๆ ที่รวมถึงการจัดตั้งรูปแบบ “ฟาร์มสัตว์อัจฉริยะ” ที่มีการใช้งานเทคโนโลยี…
ความคิดริเริ่มอื่นๆ ที่รวมถึงการจัดตั้งรูปแบบ “ฟาร์มสัตว์อัจฉริยะ” ที่มีการใช้งานเทคโนโลยีในการควบคุมดูแลสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงสัตว์และการเลี้ยงปลา เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และ “การเกษตรอัจฉริยะ” ที่ใช้ IoT ในการควบคุมสภาพเงื่อนไขในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ทั้งสองโครงการล้วนสอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลที่มุ่งเน้นในการใช้งานเทคโนโลยีในหลายภาคส่วนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ปิดหน้าต่าง
“New S-Curve”
แผนของรัฐบาลยังให้ความสำคัญในการส่งเสริมนวัตกรรมใน 10 อุตสาหกรรมหลัก…
แผนของรัฐบาลยังให้ความสำคัญในการส่งเสริมนวัตกรรมใน 10 อุตสาหกรรมหลัก ซึ่งมีตั้งแต่กลุ่มสาขาที่เป็นความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย ที่รู้จักกันว่าเป็น ‘First S-Curve’ และสนับสนุนห้าอุตสาหกรรมใหม่ที่เรียกว่า ‘New S-Curve’ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จ ทั้งนี้กลุ่มอุตสาหกรรม First S-Curve ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์, อิเล็กทรอนิกส์, การท่องเที่ยวด้านการแพทย์และสุขภาพแบบมั่งคั่ง, การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์, การบินและอวกาศ, การแพทย์และสุขภาพ, ดิจิทัล และเศรษฐกิจชีวภาพ
ปิดหน้าต่าง
การขยายตัวของระเบียงแห่งโอกาส
ประเทศไทย 4.0 เป็นส่วนหนึ่งของการพยายามร่วมกันอย่างกว้างขวางเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) และเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ในขณะที่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่จะอยู่ในระหว่างการดำเนินการเกี่ยวกับเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง รวมถึงการยกระดับพัฒนาถนนและสนามบิน จุดมุ่งหมายสำคัญก็คือ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ซึ่งแสดงถึงความพยายามที่สำคัญของรัฐบาลไทยในการสร้างประเทศไทยให้เป็น “ศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ของเอเชีย” ทั้งนี้ EEC จะครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และระยอง ซึ่งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย และจะเป็นศูนย์กลางสำคัญสำหรับการค้าขาย, การลงทุน, การคมนาคมขนส่งในภูมิภาค โดยจะทำหน้าที่เป็นประตูการค้าสำคัญสำหรับเอเชีย ในเดือนกันยายน ปี
2017 คุณอุตตมะ สาวนายน รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ต้อนรับตัวแทนจากบริษัทญี่ปุ่น 600 แห่ง ที่เดินทางมาพูดคุยเกี่ยวกับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรมภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 และการจัดตั้งของ EEC ฮิตาชิก็เป็นหนึ่งในผู้รับเชิญ และโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีก็ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงาน EEC ในการใช้ผลลัพธ์ด้านนวัตกรรมทางสังคม ซึ่งรวมถึง IoT ในเขตเศรษฐกิจใหม่ การเป็นหุ้นส่วนที่ได้รับสิทธิพิเศษนี้นับว่าไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ เนื่องด้วยฮิตาชิมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในการพัฒนาตลาดของ ASEAN โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้
ฮิตาชิได้คอยช่วยเหลือในการสร้างสภาพแวดล้อมแห่งนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาในประเทศไทย, การเปิดตัวความสามารถทางธุรกิจในสาขาต่างๆ รวมถึงทางรถไฟ, ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และระบบสารสนเทศและโทรคมนาคม ด้วยการดำเนินการของธุรกิจด้านนวัตกรรมทางสังคมของฮิตาชิ ซึ่งเป็นการผสมผสานรวมตัวกันของเทคโนโลยีการปฏิบัติงาน (Operation Technologies: OT) ที่นับว่าเป็นความแข็งแกร่งของบริษัทนับตั้งแต่ก่อตั้งมาพร้อมกับความเชี่ยวชาญชำนาญด้าน IT ที่สั่งสมประสบการณ์มานานกว่าครึ่งศตวรรษ บริษัทจึงมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนอย่างต่อเนื่องให้กับการพัฒนาประเทศไทย และภูมิภาค ASEAN ทั้งหมดด้วยการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยี IoT ไปกับ EEC
ร่วมสร้างแนวคิดที่ใช้งานได้:
แนวทางแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมทางสังคมของฮิตาชิ
ช่วยนำพาชีวิตสู่ความเป็นไปได้และโอกาสใหม่ๆ
หนึ่งในเงื่อนไขที่จำเป็นในการสร้างสังคมและเมืองที่ยั่งยืน ที่ซึ่งผู้คนสามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบายและรุ่งเรือง ก็คือการบรรลุในความก้าวหน้าในการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการวางแผนเมืองที่เหมาะสม
ฮิตาชิให้ความสำคัญกับความท้าทายนี้อย่างจริงจัง ด้วยการเสริมสร้างความพยายามในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านทางผลิตภัณฑ์และการบริการ ที่มีการคิดคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ในบรรดาโครงการอื่นๆ ฮิตาชิกำลังทำงานร่วมกับ Sunway Group ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของมาเลเซีย ที่มีความสนใจหลักในด้านอสังหาริมทรัพย์, การก่อสร้าง, การศึกษา และการดูแลรักษาสุขภาพ เพื่อดำเนินการใช้งานระบบประหยัดพลังงานสำหรับมหาวิทยาลัย, วิทยาลัย, โรงแรม, โรงพยาบาล, ศูนย์การค้า และสถานที่อำนวยความสะดวกอื่นๆที่ทางกลุ่มบริษัทแห่งนี้เป็นเจ้าของ ด้วยความร่วมมือนี้ ฮิตาชิจึงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการพัฒนาเมืองในมาเลเซีย เช่นเดียวกับที่อื่นๆในภูมิภาคนี้ ทำให้ฮิตาชิเป็นผู้นำในการให้บริการด้านวิธีแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรมทางสังคมที่เชื่อถือใน ASEAN
เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ และระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ล้วนแต่ช่วยให้เราได้ปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตและการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลาไม่นานมานี้ เราได้พบว่าทั่วทุกอุตสาหกรรมมีความตระหนักที่เพิ่มมากขึ้น ถึงการใช้งาน IoT ในการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และจากการวิเคราะห์ในข้อมูลดังกล่าว บริษัทจะได้รับทราบถึงข้อมูลเชิงลึกในกระบวนการต่างๆ เช่น การจัดการคลังสินค้า และการควบคุมคุณภาพ เป็นต้น ซึ่งพวกเขาสามารถใช้ข้อมูลความรู้นั้นในการช่วยลดต้นทุน, เพิ่มประสิทธิภาพ, เอาชนะความท้าทาย และคว้าโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
เพื่อช่วยผู้นำที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในสามารถค้นหาและใช้งานข้อมูลของพวกเขาได้อย่างมากคุณค่า ฮิตาชิจึงรวมธุรกิจสามอย่าง ได้แก่ Hitachi Data Systems, Hitachi Insight Group และ Pentaho มาสร้างเป็น Hitachi Vantara ด้วยการรวมความเชี่ยวชาญชำนาญนี้ บริษัทใหม่จึงมีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือลูกค้าในการรับข้อมูลเชิงลึก, การคาดการณ์ และคำแนะนำจากข้อมูลของพวกเขาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะสามารถปรับใช้ได้อย่างง่ายได้ในการรองรับสภาพแวดล้อมขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ผลลัพธ์จากการรวมตัวนี้ ก็คือ Lumada ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม IoT ที่มีความฉลาดและยืดหยุ่นสูง ที่ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถทันสมัยระดับสูงในการแปลงข้อมูลให้กลายเป็นการดำเนินการอย่างชาญฉลาด โรงงาน IoT ที่ทันสมัยซึ่งเป็นที่ตั้งของแพล็ตฟอร์ม Lumada กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างในประเทศไทย และมีแนวโน้มที่จะแล้วเสร็จ และเริ่มดำเนินการได้ในปี 2018
“ด้วย Lumada, ฮิตาชิและรัฐบาลไทยจะสามารถส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยี IoT ระดับสูงในประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาแบบดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในประเทศไทย และภูมิภาค ASEAN”
คุณโคจิ โทมิตะ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย จำกัด
ด้วยฮิตาชิ อนาคตสร้างสรรค์ร่วมกันได้