Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

 

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในยุควิถีชีวิตใหม่สำหรับอาเซียน

 

 

 

 

 

    การเรียกร้องให้มีจริยธรรมและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมในการใช้เทคโนโลยีไม่เคยถูกพูดถึงชัดเจนเท่าในปี 2563 มาก่อน

    แม้ว่าโรคระบาดใหญ่ที่เกิดขึ้นได้สร้างผลกระทบให้กับผู้คนทั่วทุกมุมโลก แต่มีกลุ่มคนบางกลุ่มกลับได้รับผลกระทบมากกว่าคนอื่น

    Hitachi ได้พยายามตอบสนองความต้องการของสังคมอย่างเร่งด่วนผ่านนวัตกรรมเพื่อสังคมมาโดยตลอด นั่นเพราะเรามีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำธุรกิจด้านนวัตกรรมเพื่อสังคม หน้าที่ของเราคือสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมที่ดีขึ้นผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เราคิดค้นขึ้นมา แนวคิดนี้ผลักดันให้เราขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในหลายภาคส่วนทั่วทั้งอาเซียน โดยดำเนินการร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย เพื่อช่วยกันสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีให้กับสังคม

    ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจของเรา และยิ่งไปกว่านั้นยังส่งผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อชีวิตผู้คนนับล้าน ซึ่งประโยชน์ที่เกิดขึ้นได้ช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วย

    Cashless Payments for Vulnerable Groups

     

    การชำระเงินแบบไร้เงินสดสำหรับประชากรกลุ่มอ่อนด้อยและเปราะบาง

    ที่ทำการไปรษณีย์ของรัฐ

    div

     

    ในช่วงการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 การชำระเงินแบบไร้เงินสดได้กลายเป็น รูปแบบการชำระเงินที่สำคัญ สำหรับประชาชนโดยทั่วไป ทั้งนี้ในช่วงเวลาการปิดประเทศหรือการเพิ่มมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมการใช้ระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-payment) ช่วยให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไปสามารถดำเนินธุรกรรมต่อไปได้

    ระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยลดความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกรรมในลักษณะที่ต้องติดต่อสัมผัสหรือพบเจอกัน ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้


    Hitachi ได้ร่วมมือกับธนาคาร Sumitomo Mitsui Banking Corporation (SMBC) ในการคิดค้นรูปแบบการชำระเงินแบบไร้เงินสด


    สามารถช่วยให้ประชากรเวียดนาม
    2.5ล้าน คน iii
    ที่อาศัยอยู่ใน 63 จังหวัดทั่วประเทศ ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น


    รูปแบบการชำระเงินดังกล่าวช่วยให้ประชากรเวียดนามได้รับเงินบำนาญและเงินสวัสดิการผ่านระบบดิจิทัล

    Hitachi ร่วมมือกับสำนักงานไปรษณีย์เวียดนามในการ ใช้วิธีชำระเงินแบบไร้เงินสดทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับประชากรเวียดนามที่ได้รับเงินบำนาญและเงินประกันสังคม อนึ่งด้วยประชากรเวียดนามเพียง หนึ่งในสามที่มีบัญชีธนาคาร i และด้วยการบริการของธนาคารที่ยังคงพัฒนาไปไม่ทั่วถึงในพื้นที่ชนบท ทำให้ประชากรจำนวนมากที่อาศัยในพื้นที่ห่างไกลต้องเดินทางจากบ้านมาที่ธนาคารเพื่อรับเงินเหล่านั้น

    จากปัญหาที่เกิดขึ้น Hitachi ได้ร่วมมือกับธนาคาร Sumitomo Mitsui Banking Corporation (SMBC) ในการพัฒนารูปแบบการชำระเงินแบบไร้เงินสดและจะนำรูปแบบดังกล่าวไปให้บริการกับประชากรทั่วประเทศii โดยสามารถช่วยให้ประชากรเวียดนามกว่า 2.5 ล้านคนใน 63 จังหวัด iii สามารถเข้าถึงบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่นี้ ซึ่งช่วยให้ผู้สูงอายุและผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทหรือบนภูเขาสูง สามารถรับเงินบำนาญและเงินสวัสดิการผ่านรูปแบบดังกล่าวโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางและเสี่ยงกับการรับเชื้อไวรัสโดยไม่จำเป็น

     

    เตรียมพร้อมอาเซียนสู่โลกดิจิทัล

    ประเทศพม่ากับความพร้อมในการเร่งพัฒนาด้านพลังงานไฟฟ้า

     

    การเกิดโรคระบาดในครั้งนี้ได้กลายมาเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลแห่งอนาคต โดยหลายประเทศมีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนการให้บริการเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันในโลกธุรกิจได้

    จากงานวิจัยของ McKinsey พบว่าปัจจุบัน กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ได้เร่งให้เกิดการใช้ระบบดิจิทัลให้มากที่สุดภายใน 3 - 4 ปีนี้ โดยเน้นเพื่อการใช้งานภายในองค์กรและสร้างความสัมพันธ์ภายนอกองค์กรกับบริษัทคู่ค้ารวมถึงลูกค้าด้วย
    นอกจากนี้ ส่วนแบ่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่แสดงอยู่ในรายงานสรุปผลงานของพวกเขาก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียงแค่ 7 ปี


    Hitachi กำลังให้การสนับสนุนประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อเพิ่มอัตราการผลิตพลังงานไฟฟ้า


    จัดส่งหม้อแปลงที่ใช้ในระบบจำหน่ายไฟฟ้า
    ประมาณ 5,600 เครื่อง


    Hitachi ตั้งเป้าหมายที่จะช่วยให้ทุกพื้นที่ของประเทศพม่าได้มีไฟฟ้าใช้ผ่านโครงการดังกล่าว

    นอกเหนือจากบริการผ่านระบบดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนแล้ว สิ่งจำเป็นต่อการให้บริการดังกล่าวคือพลังงานไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มประเทศอาเซียนยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าได้ และพื้นที่เหล่านั้นอาจถูกละเลยจากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล

    ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 Hitachi ได้มีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศในกลุ่มอาเซียน ตัวอย่างเช่น Hitachi ได้ดำเนินงานร่วมกับรัฐบาลพม่าในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้กับประชากรทุกครัวเรือนผ่านระบบโครงข่ายการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้ได้ทั่วประเทศภายในปี 2573 นอกเหนือจากนั้นเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา Hitachi ได้ส่งมอบหม้อแปลงที่ใช้ในระบบจำหน่ายไฟฟ้า ประมาณ 5,600 เครื่อง เพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหม้อแปลงเหล่านี้ได้มีส่วนช่วยนำส่งกระแสไฟฟ้าสู่ พื้นที่ชนบทของประเทศพม่า เพื่อให้แน่ใจว่าประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงโลกดิจิทัลหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หมดไป

     

    การบริหารจัดการระยะไกลระหว่างการปิดประเทศ

    ระบบบริการสำหรับโรงงานอัจฉริยะ

     

    จากการศึกษา ของ Cushman & Wakefield ในปี 2563 ที่อ้างอิงมาจากหนังสือพิมพ์ Business Times พบว่าอุตสาหกรรมการผลิตในอาเซียนมีศักยภาพสูง โดยจะเติบโตอย่างมากหากสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตโรคระบาดใหญ่ครั้งนี้ได้ และจะกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคนี้

    อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตในท้องถิ่นกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตในภาพรวมต้องหยุดชะงักอันมีสาเหตุมาจากมาตรการการเว้นระยะห่างเพื่อความปลอดภัยที่มาแซกแทรงระบบห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก


    Hitachi จึงได้นำเสนอการบริหารจัดการโรงงานจากระยะไกล


    ระบบเซ็นเซอร์ที่ถูกติดตั้งภายในโรงงานจะทำหน้าที่รวบรวมและบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการผลิตในทันที


    สามารถแบ่งปันข้อมูลระบบโครงสร้างพื้นฐานของโรงงานให้กับโรงงานอื่นๆ ได้

    ด้วยนวัตกรรม 'ระบบบริการสำหรับโรงงานอัจฉริยะ' ของเรา, Hitachi จะสามารถช่วยเหลือการบริหารจัดการโรงงานจากระยะไกลสำหรับผู้ผลิตในอาเซียนได้อีกทั้งเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้จัดการและช่างเทคนิคของโรงงานที่สามารถบริหารจัดการโรงงานในต่างพื้นที่ผ่านระบบบริการนี้ ทำให้พวกเขาสามารถทำงานได้แม้จะมีมาตรการห้ามเดินทางระหว่างประเทศหรือมาตรการความปลอดภัยด้านสุขภาพที่เข้มงวด ทั้งหมดนี้เกิดจากระบบเซ็นเซอร์ที่ถูกติดตั้งภายในบริเวณส่วนปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่รวบรวมและแบ่งปันข้อมูลที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการผลิต

    นอกจากนี้ระบบบริการดังกล่าวยังช่วยให้ผู้ผลิต สามารถแบ่งปันข้อมูลระบบโครงสร้างพื้นฐานของโรงงานให้กับโรงงานอื่นได้ สิ่งนี้จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มกระบวนการผลิตให้มีขนาดใหญ่ขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นนี้ แนวทางข้างต้นจะช่วยให้พนักงานระดับปฏิบัติการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    Hitachi กำลังคิดค้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่จะนำความเชี่ยวชาญของเราทางด้าน Operational Technology และ Information Technology มาช่วยแก้ปัญหาให้กับสังคมและสร้างผลลัพธ์อย่างยั่งยืนต่อชีวิตของผู้คน อย่างไรก็ดีในยุคแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วนั้น เราจำเป็นต้องระลึกเสมอถึงความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสิ่งที่ดีอันนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดให้กับทุกคน

     

     

    i ข้อมูลของปี 2560
    ii ยกเว้นนครโฮจิมินห์ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562
    iii ข้อมูลจากระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ของเดือนกรกฎาคม 2564

     

    วันที่เผยแพร่: กรกฎาคม 2564