Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

 


    การทำงานในภูมิภาคอาเซียนภายใต้รูปแบบวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)

    สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ได้เปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของมนุษย์เราให้ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป องค์กรทั่วโลกเตรียมปรับตัวเข้าสู่ยุคอนาคต
    ทั้งในด้านวิธีการทำงานและพนักงานของตนเองด้วยการเร่งนำรูปแบบ
    การทำงานสมัยใหม่เข้ามาใช้ โดยไม่เพียงมุ่งหวังแต่จะก้าวข้ามวิกฤตในปัจจุบันเท่านั้นแต่ยังเพื่อการรองรับการใช้ชีวิตแบบวิถีชีวิตใหม่ (new normal) อีกด้วย

    การเปลี่ยนแปลงสู่รูปแบบดิจิทัล

    การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่รูปแบบการทำงาน
    แบบดิจิทัลในที่ทำงานนั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า
    สายพันธุ์ใหม่ได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    อย่างเร็วขึ้น และปัจจุบันหลายองค์กรในภูมิภาคได้
    นำการทำงานรูปแบบดิจิทัลมาเชื่อมต่อใน
    ที่ทำงานเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง

    แนวโน้มของภูมิภาคเอเชีย

    40%

    ของธุรกิจในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    ประสบความสำเร็จมากขึ้นจากการปรับรูปแบบ
    การทำงานเป็นแบบผสมระหว่างการทำงาน
    นอกสถานที่ทำงานและในสถานที่ทำงาน

    75%

    ของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    วางแผนที่จะลงทุนในส่วนของการเงินบนอินเตอร์เน็ต

    60%

    ของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของลูกค้า
    ในการนำเสนอดิจิทัลในอนาคต

    วิถีของ Hitachi

    ศูนย์ Lumada ของ Hitachi นำเสนอการแก้ไขปัญหาระบบ AI และ
    การวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบ Cloud-based
    เพื่อช่วยภาคธุรกิจทุกภาคส่วนเปลี่ยน
    เข้าสู่การทำงานในรูปแบบ
    ดิจิทัล ทำให้เกิดการสนับสนุนการสร้าง
    บริการทางดิจิทัลที่สามารถเพิ่ม
    คุณค่าของธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทั้ง
    ในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจอีกด้วย

    อ่านเพิ่มเติม

    การบริหารการทำงานแบบนอกสถานที่ทำงาน

    มาตรการการเว้นระยะห่างกำลังผลักดันให้องค์กร
    บริหารจัดการการดำเนินงานในรูปแบบการทำงานนอก
    สถานที่ทำงาน
    ไม่ใช่เพียงแค่การทำงานประจำวันทั่วไปเท่านั้น
    แต่ยังรวมถึงการว่าจ้างงานที่สำคัญอีกด้วย

    วิถีของ Hitachi

    กำลังให้การสนับสนุนและส่งเสริม
    การดำเนินงานจากแบบนอกสถานที่ทำงาน
    ให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมด้านการผลิตที่สำคัญ
    ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    อ่านเพิ่มเติม
    แนวโน้มของภูมิภาคเอเชีย

    การประกาศรับสมัครงานในประเทศสิงคโปร์
    ในช่วงที่อัตราการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สูง
    ซึ่งเป็นช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา
    มีการระบุหัวข้อสำคัญที่เกี่ยวกับการทำงานนอกสถานที่ทำงาน
    (เช่น "work from home" หรือการทำงานจากที่บ้าน)
    กำกับไว้อย่างชัดเจน แหล่งอ้างอิง

    บริษัทในประเทศมาเลเซียจำนวนมาก
    กำลังว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาควบคุม
    และบริหารการทำงานจากแบบนอกสถานที่ทำงานแหล่งอ้างอิง

    บริษัทในกลุ่ม BPO (Business Process Outsourcing)
    รายใหญ่ของประเทศฟิลิปปินส์ใช้รูปแบบ
    virtual recruitment เป็นแนวปฏิบัติในการจ้างงาน แหล่งอ้างอิง

    การปฏิวัติการดำเนินงานด้วยนวัตกรรมขั้นสูง

    แม้ว่าเทคโนโลยีขั้นสูงได้ถูกนำมาใช้โดยองค์กรมากมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานมา
    ตั้งแต่ก่อนการเกิดโรคระบาดไวรัสแล้วนั้น
    แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันเทคโนโลยีขั้นสูง
    ถูกนำมาใช้เป็นจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

     

    วิถีของ Hitachi

    JR Automation ซึ่งเป็นบริษัทใน
    เครือของ Hitachi ได้สนับสนุน
    อุปกรณ์อัตโนมัติ
    ที่มีความแม่นยำสูง
    ให้แก่องค์กรในอุตสาหกรรม
    หลายแห่ง

    อ่านเพิ่มเติม<
    แนวโน้มของภูมิภาคเอเชีย

    การทำงานในรูปแบบดิจิทัลกำลังได้รับ
    ความสนใจจากหลายภาคส่วนของประเทศไทย เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมค้าปลีก และอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค แหล่งอ้างอิง

    มีการปรับใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มากขึ้นในประเทศเวียดนาม
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบการทำงาน
    ด้วยลักษณะการสนทนาโดยใช้ข้อความพูดคุย
    (CHATBOTS) และการแก้ปัญหาของการแพทย์ทางไกล (TELEMEDICINE)แหล่งอ้างอิง

    JR Automation ได้ช่วยจัดทำระบบสำหรับกระบวนการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์
    เป็นระบบอัตโนมัติสำหรับโรงพยาบาล
    ขนาดใหญ่ของรัฐแห่งหนึ่งในประเทศสิงคโปร์ ส่งผลให้ความผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานของมนุษย์น้อยลงและระยะการรอคอยลดลงเป็นอย่างมากช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้องรวดเร็วยิ่งขึ้น
    แหล่งอ้างอิง

    แนวโน้มของภูมิภาคเอเชีย

    80%

    ของพนักงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    ชื่นชอบเงื่อนไขการงานที่มีความยืดหยุ่น
    แม้จะเป็นช่วงภายหลังการแพร่ระบาดก็ตาม

    9 ใน10

    คนของของประชาชน
    ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    ต้องการความยืดหยุ่น
    ในเรื่องของสถานที่และเวลาการทำงาน

    60%

    ของพนักงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    จะพิจารณาการลาออกจากงานประจำ
    หากไม่มีความยืดหยุ่น

    ปรับปรุงสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน

    การทำงานนอกสถานที่ทำงานทำให้การแบ่งแยกระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวไม่ชัดเจน ดังนั้นองค์กรส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวโดยสนับสนุนให้พนักงานปรับหาความสมดุลของตนเองด้วยหลักการการจัดการการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น และการเพิ่มขวัญกำลังใจให้พนักงานผ่านกิจกรรมการสร้างความสามัคคีที่
    ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้องานในระหว่างเวลางานด้วย

     

    วิถีของ Hitachi

    Hitachi ในประเทศสิงคโปร์ได้จัดกิจกรรมสร้างทีมแบบเสมือนจริงเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจของพนักงานที่ทำงาน
    นอกสถานที่ทำงาน

    อ่านเพิ่มเติม

    สร้างความตระหนักรู้ทางด้านสุขภาพจิต

    ปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงานเป็นสิ่งที่ต้องตระหนัก
    อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในภูมิภาคที่เติบโตอย่างรวดเร็วเช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งสถานการณ์
    การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่
    ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น

     

    วิถีของ Hitachi

    Hitachi Vantara ได้จัดเตรียมทรัพยากรที่สำคัญให้กับพนักงานเพื่อช่วยให้พวกเขาได้จัดการและปรับปรุงสุขภาพจิตได้ดียิ่งขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม
    แนวโน้มของภูมิภาคเอเชีย

    องค์กรทั้งในระดับพหุภาคีและท้องถิ่น
    กำลังร่วมมือกันพัฒนาความตระหนักรู้
    ทางด้านสุขภาพจิตให้แก่เยาวชน
    ของประเทศอินโดนีเซีย แหล่งอ้างอิง

     

    สมาชิกรัฐสภาประเทศสิงคโปร์
    ให้ความสำคัญในการยกปัญหาสุขภาพจิต
    ของผู้ที่ต้องทำงานที่บ้าน
    มาเป็นประเด็นพิจารณาในการประชุมรัฐสภา แหล่งอ้างอิง

     

    สถาบันการเงินชั้นนำในประเทศมาเลเซีย
    กำลังอัดฉีดเงินลงทุนในโรงพยาบาลของรัฐ
    เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบสาธารณสุขซึ่งครอบคลุมไปถึงการจัดอบรม
    ด้านปัญหาและดูแลสุขภาพจิต
    ให้กับสังคม แหล่งอ้างอิง

    วันที่เผยแพร่ ตุลาคม 2564