Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วิสัยทัศน์ประเทศไทยกับอนาคตสีเขียว
การเติบโตและความยั่งยืนต้องก้าวไปพร้อมกัน

    ด้วยจำนวนประชากรประมาณ
    70
    ล้านคน
    และเป็นคนทำงาน
    33
    ล้านคน

    ทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแง่ของเรื่องราวความสำเร็จด้านการพัฒนา ตลอดระยะเวลาหลายปี แม้ว่า GDP ต่อหัวจะอยู่ที่ประมาณ 7,000 เหรียญสหรัฐก็ตาม

    โดยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย และมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 21 ของทั่วโลก


    อันดับ12


    ประเทศที่มีผลผลิตทางการเกษตรมากที่สุด

    อันดับ18

    ในเรื่องการผลิต

    อันดับที่  25

    ผู้ส่งออกรายใหญ่สุด ทั่วโลก

    โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีผลผลิตทางการเกษตรมากที่สุดเป็นอันดับ 12และใหญ่เป็นอันดับ 18 ในเรื่องการผลิต รวมถึงเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่สุดอันดับที่ 25 ทั่วโลก ทั้งนี้คาดว่า GDP ของประเทศไทยในปี 2023 จะเติบโต 3.7 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นกว่า 2 เปอร์เซ็นต์จากปี 2021 แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดก็ตาม จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) ถึงแม้ประเทศไทยจะประสบความสำเร็จและมีการเติบโตที่ดี แต่ก็ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลายภายในประเทศ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางศักยภาพการเติบโตอย่างเต็มที่ของเศรษฐกิจ

    ประเทศไทยเผชิญกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร เช่นเดียวกับการเติบโตของสังคมเมืองตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่การพัฒนาและการเพิ่มจำนวนประชากรนับเป็นปัจจัยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ก็นำมาซึ่งความท้าทายหลายประการสำหรับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประชากรสูงอายุ และการต้องพึ่งพารถยนต์ส่วนตัวและระบบอุตสาหกรรมมากขึ้น ในบรรดาเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ก็กลายเป็นพื้นที่ที่แออัดมากขึ้นจากการสัญจรของผู้คนจำนวนมาก พร้อมกับที่ถนนสายต่างๆ ก็มีความแออัดมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการเป็นเมืองหลวงที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 8 จากการจัดอันดับการจราจรทั่วโลกของ TomTom


         
    จะมีจำนวนประชากรไทยที่มีอายุ 60 ขึ้นไปเพิ่มจาก

    13
    เปอร์เซ็นต์
     
    -
    33
    เปอร์เซ็นต์
     

    ในปี 2010
     
    ภายในปี 2040
    นำมาซึ่งปัญหาหลัก เช่น

    ความตึงเครียดเรื่องระบบรักษาพยาบาลกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและแรงงานของประเทศ

    การที่ประเทศต้องพึ่งพาระบบอุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น เช่นระบบปรับอากาศและพลังงานเชื้อเพลิง ส่งผลให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นและนำไปสู่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในที่สุด


    เมื่อมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ขยายตัวมากขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน โดยประเทศไทยอยู่ในความเสี่ยงสูง ที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับ 9 ของประเทศในกลุ่มที่มี “ความเสี่ยงสูง” ซึ่งมีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต 30 ปีข้างหน้า แม้ว่าอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จะน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนการปล่อยก๊าซดังกล่าวทั่วโลกก็ตาม แต่คุณภาพอากาศและเรื่องมลพิษก็กลายเป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างมาก

    สามอันดับแรกที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุด
    0.8
    เปอร์เซ็นต์
    การปล่อยก๊าซภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น 0.8 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ละปี ระหว่างปี 2011 และ 2023


    ภาคการผลิตพลังงาน



    ภาคอุตสาหกรรม



    ภาคขนส่ง

    ท่ามกลางปัญหาที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น การกำจัดขยะไม่ถูกวิธียังเป็นอีกสาเหตุของความน่ากังวล โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ที่ทำให้เกิดปัจจัยด้านอื่นเรียกร้องให้มีการดำเนินการด้านสภาพอากาศอย่างเร่งด่วน

    ความท้าทายอีกรูปแบบที่ประเทศไทยต้องเผชิญคือการปรับสู่ อุตสาหกรรม 4.0 กับการเปลี่ยนกระบวนการต่างๆ สู่ระบบดิจิทัล ซึ่งประเทศไทยยังขาดการลงทุนหลักสำคัญๆ ในเรื่องของงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงการนำเทคโนโลยีและระบบโครงสร้างใหม่มาใช้ โดยเป็นสาเหตุจากการขาดความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการปฏิรูปดังกล่าว การขาดเงินลงทุนทำให้ประเทศไทยต้องพยายามอย่างยิ่งในการจัดการกับปัญหาช่องว่างทางทักษะที่มีอยู่และหันมาให้ความรู้แก่พนักงานเพื่อให้มั่นใจว่าคนเหล่านี้จะไม่ถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังแรงงานต่างชาติในเรื่องความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังมาถึง

    การกำหนดกฏเกณฑ์และนโยบายไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมด้านนวัตกรรม การทดลองและการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ เนื่องจากประเทศยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางไซเบอร์และการละเมิดข้อมูลที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ภาครัฐบาลและผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรม รวมถึงนักวิชาการต้องร่วมมือร่วมใจในการเปิดกว้างร่วมแบ่งปันข้อมูลความรู้ เพื่อผลักดันความร่วมมือ นวัตกรรมและการเติบโตเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุจุดมุ่งหมายสู่อุตสาหกรรม 4.0

     

    ตั้งแต่แรกเริ่ม Hitachi ได้มุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่มั่งคั่งและยั่งยืน นำไปสู่ธุรกิจด้านนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Business) ที่ผสานรวมความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีเข้าด้วยกันเพื่อรับมือกับความท้าท้ายทั่วโลก และแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงประชากรสูงวัย และปัญหาเร่งด่วนอื่นๆ โดยHitachiยังคงใช้เทคโนโลยี พร้อมกับมุ่งเน้นที่การปฏิรูปสู่ดิจิทัลและการสร้างความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างสังคมที่ดียิ่งขึ้น

    หนึ่งในความมุ่งมั่นคือการช่วยประเทศไทยบรรลุจุดมุ่งหมายด้านการเป็นเมืองอัจฉริยะและเมืองสีเขียว โดยเมื่อไม่นานมานี้ Hitachi ได้มอบระบบอาณัติสัญญาณและระบบจ่ายไฟ รวมถึงตู้โดยสาร (rolling stock) ให้กับรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยเป็นระบบขนส่งทางรถไฟที่เชื่อมต่อสถานีหลักของกรุงเทพฯ กับชานเมือง โครงการดังกล่าวทำให้Hitachiสามารถช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในเมืองและมอบการเดินทางที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นให้กับผู้สัญจร

    นอกจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง Hitachi ยังได้เปิดตัวHitachi Energyซึ่งเป็นแผนกธุรกิจใหม่ที่มุ่งเน้นเรื่องพลังงานหมุนเวียนและโซลูชันการกักเก็บพลังงาน โดยเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นพยายามของHitachi ที่ต้องการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้หน่วยธุรกิจดังกล่าวยังได้มอบผลิตภัณฑ์และการบริการมากมาย รวมถึงกังหันลมและระบบกักเก็บพลังงาน ภายใต้ความริเริ่มเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

    ความมุ่งมั่นของ Hitachi ในเรื่องของนวัตกรรมและความยั่งยืนสะท้อนให้เห็นอยู่ในเป้าหมายระยะยาว ในฐานะของผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันเพื่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต พร้อมการมุ่งเน้นที่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ด้วยจุดมุ่งหมายในการเป็นบริษัทที่ได้รับความไว้วางใจจากสังคม Hitachi ยังคงรักษาชื่อเสียงที่มั่นคงในเรื่องของหลักการดำเนินงานด้วยจรรยาบรรณและวิธีปฏิบัติทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบผ่านโครงการและความริเริ่มต่างๆ

     

    นอกจากงานปัจจุบัน Hitachi ยังได้ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา โดยร่วมมือกับบริษัทและองค์กรอื่นๆ อีกทั้งมองหาแนวทางในการสร้างโซลูชันนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาซับซ้อน ทั้งนี้บริษัทยังมุ่งมั่นเรื่องแนวคิดการบริหารที่สนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของพนักงาน ด้วยการตระหนักดีว่าคนทำงานที่มีความหลากหลายคือสิ่งจำเป็นที่ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมและช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้

    วิสัยทัศน์และเป้าหมายของ Hitachi สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นด้านนวัตกรรม ความยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการมุ่งเน้นเรื่องเทคโนโลยี และการปฏิรูปสู่ดิจิทัล โดย Hitachi จะยังคงแก้ปัญหาระดับโลกเช่นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านโครงการอย่าง รถไฟฟ้าสายสีแดง (Bangkok Redline) ด้วยความมุ่งหวังถึงอนาคตที่มั่งคั่งและยั่งยืนยิ่งขึ้น

    วันที่เผยแพร่:  เดือนพฤษภาคม 2566