Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความรับผิดชอบขององค์กร ต่อการสร้างผลลัพธ์ในเชิงบวกทางสังคมที่แท้จริง

     

    ส่งเสริมระบบนิเวศที่ยั่งยืนให้ประสบความสำเร็จผ่านนวัตกรรมและการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ

    สามประการสำคัญด้านความยั่งยืนที่กำลังมีพัฒนาให้โดดเด่นในปัจจุบันนั้นประกอบด้วย ความเท่าเทียมทางสังคม การปกป้องสิ่งแวดล้อม และความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ความสำคัญของคุณค่าทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ก็ได้รับความสนใจและตระหนักรู้เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต ภาวะเหล่านี้ถูกสะท้อนให้เห็นชัดในชีวิตประจำวันของผู้คน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อที่แม้จะมีมูลค่าน้อยมากก็ตาม

    คำถามที่เกิดขึ้น ในขณะที่บริษัทหลายแห่งแสดงความพร้อมที่จะเข้ามามีบทบาทหลักเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวคือ บริษัทเหล่านี้จะทำอะไรได้บ้างเพื่อวางแผนในการส่งเสริมผลกระทบเชิงบวกที่แท้จริงต่อสังคม


    เศรษฐกิจ
    สังคม
    สิ่งแวดล้อม
    แข็งแกร่ง คงทน ยั่งยืน เสมอภาค

    กลยุทธ์ที่ถูกให้ความสำคัญลำดับแรกคือการสร้างความยั่งยืน

    บริษัทที่มองการณ์ไกลกำลังนำความยั่งยืนมาใช้เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จของธุรกิจและนำมาซึ่งความเท่าเทียมทางสังคม การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และศักยภาพทางเศรษฐกิจ

    การสร้างความเปลี่ยนแปลงเริ่มได้จากภายในองค์กร

    อนที่จะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงทางสังคม องค์กรหลายแห่ง จำเป็นต้องนำความยั่งยืนเน้นย้ำไว้ในวิสัยทัศน์ขององค์กร ามารถทำได้ด้วยการมโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กร ที่สร้างความยั่งยืนในทุกด้าน ที่สามารถใช้การได้จริงและมีประสิทธิภาพ

    ในฐานะองค์กรที่งที่ดีๆมานานกว่าศตวรรษ ปัจจุบันHitachiมุ่งมั่นตอบสนองเพื่อสร้างผลลัพธ์ในเชิงบวกต่อสังคม เราได้ดำเนินมาตรการหลายด้านเพื่อให้แน่ใจว่าHitachiจะไม่มองข้ามเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัทเอง และมีความรับผิดชอบต่อ้แนวคิดริเริ่มของบริษัท ตัวอย่างเช่นการเพิ่มตำแหน่ง (Chief Diversity & Inclusion Officer, Chief Environmental Officer)ในบริษัท ตลอดจนมีการตั้ง Executive Sustainability Committee โดยจะมีการประชุมอย่างเป็นทางการ 2 ครั้งต่อปี โครงสร้างภายในบริษัทที่มีผลลัพธ์้นำไปสู่โครงการความร่วมมือมากมาย และทำให้ทราบถึงข้อมูลเชิงลึกด้านนวัตกรรมทางสังคมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสังคมในภูมิภาค่เช่นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


    Hitachi ใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนได้แก่ :

    การประชุมจำนวน 2 ครั้งภายใน 1 ปี ระหว่าง Chief Diversity & Inclusion Officer และ Executive Sustainability Committee

    อภิปรายโครงการความร่วมมือและข้อมูลเชิงลึกด้านนวัตกรรมทางสังคม

    ฒนาการที่ล้ำสมัยสู่การเร่งขยายตัวของเทคโนโลยี

    จากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ขณะนี้ประเทศไทยกำลังใช้ประโยชน์จากศักยภาพของเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่โดดเด่นในด้านนวัตกรรม (innovation-led nation) ปัจจุบันประเทศไทยเดินหน้าสนับสนุนการลงทุนขนาดใหญ่ใน์ภาคส่วนใหม่ เช่น การสร้างระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีด้านการแพทย์ ทั้งหมดนี้มีจุดประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

    Hitachiนั้นเป็นพันธมิตรที่สำคัญในแผนพัฒนานี้ผ่าน Lumada Center ้ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ไม่เพียงแต่สร้างความตระหนักเพื่อให้เกิดการพัฒนาในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่จุดประกายของนวัตกรรมทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วยเหตุนี้์ทำให้ ภาคอุตสาหกรรมหลายแห่งในประเทศไทยสามารถเพิ่มความสามารถในการผลิตเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ประโยชน์จากเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของิ Hitachi นับตั้งแต่ก่อตั้ง Lumada Centerที่จังหวัดชลบุรีบริษัทก็ได้ก่อตั้ง Lumada Center Southeast Asia Bangkok Annex ที่จังหวัดกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาในด้านพลังงาน การเงิน และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

    นนีLumada Centerมีนวัตกรรมที่สามารถอำนวยความสะดวกต่อลูกค้ามากขึ้น จึงทำให้เกิด “NEXPERIENCE” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่Hitachiพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างคุณค่าให้กับภาคธุรกิจ จากการทำงานร่วมกัน กระบวนการนี้ได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลเชิงลึกในหลายแง่มุม ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (เทคโนโลยี ICT) ที่ทันสมัย ด้วยเครื่องมือทั้งหมดเหล่านี้ Lumada Center มีความพร้อมที่จะให้บริการองค์กรในประเทศไทยเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีล้ำสมัย รวมถึงสร้างความมั่นใจในโซลูชั่นที่ผ่านการรับรองคุณภาพ ซึ่งสามารถขยายให้ครอบคลุมได้ทั่วทั้งเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ


    หนทางการสร้างนวัตกรรมของประเทศไทย

    • การลงทุนในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • Hitachi Lumada Center สนับสนุนนโยบายระดับประเทศเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0
    • NEXPERIENCE กระบวนการของHitachi สำหรับการสร้างมูลค่า เพื่อมอบการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่อย่างทั่วถึง

    นวัตกรรมทางการแพทย์ของ Hitachi เพื่อพลิกโฉมการดูแลสุขภาพของประเทศสิงคโปร์

    • โรคมะเร็งยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของชาวสิงคโปร์
    • ระบบ Proton Beam Therapy (PBT) ของHitachiได้รักษาผู้ป่วยมากกว่า10,000 รายด้วยอัตราความพร้อมทางการแพทย์ถึงร้อยละ 98
    • PBT มีชื่อเสียงไปทั่วโลกในด้านความน่าเชื่อถือสูงและเทคโนโลยีการสแกนเฉพาะจุด

    การต่อยอดความก้าวหน้าด้านสุขภาพ

    นอกเหนือจากการยกระดับการศึกษาแล้ว การดูแลสุขภาพถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมนั้นยั่งยืน แม้ในประเทศที่ระบบเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว แต่ประชาชนก็ยังประสบปัญหาด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยปัญหาดังกล่าวทวีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากภาวะประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศเหล่านี้ บริษัทจำนวนมากมีจุดยืนแข็งแกร่งและพร้อมที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงในด้านสุขภาพ ผ่านความร่วมมืออย่างเต็มที่กับหน่วยงานด้านสุขภาพของประเทศ

    ตัวอย่างเช่นในประเทศสิงคโปร์ซึ่งโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาทางสังคมนี้ Hitachiได้พัฒนาและจัดหาระบบบำบัดการรักษาด้วยอนุภาคโปรตอน (Proton Beam Therapy) ที่ทันสมัยให้กับศูนย์มะเร็งแห่งชาติประเทศสิงคโปร์ (National Cancer Centre Singapore) การบำบัดรักษาด้วยอนุภาคโปรตอน นั้นเป็นการผสานรวมเทคโนโลยีการรักษาเฉพาะจุด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งระยะลุกลาม (advanced cancer) ที่ลดผลข้างเคียงซึ่งมักพบในการฉายรังสีแบบเดิม

    ปัจจุบัน การบำบัดรักษาด้วยอนุภาคโปรตอน ิHitachi ได้รักษาผู้ป่วยกว่า 10,000 ราย ด้วยอัตราการใช้เครื่องเพื่อรักษา (clinical availability rate) ที่ร้อยละ 98 ซึ่งพิสูจน์ได้ว่านวัตกรรมสุขภาพนี้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ด้วยการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ ที่มีให้บริการในศูนย์ที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ ทำให้ประเทศสิงคโปร์ไม่เพียงแต่สามารถเยียวยาปัญหาได้เท่านั้น แต่ยังสามารถปรับปรุงศักยภาพด้านการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนด้วย

    การสร้างอนาคตที่สดใสให้กับภูมิภาคอาเซียน

    เนื่องจากเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเอื้อต่อการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เราจึงต้องพยายามอย่างจริงจังที่จะจัดการกับความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ซึ่งอาจเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเติบโตในด้านเศรษฐกิจ โดยหากมีการละเลยและไม่ดำเนินการใ ความไม่เท่าเทียมกันนี้อาจส่งผลกระทบในทางลบต่อประเทศในหลายด้าน ทั้งด้านความก้าวหน้า ความยืดหยุ่น และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

    แม้ว่านโยบายของภาครัฐบาลจะช่วยกำหนดทิศทางในการแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านลบหลายด้าน แต่ภาคเอกชนก็จำเป็นต้องก้าวเข้ามาเพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในด้านบวก ด้วยการนำความรู้และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ถึงเวลาสำหรับการลงมือทำหน้าที่ของเรา ในการขับเคลื่อนสิ่งที่ดี ให้กับสังคม


    สร้างการเริ่มต้นใหม่ด้วยการขับเคลื่อนสิ่งที่ดีให้กับสังคม

    การจัดการกับความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการเติบโตต่อไปในอนาคต
    เสริมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน

    วันที่เผยแพร่: มีนาคม 2022