Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของนวัตกรรมเพื่อสังคมในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0


การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำการเปลี่ยนแปลงเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม
และสร้างโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่ง Hitachi และธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมได้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้ในประเทศไทย

เราได้พูดคุยกับคุณสมศักดิ์ กาญจนาคาร ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท Hitachi Asia (ประเทศไทย) จำกัด
เกี่ยวกับการมีอยู่ของ Hitachi ในประเทศ และวิธีการที่ Hitachi จะมีส่วนร่วมต่อวิสัยทัศน์ระยะยาวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
และอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับสังคมสำหรับประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล

     

    Hitachi Asia (ประเทศไทย) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ.1992 โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์และการบริการที่หลากหลายให้กับทั้งภาครัฐและเอกชน
    เช่น โรงงานพลังงานไฟฟ้า, เครื่องจักรรถไฟ, เครื่องจักรอุตสาหกรรม และโซลูชันด้าน IT และ IoT ขั้นสูง

    ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงและโซลูชันนวัตกรรมเพื่อสังคมของ Hitachi บริษัทจึงได้รับเชิญจากรัฐบาลให้มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มกลยุทธ์ประเทศไทย 4.0
    เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศและนำประเทศไปสู่ขั้นถัดไป

    การทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของนวัตกรรมเพื่อสังคมในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 (Part 2) - Hitachi

    คุณสมศักดิ์ได้เปิดเผยถึงเป้าหมาย 3 ประการ1
    ของประเทศไทย 4.0 ได้แก่:

    • เพิ่มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
      ให้สูงกว่า 5% ใน 5 ปีข้างหน้า
    • เพิ่มการลงทุนในด้านการวิจัย
      และการพัฒนาให้มากกว่า 4%
    • ยกระดับรายได้เฉลี่ยให้เป็น $15,000
      ภายในปีค.ศ.2032

    เขายังได้พูดคุยเกี่ยวกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดระยอง, จังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา

    รัฐบาลวางแผนที่จะเปลี่ยนจังหวัดเหล่านี้ให้เป็น “ศูนย์กลางสำหรับการผลิตและการบริการด้านเทคโนโลยี” ด้วยการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่คาดว่าจะช่วยเพิ่มงานใหม่ได้ถึง 100,000 งาน2 ภายในปีค.ศ.2020

    Hitachi ได้ก่อตั้งศูนย์ Lumada Center Southeast Asia ในจังหวัดชลบุรี ที่ซึ่งพวกเขาได้นำเอาโซลูชันด้าน IT และ IoT มาสนับสนุนให้กับลูกค้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนผ่านการร่วมมือกัน ทางบริษัทเชื่อมั่นว่าการนำ IoT มาใช้งานจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคส่วนการผลิตอย่างมหาศาล
    จากการพัฒนาประสิทธิภาพและการตัดลดต้นทุนลง 30%

    การทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของนวัตกรรมเพื่อสังคมในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 (Part 3) - Hitachi

    เมื่อกล่าวถึงศูนย์ Lumada Center คุณสมศักดิ์กล่าวว่ามันคือ “ระบบนิเวศและโซลูชันทางดิจิทัล”
    ที่จะนำเสนอเทคโนโลยี IT, IoT, การวิเคราะห์ข้อมูล และ AI

    การนำวิธีการที่เรียกว่า Co-Creation มาใช้งานทำให้ส่วนกลางรวบรวมและปรับแต่งข้อมูลลูกค้าเพื่อนำเสนอโซลูชันทางดิจิทัลที่ปรับแต่งตาม
    ความเหมาะสม ในขณะที่ศูนย์ Lumada Center กำลังมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมการผลิต ทาง Hitachi
    ก็ได้วางแผนที่จะขยายไปสู่อุตสาหกรรมห่วงโซ่อุปทานเช่นกัน

    บริษัทยังมีส่วนร่วมกับการดำเนินการด้านโซลูชันเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในประเทศไทยอีกด้วย โดยหนึ่งในโครงการที่ใหญ่ที่สุดของพวกเขาก็คือ การออกแบบการพัฒนาแบบผสมผสานเ
    ชิงบูรณาการอย่างเต็มรูปแบบในกรุงเทพมหานครส่วนกลาง พวกเขามีการระบบและนวัตกรรมขั้นสูงมากมาย เช่น ระบบการเคลื่อนที่ของผู้คน (People Movement System) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างอาคาร “อัจฉริยะ” โดยการจัดวางลิฟต์, บันไดเลื่อน, ระบบการบริหารจัดการพลังงาน และระบบเฝ้าระวังและการรักษาความปลอดภัย

    นอกเหนือจากนี้ คุณสมศักดิ์บอกกับเราว่า Hitachi ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจหลายฉบับ (MoUs)
    กับภาครัฐและเอกชน โดยหนึ่งในนั้นก็คือ MoU กับบริษัท SCG Cement – Building Material จำกัด (SCG-CBM)
    เพื่อส่งเสริมโซลูชันในการประหยัดพลังงานในโรงงานต่างๆ ของ SCG-CBM

    ในวงการแพทย์ Hitachi ได้แนะนำเทคโนโลยีใหม่ในการรักษามะเร็งเรียกว่า การรักษามะเร็งด้วยลำอนุภาคโปรตอน (Proton Therapy System)
    ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องผู้ป่วยจากผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาด้วยรังสี

    คุณสมศักดิ์บอกกับเราว่าสิ่งที่ทำให้ Hitachi แตกต่าง ก็คือความจริงที่ว่า Hitachi มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการดำเนินงานมากกว่า 100 ปี
    และมีประสบการณ์ด้าน IT มากกว่า 50 ปี

    เขายอมรับว่าการทำงานร่วมกันเป็นกุญแจสำคัญสำหรับนวัตกรรมเพื่อสังคม
    และวิธีการเดียวเท่านั้นที่พวกเขาจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ก็คือ การร่วมมือกับลูกค้าและสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ร่วมกัน

    Source:
    1 สถานทูตไทย กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
    2 แนวโน้มเศรษฐกิจสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, จีนและอินเดีย ค.ศ.2019: สู่การคมนาคมขนส่งอัจฉริยะในเมือง องค์กรสำหรับความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)

    Release Date: December 2019