Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

 

 

 

รถไฟฟ้าสายสีแดงของกรุงเทพมหานคร:

การยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมของมหานครแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

 

 


    ถึงแม้ว่าพื้นที่ของเมืองรวมกันทั้งหมดมีเพียงแค่
    ร้อยละ 2
    ของพื้นผิวโลก แต่บรรดาเมืองต่างๆ


    เหล่านั้นกลับปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสัดส่วนมากกว่า
    ร้อยละ 60
    of greenhouse gas emissions


    ตลอดจนมีการใช้พลังงานถึงเกือบ
    ร้อยละ 80
    ของพลังงานทั้งหมดในโลก

    ประเด็นนี้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนจากกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นหนึ่งในมหานครขนาดใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สร้างมลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 6,000 คน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากกว่า 75,000 ล้านบาท ในเพียงแค่ปี พ.ศ. 2563 เพียงปีเดียวi

    หากปัญหาดังกล่าวยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ประเทศไทยอาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมได้ ประเทศไทยประสบปัญหาการเอ่อล้นของจำนวนประชากรที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองหลวงมาเป็นเวลาหลายทศวรรษii ประชากรหลายล้านคนพยายามดิ้นรนเข้ามาในเมืองหลวงเพื่อหางานทำ ซึ่งอาจคาดการณ์ได้ว่าจำนวนประชากรในเมืองหลวงของประเทศไทยนั้นอาจมีมากกว่า 12 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2573iii

    ในขณะเดียวกันประเทศไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในโลก จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่พึ่งพาการใช้รถยนต์โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนรถยนต์เกือบ 10 ล้านคันแล้วiv


    ประชากรเมืองที่คาดว่าจะเกิน
    12ล้าน
    คนภายในปีพ.ศ. ภายในปีพ.ศ. 2573


    ความแออัดของการจราจรทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่า
    US$ 340ล้านบาท
    ต่อปี

    ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นในเมืองกรุงเทพมหานครและจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นบนท้องถนน ทำให้มีการคาดการณ์จำนวนการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ถึง 500,000 คันต่อปี จากข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้มหานครแห่งนี้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการจราจรติดขัดมากที่สุดในโลกv Tปัญหาดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองหลวงเลวร้ายยิ่งขึ้นvi โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของมลพิษทางอากาศ ผลกระทบที่เลวร้ายนี้ไม่ได้ส่งผลแค่เพียงด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะผู้ใช้รถยนต์บนท้องถนนจะต้องเสียเวลามากกว่าหนึ่งชั่วโมงต่อวันกับการจราจรที่ติดขัด ผู้เชี่ยวชาญได้คำนวณค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากเรื่องนี้ไว้มากกว่า 11,000 ล้านบาทต่อปี หรือเกือบ 65 ล้านบาทต่อวัน

    การลดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร ด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพขั้นสูง


    การจราจรติดขัดเรื้อรังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงให้ความสำคัญอย่างมากในการลดจำนวนยานพาหนะบนท้องถนน โดยนำระบบขนส่งมวลชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาให้ประชากรในกรุงเทพมหานครได้ใช้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ “แผนแม่บทในการพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน”vii ที่มุ่งเน้นในการสร้างระบบที่มีความยั่งยืนทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานของการขนส่งมวลชนและด้านผู้ใช้บริการ

     


    Hitachi ร่วมมือกับ Mitsubishi Heavy Industries, Ltd. และ Sumitomo Corporation

    ส่งมอบขบวนชุดรถไฟทั้งหมด
    25
    ชุด
    (ประกอบด้วย 130 rolling stock) ที่มาจากประเทศญี่ปุ่น


    ช่วยปรับปรุงคุณภาพในเมืองโดยสร้างสมดุลระหว่างความสามารถให้ผู้โดยสารได้สัญจรในชีวิตประจำวัน

    หลังจากที่ประเทศไทยได้ศึกษาการสร้างเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนจากเมืองอื่นทั่วโลก ในที่สุดปีหลังจากที่ประเทศไทยได้ศึกษาการสร้างเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนจากเมืองอื่นๆ ทั่วโลก ในที่สุดปี พ.ศ.2543 กรุงเทพมหานครก็ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสตามด้วยรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ทีในปี พ.ศ. 2547 และในช่วงกว่าสองทศวรรษตั้งแต่นั้นมาได้มีการขยายการให้บริการรถไฟฟ้าทั้งสองระบบในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมากขึ้น เพื่อสอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจและจำนวนประชากรของกรุงเทพมหานคร

    โดยในส่วนหนึ่งของการขยายระบบขนส่งมวลชนดังกล่าว รัฐบาลไทยได้ริเริ่มโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพมหานครตั้งอยู่ใจกลางเขตจตุจักร โครงการนี้ประกอบด้วยเส้นทางด้านทิศเหนือ (สายเหนือ) ระยะทาง 26.4 กิโลเมตร และด้านตะวันตก (สายตะวันตก) ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร ซึ่ง Hitachiviii ร่วมกับ Mitsubishi Heavy Industries, Ltd. และ Sumitomo Corporation ได้รับการว่าจ้างจากการรถไฟแห่งประเทศไทยในการจัดหารถไฟฟ้าทั้งหมด 25 ขบวน (รวมทั้งหมด 130 ตู้โดยสาร) จากประเทศญี่ปุ่นและนำส่งมายังประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย

    จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงนี้ Hitachi มีส่วนช่วยยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นที่มีมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษทั้งในด้านเศรษฐกิจและการค้า และที่สำคัญที่สุดคือการถ่ายทอดนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนนในกรุงเทพมหานคร โดยไม่เพียงแต่ส่งมอบระบบขนส่งมวลชนอย่างยั่งยืนเท่านั้นแต่ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นผลลัพธ์ที่สำคัญยิ่งกว่าคือการช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในเมืองด้วยการคำนวณค่าบริการการใช้ระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลวงอย่างสมเหตุสมผล ix

    การส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคมเพื่อเร่งขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0

    นวัตกรรมเพื่อสังคมของ Hitachi ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างสิ่งที่ดีกว่าเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของประเทศไทยผ่านโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงนี้

    นอกเหนือจากนั้น Hitachi ได้ให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาครัฐและพันธมิตรในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0”x ที่ล้ำสมัย และ โครงการเมืองอัจฉริยะ xi มาช่วยให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จกับแผนประเทศไทย 4.0 ได้เร็วยิ่งขึ้น

    ด้วยระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงของกรุงเทพมหานครนี้ Hitachi ได้มีส่วนช่วยประเทศไทยในการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของประชากร ทั้งในแง่ของการอาศัยอยู่ในเมืองหลวงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรวมถึงการยกระดับการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวของทุกคนด้วย

    เราทุกคนรู้สึกตื่นเต้นที่ ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลไทย ในด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง โครงการนี้เป็นโครงการที่มีความหมายกับเรามาก ที่สะท้อนถึงจุดมุ่งหมายของ Hitachi ในการ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับสังคมคนไทย และเพื่อพัฒนาไปสู่ ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม ในอนาคตด้วย

    Yoshihiro Sugeta
    Managing Director of
    Hitachi Asia (Thailand) Co., Ltd