Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นวัตกรรมทางสังคมในอาเซียน

ตลอดประวัติศาสตร์ของเรา นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางสังคมเป็นเครื่องมือของการเปลี่ยนแปลงของเรา นวัตกรรมเหล่านี้ทำให้เราเติบโตจากหมู่บ้านเล็กๆ กลายเป็นสังคมเมือง ทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรกลของการเติบโตสำหรับประเทศ

ในประเทศไทย ผู้คนหลายล้านคนมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพเพื่อหางานทำ ส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตของประชากรเมือง จาก 5.9 ล้านคนในปี 1990 เพิ่มขึ้นเป็น เก้าล้านคนในปี 2010 ทั้งนี้เป็นที่คาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตขึ้นอีก 22% ในปี 2030

นอกจากผู้คนแล้ว กรุงเทพฯยังเป็นศูนย์รวมยานพาหนะถึง 9.5 ล้านคัน ซึ่งมีจำนวนยานพาหนะต่อคนคิดเป็นแปดเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองเซี่ยงไฮ้

 

ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างชัดเจนและได้รับการยกระดับเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูงในเวลาน้อย
กว่าหนึ่งช่วงอายุคน อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตกลับหยุดชะงักเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากความท้าทายต่างๆ
เราจัดการกับความท้าท้ายเหล่านี้
และเสนอให้ความช่วยเหลือด้วยความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมทางสังคมของเรา
และช่วยในการร่วมกันสร้างอนาคตที่ดีกว่าของความเป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยี

 

ประเทศไทยมีประชากร
69
ล้านคน
เศรษฐกิจของประไทศมีขนาดใหญ่เป็น
อันดับที่ 20
ของโลก
GDP ต่อหัวของประเทศไทยมีมูลค่า
17,750
เหรียญสหรัฐ
ในเทอมของ PPP

ฮิตาชิร่วมสร้างอนาคตที่สดใสให้กับประเทศไทยได้อย่างไร


เพื่อบรรเทาความแออัด ฮิตาชิได้
ร่วมดำเนินการบนเส้นทางรถไฟฟ้า
ใต้ดินกรุงเทพฯสายสีแดง
อ่านเพิ่มเติม

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมืองอัจฉริยะ
ฮิตาชิได้รับมอบหมายให้จัดตั้งโรงงานอัจฉริยะ
ในจังหวัดชลบุรี
อ่านเพิ่มเติม

ฮิตาชิได้สร้างศูนย์ไอโอทีที่ล้ำยุค
ในโครงการระเบียงเศรษฐกิจ
ภาคตะวันออก
อ่านเพิ่มเติม

การจราจรติดขัด
และการจราจรแออัด
ในกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยที่มีประชาการมากกว่า 9 ล้านคน
แต่น่าเสียดายที่กรุงเทพฯยังเป็นศูนย์รวมยานพาหนะเกือบ 9.5 ล้านคันอีกด้วย

 

กรุงเทพมหานคร

ชื่อเสียงที่ไม่ดีเกี่ยวกับถนนที่แออัดนี้ ทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีความแออัดมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลกในปี 2016 เนื่องด้วยคนขับรถจะต้องเสียเวลาถึง 64 นาทีต่อวันติดอยู่กับการจราจร ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการจราจรติดขัดทำให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจ 332 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เนื่องจากการสูญคุณค่าทางเศรษฐกิจอันเป็นเหตุมาจากการที่ผู้คนติดอยู่ท่ามกลางการจราจร

เพื่อบรรเทาความแออัด มีหลายเมืองในโลกนี้ที่หันไปหาระบบคมนาคม เช่น รถไฟใต้ดิน หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน หนึ่งในระบบดังกล่าวก็คือ รถไฟฟ้ามหานครสายสีแดง (Bangkok Metropolitan Rapid Transit’s Red Line) ซึ่งฮิตาชิดูแลควบคุมการทำงานอยู่

อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ใช้ในกรุงเทพฯก็คือระบบตรวจสอบการจราจรอัจฉริยะ ด้วยการปล่อยเซ็นเซอร์รอบตัวเมือง ซึ่งระบบนี้สามารถลดอุบัติเหตุได้ถึง 8,000 ครั้งต่อปี และช่วยให้กรุงเทพฯประหยัดเงินได้ถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

การพัฒนา
ภาคการผลิต

ภาคการผลิตสูญเสียศักยภาพในการแข่งขันให้กับเพื่อนบ้านในเรื่องค่าแรงต่ำ คิดเป็นมูลค่า 27% ของ GDP ในปี 2016

เทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไอโอที (อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง – IoT: Internet of Things) และรัฐบาลไทยได้ปล่อยเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งคิดเป็นเงินถึง 27% ของ GDP แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมนี้จะประสบความสำเร็จ แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับเชื่อว่าประเทศไทยกำลังติดกับดักรายได้ปานกลาง ที่มีการเติบโตต่ำ และมีช่วงรายได้ต่อหัวปานกลาง

เพื่อหลบหนีกับดักนี้ รัฐบาลจึงเริ่มดำเนินการโครงการ ประเทศไทย 4.0 ด้วยการใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติ, เทคโนโลยีหุ่นยนต์ และเทคโนโลยีไอโอที ภาคอุตสาหกรรมทำหน้าที่เป็นผู้นำในการใช้งานไอโอที (IoT) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนได้สูงถึง 30% ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างเป็นระบบอัตโนม้ติได้มากถึง 68% ของกระบวนการในภาคส่วนนี้

หนึ่งในโครงการที่น่าตื่นเต้นที่สุดที่อยู่ในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ที่ฮิตาชิได้ตั้งโรงงานอัจฉริยะในจังหวัดชลบุรี ซึ่งคาดการว่าโครงการเมืองอัจฉริยะนี้จะสร้างงานใหม่ถึง 100,000 งาน

อัพเกรดเพื่อ
เศรษฐกิจ
แบบดิจิทัล

เศรษฐกิจแบบดิจิทัลได้รับการคาดการว่าจะทำหน้าที่สำคัญใน
ทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมในประเทศไทย

โครงการจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัลได้ถูกเปิดเผยออกมา เช่น เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่นำร่องในภูเก็ต, ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย และเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือดิจิทัล พาร์ค (Digital Park) ที่ศรีราชา.

หนึ่งในวัตถุประสงค์ของดิจิทัล พาร์ค คือการดึงดูดการลงทุนต่างชาติในศูนย์กลางข้อมูล, ศูนย์การวิจัยและพัฒนา (R&D) และธุรกิจดิจิทัลใหม่ พร้อมเป้าหมายในการสนับสนุนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางโครงสร้างพื้นฐานของระบบดิจิทัล

เพื่อช่วยให้บรรลุวิสัยทัศน์นี้ ฮิตาชิได้สร้างศูนย์ไอโอที (IoT centre) ที่ล้ำยุคทันสมัยในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และ เอไอ (AI) ทำให้ศูนย์ไอโอทีสามารถช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ เช่น การจัดการจราจรของมนุษย์ในพื้นที่แออัดหนาแน่น ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการวางแผนเมืองและเมืองอัจฉริยะ

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ของฮิตาชิ และ Lumada

 



เผยแพร่เมื่อ ธันวาคม 2560
Credit Source