Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ EMIEW3 ของฮิตาชิสามารถเข้าหาลูกค้าผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้เอง

การใช้หุ่นยนต์ EMIEW3 และแพลตฟอร์ม IT ในการออกแบบหุ่นยนต์ของฮิตาชิเพื่อตอบสนองลูกค้า จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการสาธิตการทดลองในบริการด้านหุ่นยนต์

เป็นไปได้ว่าวันหนึ่งคุณอาจจะได้รับความช่วยเหลือจากหุ่นยนต์ EMIEW3 ของฮิตาชิ ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่สามารถเข้าหาลูกค้าผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้เอง EMIEW3 ได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถตอบสนองการบริการตามความต้องการให้มากที่สุดในการช่วยเหลือผู้คนตามร้านค้าต่างๆ และในพื้นที่สาธารณะ มีการปรับปรุงหุ่นยนต์ EMIEW3 ให้ดีขึ้นด้วย “สมองทางไกล”* ที่ประกอบไปด้วยแพลตฟอร์ม IT ในการออกแบบหุ่นยนต์ที่เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์และระบบติดตามการดำเนินงานทางไกล ซึ่งสามารถตรวจสอบและควบคุมหุ่นยนต์ได้หลายตัวในหลากหลายพื้นที่พร้อมกัน และด้วยความช่วยเหลือจากลูกค้า ฮิตาชิจะเริ่มต้นทำการพิสูจน์รูปแบบในการส่งมอบการให้บริการผ่านหุ่นยนต์แบบใหม่ในหลากหลายสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การเปิดตัวหุ่นยนต์ EMIEW ครั้งแรกในปี 2005 ฮิตาชิก็ยังคงดำเนินการพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง ซึงสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างปลอดภัยและมอบบริการความช่วยเหลือแก่มนุษย์ด้วยความสามารถในการสื่อสารที่เหนือขั้น

ส่วนหุ่นยนต์ EMIEW2 ที่เปิดตัวในปี 2007 ฮิตาชิได้พัฒนาฟังก์ชันการทำงานที่จำเป็นสำหรับบริการและแนะนำลูกค้า หุ่นยนต์ตัวนี้สามารถแสดงสมรรถนะที่น่าทึ่งต่างๆ เช่น การเคลื่อนที่เองโดยอัตโนมัติเท่ากับระดับการเดินของมนุษย์ ความสามารถในการแยกเสียงของมนุษย์ในทุกสภาวะเสียงรบกวน การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อระบุวัตถุต่างๆ และการใช้กล้องต่างๆ ในตัวแทน “สายตา” ในการค้นหาวัตถุ เมื่อเร็วๆ นี้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ถูกนำมาใช้สำหรับฟังก์ชันการทำงานที่ต้องการปัญญาขั้นสูง เช่น บทสนทนารวมไปถึงการตอบคำถามในรูปแบบต่างๆ อย่างเหมาะสม และยังมีฟังก์ชันการคาดการณ์ล่วงหน้าที่จะช่วยให้ตัวหุ่นยนต์เองสามารถหลีกเลี่ยงการชนหรือกระแทกกับวัตถุต่างๆ ที่อาจเคลื่อนที่มากระทบได้ ขณะที่หุ่นยนต์ EMIEW3 ตัวใหม่ที่พัฒนาขึ้นมานี้ ก็ยังคงมีฟังก์ชันการทำงานบางอย่างเหมือนกับหุ่นยนต์ EMIEW2 แต่ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นด้วยฟังก์ชันการทำงานที่จะมอบบริการและแนะนำลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ความสามารถในการระบุตัวบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ หุ่นยนต์ EMIEW3 สามารถเข้าหาบุคคลนั้นด้วยตัวของมันเองและให้บริการแก่ลูกค้า แบ่งปันข้อมูลกับหุ่นยนต์ EMIEW3 อื่น เพื่อให้มั่นใจว่าจะมอบบริการได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด และหากตัวหุ่นยนต์นี้ล้มลง มันสามารถลุกขึ้นมายืนเองได้เช่นเดิม

*
วิธีการดังกล่าวมักนำมาใช้ในการออกแบบหุ่นยนต์ โดยฟังก์ชันการทำงานในตัวหุ่นยนต์เป็นกระบวนการแบบเรียลไทม์ ส่วนฟังก์ชันการทำงานอื่นที่ไม่ได้ใช้กระบวนการแบบเรียลไทม์จะเป็นระบบภายนอกตัวหุ่นยนต์
  • โซลูชั่นโดย: ฮิตาชิ
  • วันเปิดตัว: 18 พฤษภาคม 2016

เรียนรู้เพิ่มเติม

กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง

ดูกรณีศึกษาทั้งหมด