Skip to main content

Hitachi

นวัตกรรมทางสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กของมาเลเซีย: การขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม 4.0

    ด้วยศักยภาพที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่งผลให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 (IR4.0) ที่กำลังปฏิวัติภูมิทัศน์ทางธุรกิจทั่วโลก เกิดความเข้าใจผิดที่ว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนั้นเกี่ยวข้องแค่วิทยาการหุ่นยนต์เท่านั้น แต่ IR4.0 จะปรับรูปแบบกระบวนการผลิต สร้างโอกาสทางธุรกิจ ในการยกระดับด้านการผลิตและความสามารถในการแข่งขันในตลาด อย่างไรก็ตามมาเลเซียก็ไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน และ Hitachi จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นแนวหน้าของ IR4.0

    ด้วยความร่วมมือกันกับสถาบันมาตรฐานและวิจัยอุตสาหกรรมแห่งมาเลเซีย หรือ Standards and Industrial Research Institute of Malaysia (SIRIM) ได้มีการจัดตั้งแพลตฟอร์มสำหรับ Hitachi และ SIRIM เพื่อสนับสนุนรัฐบาลมาเลเซียในการประชาสัมพันธ์นโยบายแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่อง IR4.0 เพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางโดยใช้ความก้าวหน้าและการรวมกันทางเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทั่วโลก ในปีพ.ศ. 2563 พันธมิตรทั้งสองฝ่ายได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งแก่ความร่วมมือด้าน IR4.0 และได้เปิดตัว ศูนย์ Smart Manufacturing Experience Centre (SMEC) ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อแสดงถึงพันธกิจในการส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กทั่วประเทศ โดยใช้แนวคิด Connective Industries

    IR4.0 คืออะไร และกำลังพลิกโฉมโลกในทุกวันนี้อย่างไร?

    IR4.0 คือ การเชื่อมโยงภูมิทัศน์การผลิตเข้าด้วยกันโดยการรวมเทคโนโลยีดิจิทัล การเชื่อมต่อ และการทำงานอัตโนมัติเข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายในการสร้างConnective Industriesเป็นการรวมระบบไซเบอร์-กายภาพเข้ากับระบบ อินเตอร์เน็ทของสรรพสิ่ง (IoT) การวิเคราะห์คลังข้อมูลขนาดใหญ่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โปรแกรมหุ่นยนต์ทำงาน (robotic process automation) และอีกมากมาย ซึ่งการรวมเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าด้วยกัน ผู้ผลิตจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับ IR4.0 โดยทำการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะที่สามารถทำงานโดยอัตโนมัติและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างยิ่ง อันเป็นผลจากผลิตภาพ ประสิทธิภาพ และความยืดหยุ่นในการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น

    นวัตกรรมริเริ่ม: Hitachi นำการปฏิวัติ IR4.0 อย่างไร

    ด้วยผลงานโซลูชั่นและนวัตกรรมที่ยั่งยืนมากมาย Hitachi ได้นำเสนอเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่ออกแบบตามความต้องการทางนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม IoT ไปจนถึงการวิเคราะห์ด้วย AI และโซลูชั่น การผลิตอัจฉริยะ Hitachi สนับสนุนธุรกิจต่างๆ ในการใช้ประโยชน์สูงสุดจาก IR4.0 และสร้างโอกาสใหม่สำหรับการเติบโต

    วิวัฒนาการจากการทำงานโดยขึ้นอยู่กับผลิตภัณ์ไปจนถึงโซลูชั่นแบบครบวงจรสำหรับผู้ใช้งาน

    • เริ่มด้วยโซลูชั่นที่ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้าถึงได้
    • เปลี่ยนเป้าหมายสู่โซลูชั่นแบบครบวงจรเนื่องจากปัญหาของธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่ คือ การเข้าสู่ระบบดิจิทัล (การรวบรวมข้อมูล การเชื่อมต่อ และการวิเคราะห์)
    • มีส่วนร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นในฐานะผู้รวมระบบ (SI)
    • สร้างความร่วมมือกับกลุมบริษัท Hitachi เพื่อนำโซลูชั่นที่ล้ำสมัยมาใช้
    • รักษาแพลตฟอร์มโซลูชั่นของ Hitachi ให้เป็นกรอบการทำงานของระบบหลัก
    • จัดตั้งศูนย์กลางการนำเสนอของ Hitachi ให้เป็นข้อเสนอมาตรฐาน
    • วิธีนี้ทำให้สามารถขยายไปยังการนำเสนออื่นๆซึ่งเป็นจุดแข็งและข้อได้เปรียบของ Hitachi

    การร่วมมือกันสู่ความสำเร็จ: Hitachi x SIRIM

    การวิจัยในปีพ.ศ. 2565 ได้แสดงให้เห็นว่ามี ผู้ผลิตมาเลเซียร้อยละ 30 เท่านั้นที่ที่ตระหนักถึง IR4.0 อย่างไรก็ตาม การทำงานเชิงรุกของประเทศในการเข้าสู่ยุค IR4.0 ผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ อาทิเช่น Industry4WRD นั้นได้สร้างประโยชน์ที่น่าทึ่ง

    Industry4WRD มีเป้าหมายในการเพิ่มผลิตภาพการผลิตร้อยละ 30 และส่งเสริมเงินลงทุนทางเศรษฐกิจของประเทศจาก 254 พันล้านริงกิต เป็น 392 พันล้านริงกิตภายในปีพ.ศ. 2568

    นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการยกระดับนวัตกรรม และพัฒนาแรงงานฝีมือ โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนด้านแรงงานทักษะสูงจากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 35

    การร่วมมือระหว่าง Hitachi และ SIRIM เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการส่งเสริมการนำ IR4.0 มาใช้กับธุรกิจขนาดเล็กของมาเลเซีย ทั้งนี้ SIRIM ผู้นำของประเทศด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาทางเทคโนโลยี ได้แบ่งปันวิสัยทัศน์ (Vision) ของ Hitachi ในการส่งเสริมธุรกิจระดับท้องถิ่น ในขั้นตอนเริ่มต้น SIRIM ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการสร้างโครงสร้างเพื่อการประชาสัมพันธ์ IR4.0 ดังนั้น Hitachi ได้นำประสบการณ์ Lumada และวิธีการทำงานของ Hitachi เข้ามาช่วยในการทำให้ภารกิจ IR4.0 ของ SIRIM เกิดขึ้นจริง

    ยิ่งไปกว่านั้น Hitachi ยังสนับสนุนการมอบความรู้และการเพิ่มทักษะด้าน IoT ให้แก่วิศวกรของ SIRIM ให้สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญและสามารถส่งเสริม IR4.0 ได้ดียิ่งขึ้น ความพยายามร่วมกันนี้มีเป้าหมายเพื่อการเชื่อมต่อกับระบบดิจิทัล และให้บริการแพลตฟอร์มมาตรฐานแก่ธุรกิจขนาดเล็ก พร้อมเครื่องมือที่เหมาะสม และความรู้ด้าน IoT ที่จำเป็นในการนำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมาใช้กับธุรกิจ

    Smart Manufacturing Experience Centre (SMEC) – ประตูสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัล

    เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 Hitachi และ SIRIM ได้พัฒนาไปอีกขั้นที่สำคัญ ด้วยการเปิดตัวศูนย์ Smart Manufacturing Experience Centre (SMEC) ในบูกิต จาลิล กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดย SMEC เป็นศูนย์เฉพาะทางสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดเล็กที่สามารถเข้าชม เรียนรู้ และสัมผัสประสบการณ์เทคโนโลยี IR4.0 ได้ด้วยตัวเอง

    บุคคลสำคัญที่เข้าร่วมพิธีเปิดงานดังกล่าว ประกอบด้วย

    • Datuk Seri Isham Ishak,

      Secretary General, Ministry of Investment, Trade and Industry (MITI)

    • Datuk Ir. (Dr) Khairol Anuar Mohamad Tawi,

      Chairman of SIRIM Berhad

    • Dato’ Indera Dr. Ahmad Sabirin Arshad,

      President & Group CEO of SIRIM Berhad

    • Mr. Chew Huat Seng,

      anaging Director of Hitachi Asia (M) Sdn. Bhd.

    • Mr. Yamaguchi Hayato,

      ICT General Manager of Hitachi Asia Thailand

    SMEC เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย เครื่องมือที่ล้ำยุค ระบบอัจฉริยะ และการสาธิตที่สมจริง ทำให้กลุ่มบริษัท Hitachi สามารถจัดแสดงโซลูชั่นดิจิทัลที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้สูงสุดและปลดล็อคเพื่อเพิ่มความชำนาญด้านใหม่ๆ

    การก้าวผ่านอุปสรรค: ขับเคลื่อนธุรกิจขนาดเล็กสู่ยุค IR4.0

    ถึงแม้จะมีข้อดีที่เป็นที่มีมากมาย แต่ยังมีความท้าทายที่ธุรกิจขนาดเล็กต้องเผชิญระหว่างเส้นทางสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล:

    • ขาดการรับรู้และความรู้ที่มากพอเกี่ยวกับการผลิตอัจฉริยะและ IR4.0

    • ทรัพยากรที่จำกัด (ทางการเงินและบุคลากร) ในการลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ๆ

    • การนำเทคโนโลยี IR4.0 มาใช้ประโยชน์ต้องใช้แรงงานที่มีทั้งทักษะและความชำนาญ โดยเฉพาะด้านการสร้างความคุ้นเคยกับ AI machine learning และโซลูชั่นอัจฉริยะ

    • ขาดความมั่นใจในการนำโซลูชั่นอัจฉริยะไปปรับใช้

    • ความซับซ้อนในการรวมโซลูชั่นต่างๆ เข้าด้วยกันกับกระบวนการผลิตที่มีอยู่แล้ว

    ด้วยความช่วยเหลือจาก SMEC ธุรกิจขนาดเล็กจะได้รับความรู้ ทรัพยากร และทักษะที่ต้องใช้ในการก้าวผ่านอุปสรรคเหล่านี้ ไปสู่ความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน

    อนาคตของภาคการผลิต: ธุรกิจขนาดเล็กในมาเลเซียจะได้รับประโยชน์อย่างไร

    ความร่วมมือระยะยาวระหว่าง Hitachi และ SIRIM รวมทั้งการสร้าง SMEC จะสร้างประโยชน์อย่างใหญ่หลวงให้แก่ธุรกิจขนาดเล็กของมาเลเซีย:

    • ความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น

      ด้วยการนำเอาเทคโนโลยี IR4.0 มาใช้ ธุรกิจขนาดเล็กจะได้รับประโยชน์จากระบบการทำงานอัตโนมัติและข้อมูลเชิงลึก ซึ่งจะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทำงานให้เป็นระบบควบคุมแบบบูรณาการและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงคุณภาพสินค้า ทำให้ได้เปรียบด้านการแข่งขันในอนาคต

    • เข้าถึงความเชี่ยวชาญของ Hitachi

      ด้วยความร่วมมือนี้ ธุรกิจขนาดเล็กจะเข้าถึงความเชี่ยวชาญ วิธีการทำงาน และเทคโนโลยีของ Hitachi ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยมีแพลตฟอร์มให้บริการที่จะให้คำแนะนำและสนับสนุนการนำโซลูชั่น IR4.0 นำไปใช้ประโยชน์

    • การแบ่งปันความรู้และการสร้างเครือข่าย

      SMEC จะมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในการสร้างเครือข่ายและร่วมมือกัน ส่งเสริมวัฒนธรรม นวัตกรรม การสร้างความร่วมมือเพื่อเพิ่มการนำเอาความรู้และเทคโนโลยี IR4.0 มาปรับใช้

    • แรงงานที่พร้อมทำงานในอนาคต

      SMEC นำเสนอโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะพนักงานเข้าสู่ยุคดิจิทัล และรับรองความสำเร็จในระยะยาว

    • เร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

      ความร่วมมือกันระหว่าง Hitachi และ SIRIM เร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำหน้าคู่แข่ง

    การเปิดตัว SMEC ที่ประสบความสำเร็จเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเส้นทางอันแสนตื่นเต้นในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิต ทั้ง Hitachi และ SIRIM มีพันธกิจร่วมกันในการบรรลุความสำเร็จและขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

    นอกจาก SMEC แล้ว ก้าวต่อไปในความร่วมมือนี้ คือ การจัดโปรแกรมฝึกอบรมด้านโซลูชั่น IoT และเทคโนโลยีของ Hitachi อาทิเช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเชื่อมต่อและการวิเคราะห์ การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ ผลิตภัณฑ์เชื่อมโยง และอีกมากมาย

    ยิ่งไปกว่านั้น ทางบริษัท Hitachi ยังกำลังวิเคราะห์การบูรณาการเทคโนโลยีและความสามารถ AI เข้ากับกระบวนการผลิต การใช้ประโยชน์จากชุดคำสั่ง AI และเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถทำการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    วันที่เผยแพร่: เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566